August 23, 2010

Teerapon Hosanga (3)

WTF Gallery and Café
the form of the formless
A SCULPTURE EXHIBITION BY TEERAPON HOSANGA


WTF Gallery and Café, 7 Sukhumvit 51, Bangkok 10110, Thailand,  http://wtfbangkok.com/


Teerapon Hosanga: The Form of the Formless
19 Aug – 29 Sep 2010

(for Thai please scroll down)

Shadowing the laws of physics and mathematics in creating complex structures, Teerapon Hosanga uses sculpture as a medium to conceptualize growth and flux and the intangible essence of nature.


The complex forms created by repetitive connections among different rigid materials like aluminium, wood, rock and brass tubes do not literally represent the process of growth, even if they often seem to aspire to familiar organic forms, but rather symbolize them. Some works conceptualize the artist’s perception of the dynamic movement that occurs in the creation of nature, whereas others embody his curiosity about how the laws of physics affect the process of making things. While they often symbolize abstract phenomena – lightning, gravity, the growth process – they are at the same time powerful physical objects in their own right. In thrusting into space as though forever on the point of resolving themselves into regular patterns but forever folding in on themselves or remaining as it were incomplete, provisional, deferred, they draw on both the sculptural theories of the 20th Century and the architectural thinking of the 21st.

The Form of the Formless insists on a bold understanding of the power of sculpture to document the passage of time, the changes to our environment, the way events build on events to shape people’s lives — in other words, to tell afresh the story of how we came to be.

The exhibition is curated by Dr Axel Feuss

ธีรพล ห่อสง่าใช้งานประติมากรรมสื่อถึงคอนเซ็ปต์ของการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว และแก่นแท้ที่จับต้องไม่ได้ของธรรมชาติ ด้วยการเลียนแบบกฎฟิสิกส์และกฎเลขาคณิตในการผลิตโครงสร้างอันซับซ้อน


รูปร่างที่ซับซ้อนถูกสร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อซ้ำไปซ้ำมาจากวัสดุต่างๆ เช่น อลูมีเนียม ไม้ หิน และทองเหลือง แม้ชิ้นงานประติมากรรมเหล่านี้ดูเหมือนกำลังพยายามจะแปลงรูปเป็นสิ่งมีชีวิตอะไรบางอย่าง แต่ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการเจริญเติบโตอย่างตรงไปตรงมา แต่แสดงให้เห็นในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า งานบางชิ้นสะท้อนมุมมองของศิลปินที่มีต่อการเคลื่อนไหวที่มีพลังซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในขณะที่งานชิ้นอื่นๆสะท้อนให้เห็นความฉงนสงสัยของศิลปินว่ากฎฟิสิกส์มีผลต่อการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆอย่างไร

แม้งานประติมากรรมเหล่านี้พยายามสื่อถึงปรากฏการณ์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ฟ้าผ่า แรงดึงดูด ขั้นตอนการเติบโตของสิ่งมีชีวิต แต่ในขณะเดียวกันงานแต่ละชิ้นงานก็เป็นวัตถุที่จับต้องได้และมีพลังอย่างบอกไม่ถูก โครงสร้างเหล่านี้หากเจริญเติบโตต่อไปอาจกลายร่างเป็นรูปทรงธรรมดาก็ได้ แต่มันถูกหยุดไว้ในกาลเวลา และกลายเป็นงานประติมากรรมที่ดูเหมือนยังสร้างไม่เสร็จ และจะถูกเก็บไว้อย่างนั้นชั่วกัลปวสาร โดยงานชุดนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีทางประติมากรรมของศตวรรษที่ 20 และความคิดทางสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 21

การสำแดงของสิ่งที่ไม่มีรูป เชื่อในพลังของประติมากรรมในการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับกาลเวลา ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การที่เหตุการณ์หนึ่งนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่งและทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไป อาจพูดได้ว่าเป็นการเล่าเรื่องราวในมุมมองใหม่ว่าเราเกิดขึ้นและเดินทางมาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไร

ภัณฑารักษ์ของ การสำแดงของสิ่งที่ไม่มีรูป คือ ดร. อักเซล ฟอยซ์