May 27, 2011

Cosima von Bonin

Axel Feuss:
COSIMA VON BONIN












 












in: Fine Art Magazine, Vol. 8, No. 77, Chiang Mai/Bangkok, March 2011, p. 32-35
(for German please scroll down)

Cosima von Bonin (โคสิมา ฟอน โบนิน)

Text: Dr. Axel Feuss แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ

“มีค่าสูง และน่านิยมยิ่ง” นี่คือข้อความที่นิตยสารรายสัปดาห์ "Der Spiegel" (1) เขียนยกย่องผลงานของ Cosima von Bonin ศิลปินหญิงชาวเยอรมัน Cosima von Bonin ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ลงในนิตย สารฉบับเมษายน ค.ศ. 2001 อันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เธอแสดงนิทรรศการเดี่ยว ณ "สถาบันชมรมศิลปะ แห่งนครแฮมเบอร์ก" (Hamburger Kunstverein) ซึ่งถือเป็นนิทรรศการเดี่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ศิลปินเคยแสดงมา ในงานแสดงครั้งนี้มีผลงานโดดเด่นชิ้นหนึ่งชื่อ "Bruder Poul sticht in See" (พี่พอลมุ่งสู่ทะเล) มีรูปลักษณ์เป็นเรือสีขาวขนาดใหญ่ตั้งตะแคงอยู่ และชวนให้นึกถึงศิลปินเชิงแนวคิดชาวเดนมาร์ก Poul Gernes (ค.ศ. 1925 ถึง 1996) ซึ่งครั้งหนึ่ง Poul Gernes เองก็เคยแสดงผลงานเรือสีขาว และสามารถยั่วยุท้าทายคนในวงการศิลปะขณะนั้น แต่ครั้งนี้ Cosima von Bonin ได้จัดวางผลงานของเธอด้วยประวัติชีวิตของ Poul Gernes โดยใช้ผลงานจิตรกรรมชื่อ "Targets" ของ Gernes เป็นองค์ประกอบในการจัดวาง พร้อมทั้งเขียนบทกวีลงบนผนัง เช่นเดียวกับที่นักเดินเรือบันทึกเล่าความเพ้อฝัน ความว้าเหว่จากการห่าง ไกลบ้านขณะท่องเรือไปประเทศอังกฤษ ด้วยวิธีนี้ Bonin ได้สร้างสรรค์ศิลปะรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้องค์ประกอบต่างๆจากบุคคลที่เธอเคยมีสัมพันธไมตรีและศิลปินที่เธอยกย่อง ทั้งทางด้านทัศนศิลป์ คีตศิลป์ และวรรณศิลป์ รวมทั้งผลงานศิลปะที่เธอชื่นชม และข้อความอ้างอิงต่างๆ จากชีวิตประจำวัน มาจัดประสานเป็นผลงาน


Cosima von Bonin เกิดในปี ค.ศ. 1962 ที่นครมอมบาซ่า (Mombasa) ณ ประเทศเคนย่า (Kenya) จัดได้ว่าเป็นศิลปินที่มีรากฐานการสร้างสรรค์มาจากการศึกษาด้วยตนเอง (autodidact) และเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หลังจากที่เธอร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการ Documenta (โดคูเมนทา) ในปีค.ศ. 2007 ณ เมืองคัสเซล (Kassel) แห่งประเทศเยอรมนี วิธีการสร้างสรรค์ของเธอนั้น มีทั้งการจัดวางในรูป แบบที่ผู้ชมสามารถเดินชมภายในผลงานได้ และการจัดวางในรูปแบบเดี่ยวเชิงประติมากรรม ศิลปะการ แสดงสด วีดิทัศน์ศิลป์ และการจัดกิจกรรมทางดนตรี รวมทั้งกิจกรรมหมู่ในรูปแบบต่างๆ วัสดุที่เธอนิยมใช้ในการจัดวางคือ "ผ้า" ซึ่งเธอมักนำมาใช้ทั้งสองรูปแบบ คือ นำมาแขวนภายในพื้นที่จัดวางโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ และการนำผ้าหลากสีสันมาเย็บเป็นรูปลักษณ์ต่างๆติดบนผืนผ้าขนาดใหญ่ รวมทั้งนำมาสร้างสรรค์เป็นรูปทรงต่างๆ เธอใช้ทั้งผ้าธรรมดาและผ้ากำมะหยี่ เย็บเป็นตุ๊กตาผ้าขนาดใหญ่ที่เป็นรูปสัตว์ และการ์ตูนล้อเลียนต่างๆ จากนั้นจึงนำตุ๊กตาผ้าเหล่านั้นมาเป็นองค์ประกอบจัดวาง ไม่เพียงเท่านั้น หากเธอยังจำลองพื้นที่หรืออาคารเลียนแบบสถานที่ที่มีอยู่จริง รวมทั้งจำลองรถด้วยวัสดุไม้และกล่องกระดาษ จากนั้นจึงใช้ผ้าคลุมรถจำลองนั้น จนทำให้ดูเหมือนรถมีชื่อเสียงรุ่นใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จล่าสุด เธอใช้ความจริงจังเผชิญกับกระแสนิยม ทั้งทีเล่นและทีจริง ทั้งเสมือนจริงและจินตนาการ เธอหลอกล่อจินตนาการของผู้ชมด้วยรูปทรงที่ง่ายสะดุดตา กระตุ้นจินตภาพด้วยความไร้สาระ ก่อให้เกิดพื้นที่อันเต็มไปด้วยการละ เล่น และความหมาย

ในงานแสดงศิลปะ Documenta ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 2007 ภายใต้หัวข้อ "The Migration of Form" ผลงานที่นำมาแสดงส่วนใหญ่ในครั้งนั้น มักเป็นของศิลปินจากอัฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ ซึ่งมุ่งแสดงสาระของปัญหา ความเป็นจริงในสังคม และเรื่องราวต่างๆ จากท้องถิ่นของตนเอง ด้วยเทคนิคการสร้างสรรค์ตามแบบอย่างตะวันตก ในรูปแบบของการจัดวาง การใช้วัสดุเป็นสื่อ วีดิทัศน์ศิลป์ ภาพลายเส้น และภาพจิตรกรรม Cosima von Bonin คือ หนึ่งในตัวแทนศิลปินจากประเทศเยอรมนีซึ่งมีเพียงไม่กี่คน เธอส่งผลงานชื่อ "Relax, It`‘s Only a Ghost" ร่วมแสดงในครั้งนี้ อันเป็นผลงานศิลปะประเภทจัดวาง ซึ่งประกอบด้วยภาพที่ใช้ผ้าหลากสีสันมาเย็บติดกัน และห้อยลงจากเพดาน ผลงานประติมากรรมผ้าขนาดใหญ่รูปสุนัขและปลาหมึก ภาพจำลองสถาปัตยกรรม และรถเร่ขายของ ที่ดูผิดแปลกแตกต่างจากที่เคยพบประสบมา

"ไม่ต้องกลัว..." คือข้อความจากสูจิบัตรที่เขียนพ่วงท้ายไว้ "...หลังจากที่ Cosima von Bonin หลับไปเสียนาน คราวนี้เธอได้หวนกลับสู่วงการทางปัญญาอีกครั้ง และกวักมือเรียกพวกเรา "พวกหนูบก" (2) ที่ติดอยู่บนเกาะโจรสลัดอันห่างไกลกลางท้องทะเลแคริบเบียน (Caribbean) บัดนี้เธอยืนอยู่บนพรมแดนที่เหนือการพ่ายแพ้ และความเกรงกลัวใดๆ" และทั้งๆ ที่ Bonin มีท่าทีที่ต่อต้านความฟุ้งเฟ้อของธุระกิจศิลปะ แต่เธอก็ยังร่วมแสดงกิจกรรม และแสดงนิทรรศการด้วยผลงานจัดวางอยู่เสมอ ด้วยการสร้างโลกที่นอนหลับทับสิทธิ์ เพื่อปลุกจิตสำนึกให้พวกเราละเมิดความเชื่อ และคัดค้านสภาพของโลกนี้ การสื่อ สารของเธอนั้นเต็มไปด้วยการประชดประชัน เธอรัก“กระแสนิยม”(Pop) เพื่อหนีความเป็นจริงจากชีวิต ประจำวัน โดยการใช้ผ้าจำลองสัตว์และจำลองผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสร้างให้มีรูปทรงใหญ่โตเหนือจริง

Cosima von Bonin: THE BONIN / OSWALD EMPIRE’S
NOTHING # 03, 2010,
ผลงานด้านหลัง THE VOMITTING CHICK, 2010
© Cosima von Bonin, Kunsthaus Bregenz 

Cosima von Bonin: THE BONIN / OSWALD EMPIRE’S NOTHING
# 05 (ORANGE HERMIT CRAB ON OFF-WHITE TABLE), 2010
© Cosima von Bonin, Kunsthaus Bregenz

ตั้งแต่แสดงงานในนิทรรศการครั้งใหญ่ ภายใต้ชื่อ "The Fatigue Empire" (อาณาจักรแห่งความเหน็ดเหนื่อย) จากเดือน กรกฏาคม ถึง ตุลาคม ในปี ค.ศ. 2010 ณ "Kunsthaus Bregenz" ในประ เทศออสเตรีย (Republic of Austria) เป็นต้นมา Cosima von Bonin ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน“ดารา”ผู้เด่นดังแห่งโลกศิลปะในยุโรป แต่เธอก็ไม่ได้หลงระเริงในชื่อเสียงแม้แต่น้อย ในทางตรงข้ามเธอกลับถ่อมตัวแฝงกายอยู่เบื้องหลัง โดยไม่ยอมเปิดเผยรูปถ่ายหรือประวัติชีวิตของตนเองต่อสาธารณชนนอกจากภาพ ที่ถ่ายไว้ ขณะที่เธอกำลังแสดงกิจกรรมการแสดงสด (Performance) "The artist explains the exhibition to the tired hare" (ศิลปินอธิบายนิทรรศการกับกระต่ายที่กำลังง่วงและเหนื่อย) ในปี ค.ศ. 2010 ที่เมือง Bregenz เท่านั้น ในครานั้นเธอได้เนรมิตรหอศิลป์อาคารสามชั้นแห่งเมือง Bregenz (KUB) ให้กลายเป็นเวทีแสดงผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ด้วยผ้าในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบของการจำลองพื้นที่ห้อง และในรูปแบบประติมากรรมผ้า โดยใช้วิธีการจัดวางอันแตกต่างจากสิ่งที่เคยทำมาในเมืองคัสเซล (Kassel) ด้วยการใช้ฉากของภาพอันเต็มไปด้วยตุ๊กตาผ้าจำนวนมากผิดปกติ วางชุมนุมกระจายทั่วพื้นที่จัดแสดงผลงาน

Cosima von Bonin: The artist explains the exhibition to the tired hare, ภาพถ่ายโดย: Rudolf Sagmeister
© Kunsthaus Bregenz, Cosima von Bonin

ในผลงาน "อาณาจักรแห่งความเหน็ดเหนื่อย" เธอจัดวางกุ้งก้ามกรามขนาดยักษ์ทำด้วยผ้าสีม่วงบนเก้าอี้ผ้าใบสีฟ้าอ่อน และกุ้งอีกตัวหนึ่งทำด้วยผ้าสีแดงวางให้ดูเหมือนกำลังอิดโรยบนโต๊ะดีไซน์สีขาว มีเสียงดนตรีจากระฆังที่ทำจาก Plexiglas แขวนอยู่ด้านบน ลูกไก่ขนาดยักษ์สีขาวกำลังอาเจียนใส่โต๊ะเรียนออกแบบโดย Arne Jacobsen (3) กระต่ายสีดำตัวโตกำลังนอนบนชั้นวางของ รวมทั้งผลงาน patchwork ขนาดใหญ่ โดยใช้ผ้าสีขาวเย็บติดเป็นรูปมือมิกกี้ เม้าส์ ที่กำลังกวักเรียกผู้ชมอยู่

Cosima von Bonin: TOTAL PRODUCE (MORALITY), 2010,
ผลงานด้านหลัง: PRIVATO, 2010; ภาพถ่ายโดย: Bob Goedewaagen
© Cosima von Bonin, Witte de With

ภายในการจัดวาง Cosima von Bonin: COSIMA VON BONIN'S FAR NIENTE, 2010/11, Witte de With Center of Contemporary Art, Rotterdam, ภาพถ่ายโดย: Bob Goedewaagen
© Witte de With, Cosima von Bonin

หลังจากประสบความสำเร็จจากนิทรรศการที่ Bregenz อย่างน่าทึ่ง เธอก็จัดแสดงผลงานติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น จากตุลาคม ปี ค.ศ. 2010 ถึง มกราคม ค.ศ. 2011 ที่ Witte de With Center of Contemporary Art ณ รอตเทอร์ดาม (Rotterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายใต้ชื่อในภาษาอิตาลี "Far Niente" (ไม่ทำอะไร) อันเป็นนิทรรศการชุดแรกจากการจัดแสดงรวมกันทั้งสิ้น 4 ครั้งที่ใช้ชื่อหัวเรื่องรวมว่า "The Lazy Susan Series" (ผลงานชุดซูซานผู้เกียจคร้าน) ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีการจัดวางแตกต่างกัน อีกทั้งสลับเปลี่ยนสถานที่แสดงทุกครั้งไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้ คือ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ถึง 25 เมษายน ศกนี้ แสดง ณ "Arnolfini" แห่งเมือง Bristol ประ เทศอังกฤษ วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 18 กันยายน ศกนี้ ณ "Musée d'art moderne et contemporain" (MAMCO) แห่งเมืองเจนีวา (Geneva) ประเทศสวิตเซอร์ แลนด์ (Switzerland) และวันที่ 8 กรกฏาคม ถึง 3 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ณ "Museum Ludwig" แห่งเมืองโคโลญจน์ (Cologne) ประเทศเยอรมนี และแน่นอนว่าการจัดวางของ Cosima von Bonin แต่ละครั้งย่อมเต็มไปด้วยพลังของการสื่อสาระและความหมายที่เข้มข้นขึ้น ในครั้งนี้ผลงานชื่อ "Dolce far niente" (ชีวิตอันหวานชื่น จากการไม่ทำอะไร) ซึ่งเป็นรูปปลาหมึกทำด้วยผ้าที่มีลวดลายสีฉูดฉาด วางบนผ้าที่ใช้สีสะ ท้อนแสงนีออนวาดเป็นลวดลาย และตั้งชื่อผลงานชิ้นนี้ว่า "Total Produce (Morality)" (ผลผลิตทั้งหลายที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมอันดี) ซึ่งตรงกันข้ามกับภาพที่ปรากฏอย่างสิ้นเชิง และแทบจะไม่เข้าใจเลย เมื่อเธอตั้งชื่อกระต่ายผ้าที่แขวนอยู่บางตัวว่า "Thrown out of Drama School" (ไล่ออกจากโรงเรียนเล่นละครเสีย)

ผลงานด้านหน้า: Cosima von Bonin: UNTITLED (THE DONKEY WITH HAT & BOX), 2006, Courtesy Collection de Bruin-Heijn
ผลงานด้านหลัง:Cosima von Bonin: THROWN OUT OF DRAMA SCHOOL, 2008, ภาพถ่ายโดย: Bob Goedewaagen
© Cosima von Bonin, Witte de With

บน "อาณาจักรแห่งความเหน็ดเหนื่อย" ของการ "ไม่ทำอะไร" และจาก "ความเกียจคร้านของซูซาน" คำนิยามเหล่านี้ประกอบกับฉากต่างๆ ของภาษาภาพ เปิดโอกาสให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงบทบาทที่ศิลปินต้องการบ่งชี้ให้เห็น รูปทรงต่างๆ ที่ทำจากผ้าไม่ได้เป็นเพียงแค่วัสดุ หรือ ผลงานประติมากรรมผ้า ที่สร้างขึ้นสำหรับให้เด็กโต (ในที่นี้หมายถึงผู้ใหญ่ที่ยังมีนิสัยชอบเล่น) ดูหรือเล่นเท่านั้น ตุ๊กตาผ้าเหล่านี้เป็นตัวแทน เป็นสื่อสะท้อนวิสัยของความกลัว ต่อการสูญเสียชีวิตอันหวานชื่นและสนุกสนาน อันจะทำให้ชีวิตตกอยู่ในสภาพความมืดมนเสียมากกว่า ในการที่เธออธิบายนิทรรศการให้แก่กระต่ายที่เหนื่อยและง่วง อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลงานที่ล้อเลียนการแสดงสด "Wie man dem toten Hasen die Bilder erklärt" (เราจะอธิบายภาพกับกระต่ายที่ตายแล้วได้อย่างไร) ของ Joseph Beuys ในปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเวลานั้นสามารถปลุกให้โลกศิลปะเกิดอา การตื่นตระหนกได้เลยทีเดียว ซึ่งหมายความว่า ความจริงจังนั้นแฝงอยู่ในแนวคิดของเธอ อันเปรียบเทียบได้กับศิลปะประชานิยม (Pop Art) ในต้นทศวรรษที่ 1960 เมื่อครั้งที่ Claes Oldenburg และ Roy Lichtenstein ใช้ภาพจิตรกรรม การจัดวาง และวัสดุประจำวัน สร้างสรรค์ผลงานสะท้อนชีวิตประจำวัน ที่นักวิจารณ์ศิลปะในปัจจุบันไม่อาจจะมองข้ามได้ แม้ศิลปะประชานิยมจะตายไปแล้ว แต่ Cosima von Bonin ยังคงสร้างสรรค์ ”วัสดุ” ต่างๆ ที่มาจากชีวิตประจำวันในปัจจุบันนี้ขึ้น ก็เพื่อใช้ให้เป็นสื่อเฉกเช่นโจทย์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อหาภาวะของความเป็นจริงและไม่จริง โลกนี้และโลกตรงข้าม นั่นเอง

(1) Der Spiegel คือนิตยสารรายสัปดาห์ที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือฉบับหนึ่งในประเทศเยอรมัน เป็นนิตยสารที่ลงข่าวทั้งทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม

(2) หมายถึงผู้ไม่ชำนาญทางน้ำ ทางเรือ ว่ายน้ำไม่เป็น หรือคนกลัวน้ำ

(3) Arne Jacobsen (ค.ศ.1902-1971) สถาปนิก และนักออกแบบชาวเดนมาร์ก ที่มีชื่อเสียงระดับโลกผู้หนึ่งในศตวรรษที่ 20 แนวคิดส่วนใหญ่ของเขามักได้มาจากสิ่งมีชีวิต ผลงานออกแบบที่มีผู้นิยมทั่วโลกคือเก้าอี้ในทศวรรษที่ 1950 ซึ่งมีชื่อว่า "มด" "ไข่" หรือ "หงส์" เป็นต้น


COSIMA VON BONIN

"Hoch gehandelt und euphorisch gefeiert", schrieb das deutsche Wochenmagazin Der Spiegel im April 2001 über die deutsche Künstlerin Cosima von Bonin, als diese im Hamburger Kunstverein ihre bislang größte Einzelausstellung zeigte. Unter dem Titel "Bruder Poul sticht in See" zeigte sie ein großes weißes, auf die Seite gekipptes Boot, mit dem sie an den dänischen Maler und Konzeptkünstler Poul Gernes (1925-1996) erinnerte. Gernes hatte selbst einmal ein weißes Boot ausgestellt und damit die Kunstwelt provoziert. Jetzt verknüpfte Cosima von Bonin ihre Installation mit seiner Biographie und zeigte zusätzlich Gernes' Gemälde vielfarbiger Zielscheiben ("Targets") in ihrer Ausstellung. In Wandbeschriftungen zitierte sie aber auch Gedichte und Texte, die von Seefahrer-Romantik, Fernweh und einer Reise nach England berichteten. Bonin schafft Bezugssysteme, in denen sie Biographisches, freundschaftliche Beziehungen zu anderen von ihr geschätzten Künstlern, Musikern und Literaten sowie ihre künstlerischen Vorbilder und vielfältige Zitate aus der Alltagskultur miteinander verknüpft.

International bekannt wurde Cosima von Bonin, die 1962 in Mombasa/Kenia geboren wurde und als Künstlerin Autodidaktin ist, erst durch ihre raumgreifenden Installationen auf der Documenta in Kassel/Deutschland 2007. Ihre künstlerischen Ausdrucksformen sind begehbare, bühnenartige Installationen, Einzelobjekte, Performances, Videos, von ihr organisierte Musik-Events und Gruppenprojekte. Die von ihr bevorzugten Materialien sind Stoffe, die sie frei im Raum aufhängt oder kontrastreich in vielfältigen Formen und Farben zu Leinwandbildern vernäht. Sie arbeitet mit überdimensionierten Stoff- und Plüschtieren und übergroßen Comicfiguren, die sie zu erzählerischen Displays arrangiert. Sie stellt Modelle von Räumen und Architekturen hinzu, die bereits an anderen Orten existieren, baut Autos aus Holz und Pappe nach, überzieht sie mit Stoff und konfrontiert sie mit fabrikneuen Modellen bekannter Automarken. Sie konfrontiert Formalismen mit Pop, Ernstes mit Spaß, Konkretes mit Fiktivem, lenkt die Phantasie des Betrachters durch plakative Figuren und gibt der Phantasie durch absurde Arrangements einen weiten spielerischen Raum voller Assoziationen.

Die Documenta 12 in Kassel 2007 war unter dem Titel "The Migration of Form" zum großen Teil Künstlerinnen und Künstlern aus Afrika, Asien und Südamerika gewidmet, die die soziale Realität, Probleme und Erzählungen aus ihren Ländern mit den Techniken westlicher Kunst, Installation, Objektkunst, Video, aber auch Zeichnung und Malerei, zum Ausdruck brachten. Cosima von Bonin zeigte hier als eine von nur wenigen deutschen Künstlern unter dem Titel "Relax, it's only a ghost" eine begehbare Rauminstallation aus von der Decke hängenden genähten Stoffbildern, riesigen Stoffhunden und Tintenfischen aus Plüsch, Architekturmodellen und Verkaufswagen, die als fremde, irreale Welt wahrgenommen wurde. "Keine Angst," versprach der Katalog, "Cosima von Bonin ist nach einem unendlichem Winterschlaf zurückgekehrt, aber nur als Geist. Sie winkt uns armen Landratten, die für immer gestrandet sind, aus der Ferne von einer Pirateninsel in der Karibik zu. Sie ist schon jenseits der Kapitulation, jenseits der Angst." Bonin wendet sich gegen die Hysterie des Kunstbetriebs, und sie nimmt doch mit immer umfangreicheren und perfekteren Installationen und künstlerischen Aktivitäten an ihm teil. Sie entwirft verschlafene Gegenwelten und fordert uns doch zu einer Auseinandersetzung mit ihnen und zum Widerspruch auf. Ihre Dialektik ist voller Ironie. Sie liebt Pop als Flucht vor der Realität des Alltags, und sie ironisiert die Welt der Plüschtiere, Figuren, Modelle und Konsumartikel, indem sie die Größenmaße übersteigert.

Cosima von Bonin: THE BONIN / OSWALD EMPIRE’S NOTHING
# 03, 2010, im Hintergrund THE VOMITTING CHICK, 2010
© Cosima von Bonin, Kunsthaus Bregenz

Cosima von Bonin: THE BONIN / OSWALD EMPIRE’S NOTHING
# 05 (ORANGE HERMIT CRAB ON OFF-WHITE TABLE), 2010
© Cosima von Bonin, Kunsthaus Bregenz

Seit ihrer größten Ausstellung unter dem Titel "The Fatigue Empire" von Juli bis Oktober 2010 im Kunsthaus Bregenz/Schweiz gilt Cosima von Bonin als "Star" der europäischen Kunstszene, der jedoch zugleich kein Porträtfoto und keine Biographie von sich preisgibt und sich bescheiden im Hintergrund hält. Lediglich wenige Fotos von Kunstaktionen wie das der Perfomance "The artist explains the exhibition to the tired hare" 2010 in Bregenz zeigen die Künstlerin bei der Arbeit.

Cosima von Bonin: The artist explains the exhibition to the tired hare, Foto: Rudolf Sagmeister
© Kunsthaus Bregenz, Cosima von Bonin

Drei Stockwerke des Kunsthauses in Bregenz (KUB) wurden zur Bühne für ihre Stoffbilder, Nachbauten von Räumen sowie Stoffskulpturen, die sie anders als in Kassel jetzt in szenischen Bildern agieren ließ und in ungewöhnlicher Dichte und Anzahl ausbreitete. In ihrem "Reich der Müdigkeit" ließ sie eine riesige violette Garnele auf einem hellblauen Strandsessel ausruhen, ein anderes rotes Exemplar lag ermattet auf einem weißen Designtisch und wurde aus einer über ihr hängenden Plexiglocke mit Musik beschallt. Ein überdimensionales weißes Kücken hatte sich gerade auf einer von Arne Jacobsen designten Schulbank übergeben. Ein großer schwarzer Hase legte sich auf einem Regal zum Schlafen. Von den großen genähten Patchwork-Bildern winkten uns weiße Micky-Maus-Hände entgegen.

Cosima von Bonin: TOTAL PRODUCE (MORALITY), 2010,
im Hintergrund: PRIVATO, 2010; Photo: Bob Goedewaagen
© Cosima von Bonin, Witte de With

Ausstellungs-Ansicht Cosima von Bonin: COSIMA VON BONIN'S FAR NIENTE, 2010/11, Witte de With Center of Contemporary Art, Rotterdam, Photo: Bob Goedewaagen
© Witte de With, Cosima von Bonin

Eine Fortsetzung fand die europaweit beachtete Bregenzer Ausstellung dann von Oktober 2010 bis Januar 2011 im Witte de With Center of Contemporary Art in Rotterdam/Niederlande unter dem italienischen Titel "Far Niente". Diese war aber wiederum nur die erste einer Reihe von vier sich immer wieder verändernden Ausstellungen mit dem Obertitel "The Lazy Susan Series", die anschließend im Arnolfini in Bristol/United Kingdom (19.2.-25.4.), im Musée d'art moderne et contemporain (MAMCO) in Genf/Schweiz (1.6.-18.9.) und im Museum Ludwig in Köln/Deutschland (8.7.-3.10.2011) zu sehen sein werden. Zweifellos hat Cosima von Bonin die Kraft des Erzählerischen und der assoziativen Bezüge in dieser neuen Ausstellungsserie noch gesteigert. Diesmal lässt sie einen bunten, reich ornamentierten Tintenfisch in "süßem Nichtstun" (Dolce far niente) auf einem ihrer bunten und von blauem Neonlicht untermalten Stoffbilder ausruhen, gibt dem Objekt aber den völlig gegensätzlichen Titel "Total Produce (Morality)". Hintergründig morbide wird es, wenn sie einigen erhängten Stoffhasen den Titel "Thrown out of Drama School" gibt.

im Vordergrund: Cosima von Bonin: UNTITLED (THE DONKEY WITH HAT & BOX), 2006, Courtesy Collection de Bruin-Heijn, im Hintergrund: Cosima von Bonin: THROWN OUT OF DRAMA SCHOOL, 2008, Photo: Bob Goedewaagen
© Cosima von Bonin, Witte de With

Das "Reich der Müdigkeit", des "Nichtstuns" und der "faulen Susanne" gibt dem Betrachter durch die szenenhafte Bildsprache die Möglichkeit zur Identifikation. Die Stoff-Figuren sind nicht mehr nur Objekte oder Skulpturen zum Betrachten oder Spielobjekte für große gewordene Kinder. Sie sind vielmehr Verkörperungen eigener Verhaltensweisen und Ängste, in denen das Süße, Liebliche und Verspielte schnell ins Grauen umschlägt. Wenn sie dem "müden Hasen" die Ausstellung erklärt, bezieht sie sich sogar auf Joseph Beuys, der 1965 mit seiner Performance "Wie man dem Toten Hasen die Bilder erklärt" die Kunstwelt schockierte. Ernsthaftigkeit steht also im Hintergrund ihres Konzepts. Den engsten Bezug ihrer Arbeiten gibt es wohl zur Pop Art am Beginn der 1960er Jahre, als Claes Oldenburg und Roy Lichtenstein in Environments und Ölbildern Konsumobjekte und Bilder der Alltagskultur so perfekt in Szene setzten, dass die Kritik an der Gegenwart nicht zu überhören war. Die Pop Art ist tot. Cosima von Bonins Objekte aus unserer heutigen Alltagskultur bieten jedoch genügend Identifikationsobjekte, um sich mit Schein und Sein, Welt und Gegenwelt auseinanderzusetzen.