September 11, 2011

Olafur Eliasson

Axel Feuss:
EXPERIMENT AND CERTAINTY IN THE WORK OF
OLAFUR ELIASSON















   

















in: Fine Art Magazine, Vol. 8, No. 81, Chiang Mai/Bangkok, July 2011, p. 22-27

(for German please scroll down)

การค้นคว้ากับความแน่ใจ คือศิลปะของ Olafur Eliasson (โอลาฟัวร์ เอเลียซอน)

Text: Dr. Axel Feuss แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ


ภาพเหมือนของ Olafur Eliasson, 2010 © Olafur Eliasson

ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 15 ปี Olafur Eliasson (โอลาฟัวร์ เอเลียซอน) ศิลปินชาวเดนมาร์กก็สามารถก้าวขึ้นเป็นศิลปินระดับแนวหน้าของวงการศิลปะร่วมสมัยได้ Eliasson เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน (Copenhagen)ในปี ค.ศ. 1967 พ่อแม่เป็นชาวไอซ์แลนด์ (Iceland) จึงไปเติบโตในประเทศไอซ์แลนด์ และที่เมืองท่าโฮล์เบค (Holbaek)ในประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 ถึง 1995 เขาได้เข้าศึกษาณ สถาบันศิลปะ Royal Danish Academy of Fine Arts แห่งกรุงโคเปนเฮเกน ในปี ค.ศ. 1995 เขาได้ขยับขยายมีห้องทำงานศิลปะ (studio) ส่วนตัวที่กรุงเบอร์ลิน ซึ่งมีผู้ร่วมงานถึง 35 คน จึงเรียกได้ว่าเป็นสถาน ที่ผลิตผลงานศิลปะทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการศิลปะตะวันตก ส่วนปัจจุบันนี้ศิลปินและครอบครัวพำนักอยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน

Olafur Eliasson: The New York City Waterfalls ค.ศ. 2008, ภาพ: http://www.nyfalls.com/

ผลงาน "The Weather Project" ที่ Olafur Eliasson จัดวาง ณ Tate Modern แห่งกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2003 สามารถดึงดูดผู้คนให้เข้ามาร่วมชมผลงานได้ถึง 2 ล้านคน แต่ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือโครงการสำหรับสาธารณะชน "The New York City Waterfalls" ซึ่งจัดแสดงกันตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมในป��స�.ศ. 2008 และใช้เงินทุนในการสร้างผลงานมากมายมหาศาลถึง 15.5 ล้านดอลลาร์ ที่ได้มาจากกองทุนศิลปะเอกชน และมีการประเมินอย่างเป็นทางการว่า มีผู้มาเยี่ยมชมผลงานนี้ถึง 1.4 ล้านคน อีกทั้งยังเชื่อว่าผลงานชิ้นนี้สามารถทำรายได้ให้แก่นครนิวยอร์คถึง 69 ล้านดอลลาร์ (1) สำหรับตัวผลงาน ศิลปินได้เลือกจัดวางน้ำตกในโครงการนี้ถึงสี่แห่งด้วยกันคือ หน้าเกาะโกเวอร์เนอรส์ไอส์แลนด์ (Governors Island) สะพานบรูคลิน (Brooklyn Bridge) สะพานแมนแฮตตัน (Manhattan Bridge) และหน้าทางเดินเล่นของบรูคลิน (Brooklyn Promenade) โดยใช้โครงเหล็กและเครื่องปั้มน้ำสำหรับสูบน้ำให้มีความสูงระหว่าง 90 ถึง 120 ฟุต ซึ่งได้ตั้งเวลาเปิดเครื่องสูบน้ำสำหรับน้ำตกในช่วงบ่ายแก่ๆของทุกวัน และเชื่อกันว่าได้ใช้แต่เทคนิคก่อสร้างที่ไม่เป็นพิษภัยต่อสภาพแวดล้อมเท่านั้น (2) แต่กระนั้นก็ยังสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมจนได้ เนื่องมาจากน้ำทะเลที่พุ่งขึ้นสูงนั้น ได้สาดกระเซ็นไปถูกต้นไม้ ดอกไม้ที่อยู่ข้างทางและในสวนสาธารณะ และทำความเสียหายแก่พืชพันธ์ที่อยู่ในละแวกไกล้เคียง จนทำให้ต้องลดเวลาเปิดเครื่องสูบน้ำ จาก 101 ชั่วโมงต่อหนึ่งอาทิตย์ ให้เหลือเพียงครึ่งเดียว และในขณะเดียวกันต้องรดน้ำต้นไม้และดอกไม้เพิ่มขึ้น เพื่อชำระน้ำทะเลออก (3)

นิทรรศการต่อมาของ Olafur Eliasson ที่มีชื่อว่า "Take Your Time" นั้น เริ่มจัดแสดงมาตั้งแต่ San Francisco Museum of Modern Art ในปี ค.ศ. 2007 และมาสิ้นสุดลงที่ Museum of Modern Art ณ กรุงนิวยอร์คในปี ค.ศ. 2008 ต่อมาปีค.ศ. 2010 Eliasson ก็ได่นำผลงานที่มีชื่อว่า "Innen Stadt Außen" ("Inner City Out") มาแสดงที่หอศิลป์ Martin-Gropus-Bau แห่งกรุงเบอร์ลิน และนับเป็นครั้งแรกที่เขาแสดงนิทรรศการเดี่ยวในประเทศเยอรมันนี Olafur Eliasson เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน (Berlin University of the Arts) ตั้งแต่ปีค.ศ. 2008 และที่นั่นเขาก็ได้ก่อตั้งสถาบันทดลองใช้พื้นที่เพื่อการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นรายวิชาเสริม ที่เพิ่มเติมขึ้นจากวิชาหลักที่มหาวิทยาลัยศิลปะจัดให้มีการเรียนการสอนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว (4) นอกจากสูจิบัตรจากนิทรรศการต่างๆที่เขาเคยแสดงนานาประเทศมาตั้งแต่ค.ศ. 1997 ก็ยังมีหนังสื่อเกี่ยวกับผลงานจากสตูดิโอของศิลปินใน "Studio Olafur Eliasson" ของTaschen-Verlag ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในปีค.ศ. 2008 ในหลายภาษา และมีขนาดใหญ่มโหฬารถึง 30 x 40 ซ.ม. มีความยาวรวมทั้งสิ้น 528 หน้า และมีน้ำหนักหลายกิโลกรัม จึงไม่เหมาะสำหรับวางบนหิ้งวางหนัง สือใดๆ (5) และทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ศิลปินมีโครงการนี้เพื่อจุดประสงค์ใด และเหตุใดนิทรรศการและผลงานจัดวางของเขาจึงต้องยิ่งใหญ่อลังการสำหรับสาธารณะชนเสมอ

แหล่งผลิตผลงานต่อมาของ Eliasson ที่เขาย้ายไปตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 นั้นมีลักษณะเหมือนเป็นโกดังขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงเบอร์ลิน ไกล้ๆกับหอศิลป์ศิลปะร่วมสมัย "Hamburger Bahnhof - Museum für Gegenwartskunst" ซึ่งมีทั้งศิลปิน วิศวกร ช่างเทคนิค นักประวัติศาสตร์ศิลป์ และกลุ่มสถาปนิก 10 คนทำงานร่วมกัน และนอกจากจะเป็นทั้งโรงผลิตและสำนักงานแล้ว ก็ยังมีห้องทำงานของศิลปิน (studio) ตั้งอยู่ด้านบนของโกดังอีกห้องหนึ่ง ซึ่งใช้ สำหรับตั้งเครื่องวัดระยะของพื้นที่และเวลา ที่ใช้เป็นเครื่องทดลองเบี่ยงเบนแสง โดยใช้กระจกหรือแก้วปริซึม ที่มีรูปทรงและสีต่างๆ สร้างเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งให้มีลักษณะเหมือนด้านนอกของอาคาร เพื่อเป็นการทดลองจัดวางผลงาน ภายในห้องทำงานแห่งนี้ล้วนเต็มไปด้วยบรรยากาศของการทดลองจัดวาง และแทบไม่ต่างกันกับผลงานที่นำมาแสดงอย่างใด เพราะวัสดุที่เขาจัดวางส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนต่างๆที่ได้มาจากการค้นคว้าในห้องทำงานของเขานั่นเอง (6)

จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ผลงานของ Olafur Eliasson มักมาจากแนวคิดที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน แต่ผลงานที่สาธารณะชนสนใจและประทับใจมากที่สุดคือ ผลงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ซึ่งมีการแปรสภาพปรากฏการณ์ของธรรมชาติต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมหยั่งสัมผัส ตัวอย่างเช่น ผลงานจัดวาง "The Weather Project" ในปึ ค.ศ. 2003 ที่จัดแสดงไว้ณ Tate Modern แห่งกรุงลอนดอน ภายในผลงานประกอบไปด้วย หมอก ดวงอาทิตย์ที่ดูเหมือนลอยเด่นอยู่กลางห้อง และจินตนาการของผู้ชม ที่ได้มาจากปรากฏ การณ์ต่างๆภายในพื้นที่จัดวางอันเวิ้งว้าง โดยผนังด้านหลังของปลายห้องโถง มีหลอดไฟฟ้าสองร้อยดวงจัดวางเป็นรูปครึ่งวงกลมติดกับผนังด้านบนที่มีกระจกติดอยู่ และทำให้ไฟครึ่งวงกลมนั้นกลายเป็นดวงไฟวงกลมขนาดใหญ๋เหมือนดวงอาทิตย์ เมื่อผู้ชมเดินเข้าห้องแสดงงานก็จะเกิดจินตนาการขึ้น และเห็นดวงอาทิตย์ขนาดใหญ่ถูกหมอกจางๆ ปกคลุมไปทั่ว เมื่อผู้ชมนอนบนพื้นก็จะเห็นเพดานสูงถึง 60 เมตร อันเป็นภาพลวงตาที่เกิดจากภาพสะท้อนของกระจก แต่เมื่อผู้ชมเดินเข้าไกล้หรืออยู่ที่ชั้นบนของห้องโถงจัดวาง จึงจะเห็นรายละเอียดของโครงสร้างจากฉากจัดวางนี้ ซึ่งเป็นเจตจำนงค์ของศิลปินที่ต้องการให้ผู้ชมเห็นภาพลวงตาเหล่านั้น อันมีแนวคิดไกล้เคียงกับผลงานชื่อ "Double Sunset" ที่ศิลปินเคยจัดแสดงที่เมืองยูเทรกท์ (Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) ในปี ค.ศ. 1999 โดยใช้วัสดุแผ่นลูกฟูกทำจากโลหะสีเหลือง ซึ่งมีรูปทรงเป็นวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 38 เมตรไปติดตั้งบนหลังคาโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาพลบค่ำแสงไฟจะสว่างกระจายทั่วไปทั่วเมือง เสมือนหนึ่งยังมีพระอาทิตย์อีกดวงหนึ่งในยามค่ำ เมื่อพระอาทิตย์จริงตกดินไปแล้ว

Olafur Eliasson: The Weather Project, Tate Modern, London ค.ศ. 2003, ภาพ: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery,
New York © Olafur Eliasson

"The New York City Waterfalls" (2008) ก็จัดได้ว่าเป็นผลงานที่มีสาระเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรม ชาติ เช่นเดียวกับผลงานที่ทำด้วยโครงวัสดุขนาดเล็กประกอบเป็นน้ำตก ซึ่งจัดแสดงที่หอศิลป์แห่งเมืองโคโลญ (Cologne) ในปีค.ศ. 1998 และมหกรรมงานแสดงศิลปะ Biennale ครั้งที่ 11 แห่งเมืองซิดนีย์ (Sydney) ประเทศออสเตรเลีย ในปีค.ศ. 2000 ณ เมืองกราซ (Graz) ประเทศออสเตรีย ในปีค.ศ. 2001 ที่ "Zentrum für Kunst und Medientechnologie" (ZKM) แห่ง Karlsruhe และ ปีค.ศ. 2004 หอศิลป์ที่ Aarhus ประเทศเดนมาร์ก (Denmark) ทั้งหมดนี้มีชื่อผลงานว่า "Waterfall" ซึ่ง Eliasson ได้จัดฉากน้ำท่วมที่มีทางน้ำยาวถึง 1.5 กิโลเมตร ในมหกรรมงานแสดงศิลปะ Biennale ครั้งที่ 2 แห่งเมือง Johannesburg และตั้งชื่อว่า "Erosion" อันเป็นทางน้ำท่วมที่ไหลผ่านภายในตัวเมือง และนำพาดินโคลน ใบไม้และขยะลอยตามน้ำมาด้วย ระหว่างค.ศ. 1998 ถึง 2001 Eliassonได้จัดฉากแม่น้ำ "Green River" แสดงที่เบรเมน (Bremen) ประเทศเยอรมันนี ตามด้วยเมืองโมสส์ (Moss) ในประเทศนอร์เวย์ (Norway) ที่ประเทศไอซ์แลนต์ (Iceland) ที่นครลอสแอนเจลิส (Los Angeles) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมืองสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน และที่โตเกียว (Tokyo) ในประเทศญี่ปุ่น ให้ดูเหมือนเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ โดยใส่สารเคมีอย่างหนึ่งที่ทำให้แม่น้ำจัดวางมีสีเขียว และทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดอาการตื่นตะหนก วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา และในปีค.ศ. 1999 เขาก็จัดฉากแสดงปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นอีกหนึ่ง คราวนี้เป็นพายุทราย ชื่อ "The Sandstorm Park" จัดแสดงที่ "MIT List Visual Arts Center" แห่งแคมบริดจ์ (Cambridge) แห่งสหรัฐอเมริกา และติดตามด้วยการใช้เครื่องทำพายุและหมอก สร้างลมพายุสลาตัน (tornado) ภายในหอศิลป์ “Galerie neugerriemschneider” ที่กรุงเบอร์ลิน โดยให้ชื่อผลงานว่า "The things that you don’t see that you don’t see" จากนั้นก็จัดแสดงผลงานที่ "Musée d’Art Moderne" แห่งกรุงปารีสในปี ค.ศ. 2002 และ "Museo Nacional Centro de Arte Reina Sofia" ที่กรุงมาดริด(Madrid) ประเทศเสปนในปีค.ศ. 2003 โดยนำหินภูเขาไฟจากประเทศไอซ์แลนด์ (Iceland) จำนวนหลายตันมาวางให้ผู้ชมสามารถเดินข้ามไปศึกษาดูได้ และแล้วปีค.ศ. 2005 Eliasson ก็ได้สร้างลำธารสายหนึ่งที่เมือง Zug ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ โดยจัดวางให้ลำธารสายนี้ไหลผ่านถนนและกำแพงเมืองมุ่งเข้าสู่ภายในหอศิลป์และออกมาบรรจบกับต้นลำธารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งศิลปินตั้งชื่อผลงานว่า "The Body as Brain"

Olafur Eliasson: Green River, Moss, Norway ค.ศ. 1998, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson ได้ใช้วิธีการดังกล่าวปลุกจิตสำนึกของผู้ชม เพื่อให้พวกเขาสังเกตเห็นปรากฏ การณ์ประหลาดของธรรมชาติได้ดีขึ้น โดยจัดฉากให้ดูแปลกไปจากความเป็นจริงและนำมาแสดงในสถาน ที่ผิดแปลกจากความเคยชิน ซึ่งทำให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจกับการจัดวางแบบนี้ เพราะแรกเริ่มเดิมทีพวกเขาอาจมั่นใจว่าจะสามารถเข้าใจผลงานเหล่านี้ได้ แต่ก็เกิดอาการเอะใจขึ้นว่านี่คือพระอาทิตย์ตกดินหรือไม่ใช่กันแน่ ซึ่งแน่นอน ย่อมเกิดคำถามตามมาว่า แท้ที่จริงแล้ว พวกเขาตรึงใจกับความอลังการและความมโหฬารของผลงานจัดวางที่มีลักษณะเหมือนธรรมชาติตามนครหลวงต่างๆในโลกนี้มากกว่า หรือมีความประทับใจกับภาพพระอาทิตย์ตกดินบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศโมร็อกโก (Morocco) ภาพพระอาทิตย์ตกดินที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงที่เชียงคานในประเทศไทย หรือที่หลวงพระบางในประเทศลาว หรือมีความประทับใจจากการชมน้ำตกไนแอการา (Niagara Falls) ที่อยู่ระหว่างเขตแดนประเทศสหรัฐ อเมริกาและประเทศแคนาดามากกว่ากัน ทั้งๆที่การจัดวางจำลองธรรมชาติเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพงก็ตาม

ผลงานรูปทรงเรขาคณิตย์ต่างๆที่ Eliasson และทีมของเขาเคยทดลองสร้างสรรค์มา ต่างก็เป็นผลงานที่ทำให้พวกเราเกิดความมั่นใจได้ว่า ส่วนใหญ่พวกเราเคยรู้จักมันมาแล้ว แก่นแท้ของการทดลองนี้ก็คือ เพื่อรวบรวมหารูปทรงหน้าหลายเหลี่ยม ที่ Eliasson กับเพื่อนศิลปินและสถาปนิกชาวไอซ์แลนด์ Einar Thorstein เคยพัฒนาร่วมกันมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นการค้นหาโครงสร้างของรูปทรงในมิติต่างๆ เช่น รูปทรงกลม รูปทรงผลึก รูปทรงหกเหลี่ยม และรูปทรงหลายเหลี่ยมที่มีหน้าตัดแบบเจียระไน ซึ่งศิลปินได้นำมาจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อ "Model Room" ตั้งแต่ปีค.ศ. 2003 ซึ่งเมื่อดูเผินๆก็จะทำให้ระลึกถึงผลงานของศิลปินในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) คือผลงานค้นคว้าของชาวเวียนนา Wenzel Jamnitzer (ค.ศ.1508-1585) ผู้ทดลองหาค่าของพื้นที่สามมิติ (Stereometry) เช่นผลงาน "Perspectiva Corporum Regularium" ในปีค.ศ.1568 หรือผลงานทดลองหารูปทรงเหลี่ยมหลายหน้า (polyhedric) ของจิตรกรชั้นครูชาวอิตาเลี่ยนในยุคเดียวกัน และจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็ยังมีช่างฝีมือชั้นเยี่ยมทั้งหลายผลิตผลงานเชิงหัตถศิลป์ในรูปแบบนี้ด้วยไม้หรืองาช้าง เพื่อให้เจ้าครองเมืองต่างๆในยุโรปตั้งแสดงตามห้องสะสมสมบัติล้ำค่า (7) แต่วิธีศึกษาค้นคว้าของ Eliasson นั้นแท้ที่จริงก็เป็นการสะท้อนค่าคติแบบ "หลังสมัยใหม่" (postmodernism) ที่เข้าใจว่าผลงานลักษณะเหล่านี้ได้สูญหายไปแล้ว ซึ่งจะหาดูได้จากผลงานของEliasson ไม่ว่าจะใช้วิธีการชมด้วยตาอย่างเดียว หรือจะเดินชมพื้นที่ ภายในของผลงานจัดวางต่างๆ ที่มีหน้าตัดแบบแก้วเจียระไนและใช้กระจกติด เช่นผลงาน "Your Now is my Surroundings" ในปีค.ศ. 2000 หรือที่ใช้กระจกเจียระไนสร้างเป็นอุโมงค์ทั้งอุโมงค์ ชื่อ "Your Spiral View" ของปี ค.ศ. 2002

Olafur Eliasson สร้างสรรค์ร่วมกับ Einar Thorsteinn: Model Room ค.ศ. 2003, ภาพ: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Your Spiral View ค.ศ. 2002, Boros Collection, Berlin, ภาพ: Jens Ziehe © Olafur Eliasson

ผลงานบางชุดของ Olafur Eliasson นั้นบ้างก็มีลักษณะเหมือนภาพคาไลโดสโคป (kaleidoscope) ทีศิลปินสร้างให้มีขนาดยาวถึง 7 เมตรและมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2เมตร แขวนแสดงกลางห้องภายใต้ชื่อ ผลงานว่า "Kaleidoscope" ในปี ค.ศ. 2001 อันเป็นสิ่งที่ประดิษฐ์กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังหาซื้อได้ตามร้านค้าของระลึกทั่วไปในปัจจุบัน หรือผลงานที่มีโครงสร้างเหมือนลวดลายเจียระไน ชื่อ "Mikroskop" อันเป็นผลงานที่ Eliasson เคยจัดวางไปในปีค.ศ.2010 ที่หอศิลป์ "Martin-Gropius-Bau" ในกรุงเบอร์ลิน นั่นเป็นเพราะศิลปินต้องให้ผู้ชมตระหนักถึงการรับรู้ของมนุษย์เราว่า ที่จริงแล้วฐานของการรับรู้ของพวกเรานั้นมาจากการเห็นด้วยสายตาเท่านั้น ซึ่งพวกเราก็มีปฏิกิริยาตอบสนองผลงานเหล่านี้อย่างกระตือรือร้นทั่วไป และตื่นตาตื่นใจไปกับการมีส่วนร่วมกับผลงานเชิงสถาปัตยกรรมในยุค "หลังสมัยใหม่" (postmodernism) เหล่านี้ ซึ่งศิลปินได้สร้างให้มีลวดรายซ้ำเป็นจังหวะ (stereometrics) และมีโครงสร้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (rhombus) และสามเหลี่ยมแบบพีระมิด (Pyramid) ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในผลงาน "Flower Pavilion" ของปีค.ศ. 2003 ซึ่งเคยจัดแสดงที่สวนสาธารณะแห่งเมือง Shenzen ประเทศจีน และผลงานที่มีลักษณะเป็นโคมไฟที่มีรูปทรงเป็นเกลียวและรูปทรงกลม ซึ่งมีพื้นผิวเป็นรูป ทรงเหลี่ยมแบบเจียระไนที่แขวนในโรงละครอุปรากรที่สร้างใหม่ ณ กรุงโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ชื่อ "Opera House Chandeliers" ค.ศ. 2004 หรือรูปทรงเหลี่ยมแบบขนมเปียกปูนขนาดมหึมา สร้างขึ้นจากกระจกที่ด้านหน้าอาคารของศูนย์แสดงคอนเสิร์ตและศูนย์ประชุม"Harpa Reykjavik" แห่งเมือง Reykjavik ประเทศไอซ์แลนด์ (Iceland) ที่จะเปิดเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ศกนี้

Olafur Eliasson: Mikroskop, 2010, โครงเหล็ก, พลาสติกเป็นรูปเกลียว, อลูมิเนียม, ขนาด 17,7 x 18,5 x 27,1 เมตร, ภาพ: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Opera House Chandeliers ค.ศ. 2004, New National Opera, Copenhagen, Denmark, ภาพ: Silke Heneka © Olafur Eliasson

ผลงานจัดวางต่างๆของ Eliasson ดูค่อนข้างง่ายเหมือนเด็กนักเรียนทดลองสร้าง ดังเช่นในผลงานที่ชื่อว่า "Tell Me About a Miracoulous Invention" ในปี ค.ศ. 1996 ที่ใช้ไฟแรงสูงส่องเป็นสีต่างๆประกอบกับแผ่นพลาสติกและกระจก ซึ่งมีลักษณะเดียวกับทฤษฏีของ Otto von Guericke (ค.ศ. 1602-1686) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่ได้เขียนบันทึกไว้ในปี 1672 เกี่ยวกับการค้นพบปรากฏการณ์ของ "สีในร่มเงา" อันเป็นผลงานจัดวางด้วยวัสดุที่ทำจากแผ่นแก้วที่ด้านหลังนั้นส่องประกายแสงสีแดง เหลืองและน้ำเงิน ซึ่งแนวคิดส่วนหนึ่งได้หยิบยืมมาจาก Barnett Newman โดยตั้งชื่อผลงานว่า "Who is afraid" (9) ค.ศ. 2004 อันเป็นผลงานที่ไม่แสดงสิ่งใดเลย นอกจากฉายภาพที่ประกอบด้วยแม่สีทั้งสามสี ช่วงกลางว่างเป็นสีขาว ส่วนผลงานจัดวาง "Your Blue/Orange Afterimage Exposed" แสดงที่หอศิลป์ในนครโตเกียว (Tokyo) ในปีค.ศ. 2000 เป็นภาพฉายแสงรูปทรงสีเหลี่ยมจตุรัสทั้งสีส้มและสีน้ำเงินบนผนังเพียงแค่ 10 วินาที แต่หลังจากที่แสงสีเหลี่ยนจตุรัสนั้นดับลงแล้ว สีตรงข้ามก็ยังติดตาผู้ชมอยู่ อันเป็นปรากฏ การณ์ที่หาอ่านได้ทั่วไปในหนังสือวิชาการเด็ก ซึ่งไม่แตกต่างกันแต่อย่างใดกับผลงานชื่อ "Pedestrian Vibes Study" ในปีค.ศ.2004 ที่จับการเคลื่อนไหวของคนเดินข้างทางแต่ละตอนเป็นภาพถ่ายขาว-ดำต่อเนื่องรวมทั้งสิ้น 16 ภาพ และมีลักษณะทำนองเดียวกับภาพถ่ายของช่างภาพชาวอังกฤษ Eadweard Muybridge (10) (1830-1904) ได้เคยทดลองศึกษาไว้

Olafur Eliasson: Your Space Embracer, 2004, ภาพ: Carl Henrik Tillbergs, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eilasson สร้างสรรค์ร่วมกับ Boris Oicherman: Your Uncertainty of Colour Matching Experiment, 2006, ภาพ: Michael Franke © Olafur Eliasson

ผลงานชุดต่อมาที่น่าสนใจคือการจัดวางเป็นกระโจม (pavilion) ที่มีโครงสร้างรูปทรงเชิงเรขา คณิต และเป็นผลงานที่สาธิตให้เห็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติในรูปแบบแปลกๆ เช่น "The Glacier House" ในปีค.ศ. 2005 ซึ่งมีความสูงถึง 5 เมตร และมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกที่มีโครงสร้างเป็นวงเกลียว ซึ่งทำจากท่อเหล็กขนาดเล็ก เลียนแบบทัศนธาตุของน้ำแข็งตามธรรมชาติ เมื่ออากาศมีความเย็นถึง 0 องค์ศา น้ำก็จะพ่นออกมาจากระบบพ่นน้ำ กลายเป็นน้ำแข็งจับเกาะโครงเหล็กของกระโจมดูน่าอัศจรรย์ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งเช่น "Fragant Tunnel" ในปีค.ศ. 2000 และ "Scent Tunnel" ในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งใช้ท่อเหล็กขนาดเล็กเป็นโครงสร้างเช่นกัน เพื่อให้ไม้เลื้อยหรือไม้ประดับจัดวางเป็นรูปทรงเกลียววนรอบผู้ชม ซึ่งทำให้นึกถึงผลงานรูปแบบกระโจมของอาจารย์มณเฑียร บุญมา (พ.ศ. 2496-2543) ศิลปินร่วมสมัยชาวไทยที่มีชื่อโด่งดังไปทั่ว ทั้งในทวีปยุโรปและนานาชาติ เป็นผลงานจัดวางที่สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1992 ทั้งในบริเวณสวนสาธารณะและในหอศิลป์ ให้มีผนังห้องเป็นครึ่งวงกลม ที่ดูเสมือนหนึ่งอุ โมงค์หรือห้องวิปัสสนา ภายในมีต้นมะลิและพันธ์ไม้หอมอื่นๆส่งกลิ่นหอมตลบอบอวน เพื่อเป็นการสงบจิตในระหว่างวิปัสสนา บนผนังมีสมุนไพรติดอยู่ทั้วไป ผู้ชมสามารถหลบไปด้านหลังของกำแพงเชือกที่ทำจากใบสมุนไพร เพื่อหามุมสัมผัสกับบรรยากาศภายใน ก่อนเปิดจิตวิญญาณให้คอยรับเสียงและกลิ่นที่ให้ความรู้สึกสงบ (11) เช่นเดียวกับผลงาน "Quasi Brick Wall" ในปีค.ศ. 2002 ของ Eliasson ซึ่งใช้ดินเหนียวทำเป็นผนังประดับรอบนอกด้วยกระจก และมีลักษณะเหมือนผนังครึ่งวงกลมของอาจารย์มณเฑียร ที่นำเครื่องปั้นดินเผามาจัดวางซ้อนกันให้มีรูปทรงเหมือนระฆัง (12) และที่น่าประหลาดใจที่สุด คือผลงานที่มีชื่อว่า "Dream House" ในปีค.ศ. 2008 ของ Eliasson ที่มีโดมตั้งอยู่บนเสา และภายใต้เสาผู้ชมสามารถดูปรากฏการณ์ต่างๆได้ เช่นเดียวกับภาพร่างของอาจารย์มณเฑียรที่เคยร่างไว้ในปีค.ศ. 1998 ขณะที่ท่านกำลังได้ทุนการศึกษาที่สถาบันศิลปะ "Akademie Schloss Solitude" ณ เมือง Stuttgart ประเทศเยอรมันนี โดยมีรูปประติมากรรม 6 ชิ้นตั้งบนเสา ที่อาจารย์มณเฑียรออกแบบขึ้น ยามที่ผู้ชมยืนชมใต้รูปประติมา กรรมก็จะเห็นภายในมีแสงไฟส่องสะท้อนสู่ฝาห้องด้านบนเป็นรูปดาว (13) ซึ่งเทียบได้กับบรรยากาศภายในโบสถ์ของคริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิก

Olafur Eliasson: The Glacier House, 2005, เป็นสมบัติของเอกชน, ภาพ: Andrew Gellatly © Olafur Eliasson

แต่นั่นอาจเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไป เพราะผลงานของ Eliasson มีเอกลักษณ์พิเศษต่างกันคือ มีความมโหฬารเทียบเท่าธรรมชาติจริง และเต็มไปด้วยมโนทัศน์ที่อลังการด้วยเช่นกัน อีกประการหนึ่งผลงานของ Eliasson มีลักษณะเหมือนสารานุกรมที่ให้ความรู้เรื่องของธรรมชาติเป็นเวลาหลายร้อยปี และมีวิธีจัดวางเชิงสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบอย่างน่าทึ่ง อีกทั้งสะท้อนทัศนคติเชิงวิจารณ์และประสบ การณ์ของผู้ชม อันจะทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ และเดินกลับบ้านอย่างภาคภูมิใจพร้อมทั้งมั่นใจว่า อันที่จริงพวกเขาก็เคยรู้เรื่องนี้กันอยู่แล้ว

(1) จากสำนักข่าวของผู้ว่านครนิวยอร์ค Michael R. Bloomberg วันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2008, www.nyc.gov

(2) Neue Zürcher Zeitung วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2008, www.nzz.ch; The New York Times วันที่ 15มกราคม ค.ศ. 2008, www.nytimes.com

(3) http://www.nyfalls.com/nycwaterfalls2.html

(4) http://www.raumexperimente.net

(5) “Studio Olafur Eliasson”, An Encyclopedia, concept by Olafur Eliasson, edited by Anna Engberg-Pedersen ในภาษาอังกฤษ-เยอรมัน-ฝรั่งเศส หรือ อิตาเลียน-เสปญ-โปรตุเกส สำนักพิมพ์Taschen-Verlag, Hong Kong, Cologne 2008, ISBN 978 3 8228 4426 7. หนังสืออ้างอิงหาอ่านได้ที่หอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวังท่าพระ ชั้นล่าง, R N7053.O43 A4 2008. หรือที่ http://www.olafureliasson.net. ซึ่งเป็นแหล่งที่สามารถสั่งซื้อหนังสือที่เกี่ยวกับศิลปินได้ทุกเล่ม

(6) ข้อมูลต่างๆในสมัยของการทำงานร่วมกันระหว่าง Olafur Eliasson และ Philip Ursprung หาอ่านได้ที่ Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Cologne 2008, หน้า 20-31 แหล่งสั่งซื้อหนังสือหาดูได้ที่โฮมเพจของศิลปิน

(7) รูปทรงหลายเหลี่ยมซ้อนกันทำจากงาช้าง, ในภาษาเยอรมัน ประมาณทศวรรษที่ 1650, “Kunsthistorisches Museum” ที่กรุงเวียนนา; และสูจิบัตร “Zauber der Medusa, Europäische Manierismen”, Vienna 1987, หน้า 369, เรื่องเกี่ยวกับการค้นคว้ารูปทรงเรขาคณิตของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance) หน้า 107, 214 f.

(8) บทสัมภาษณ์ Eliasson ตอน “Kaleidoscope” ในหนังสือ Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Cologne ค.ศ. 2008, หน้า 240

(9) Barnett Newman: Who’s Afraid of Red, Yellow and Blue, 1969/70, สีน้ำมันบนผ้าใบ, ที่ “Nationalgalerie Berlin”

(10) Eadweard Muybridge: The Human Figure in Motion, Philadelphia 1901, และหาอ่านได้ที่http://de.wikipedia.org/wiki/Eadweard_Muybridge

(11) Montien Boonma: House of Hope, 1996/97, ผลงานจัดวาง, Dakis Joannu Collection, Centre for Contemporary Art, Athens ผลงานงานชิ้นนี้ได้จัดแสดงในปีค.ศ. 1997 ที่ Deitch Projects, New York, และที่ Global Vision, New Art from the 90s, Part III โดย Deste Foundation for Contemporary Art, Athens

(12) Montien Boonma: Lotus Sound, 1992, Terracotta, ทองคำเปลว, สมบัติของเอกชน กรุงเทพฯ และRock Bell Garden, 1993/95, Tachikawa Project, Tokyo

(13) Montien Boonma: Zodiac House (Das Haus der Sternzeichen), 1998, สมบัติของเอกชน กรุงเทพฯ เป็นภาพร่างก่อนสร้างผลงาน „Untitled Stars“ ในปีค.ศ.1998, เทคนิคผสมบนกระดาษ สมบัติของนิ่ม เครือแสง กรุงเทพฯ หาดูได้ในสูจิบัตรของนิทรรศการ Return Ticket: Thailand-Germany, Goethe-Institut, “Bangkok Art and Culture Centre” กรุงเทพฯ 2010, หน้า 63


EXPERIMENT UND GEWISSHEIT IM WERK VON
OLAFUR ELIASSON

Olafur Eliasson, 2010 © Olafur Eliasson

Der Däne Olafur Eliasson wurde innerhalb der vergangenen fünfzehn Jahre zu einem Künstler der Superlative. Eliasson, 1967 als Sohn isländischer Eltern in Kopenhagen geboren, wuchs in Island und in der kleinen dänischen Hafenstadt Holbaek auf. Von 1989 bis 1995 studierte er an der Königlich Dänischen Kunstakademie in Kopenhagen. 1995 gründete er in Berlin ein Atelier, das heute mit 35 Mitarbeitern eines der größten Künstlerateliers in der westlichen Kunstszene darstellt. Zusammen mit seiner Familie lebt der Künstler weiterhin in Kopenhagen. Seine Installation „The Weather Project“ 2003 in der Turbinenhalle der Tate Modern in London hatte über zwei Millionen Besucher. Sein bekanntestes Projekt im öffentlichen Raum, „The New York City Waterfalls“ von Juni bis Oktober 2008, kostete 15,5 Millionen Dollar, die von einem privaten Kunstfonds aufgebracht wurden. Es brachte nach offiziellen Schätzungen 1,4 Millionen Besucher und hatte angeblich wirtschaftliche Auswirkungen auf die Stadt New York in Höhe von 69 Millionen Dollar. (1) Der Künstler hatte an vier Orten der Küstenlinie von New York – vor Governors Island, an der Brooklyn Bridge, an der Manhattan Bridge und vor der Brooklyn Promenade – mit Hilfe von Gerüsten und Pumpensystemen künstliche Wasserfälle mit einer Höhe von 90 bis 120 Fuß errichtet, die jeweils am späten Nachmittag angeschaltet wurden und angeblich umweltgerecht konstruiert worden waren. (2) Es gab aber auch negative Auswirkungen: Nachdem sich herausgestellt hatte, dass der von den Wasserfällen erzeugte Sprühregen aus Salzwasser angrenzende Bäume, Anpflanzungen und Parks beschädigte, mussten die Laufzeiten von 101 Stunden pro Woche auf die Hälfte reduziert sowie Bäume und Pflanzen regelmäßig mit Frischwasser gesäubert werden. (3)

Olafur Eliasson: The New York City Waterfalls, 2008,
Bild: http://www.nyfalls.com

Die letzte Überblicksaustellung zum Werk von Olafur Eliasson wurde 2007 unter dem Titel „Take Your Time“ vom San Francisco Museum of Modern Art erarbeitet und 2008 in New York im Museum of Modern Art gezeigt. 2010 präsentierte Eliasson im Martin-Gropius-Bau in Berlin unter dem Titel „Innen Stadt Außen“ („Inner City Out“) seine erste Einzelausstellung in Deutschland. Seit 2008 unterrichtet er als Professor an der Universität der Künste in Berlin. Dort gründete er das Institut für Raumexperimente, das als zusätzliches Angebot zu den traditionellen Lehrinhalten einer Kunstakademie verstanden wird. (4) Neben zahlreichen seit 1997 erschienenen internationalen Ausstellungskatalogen informiert seit 2008 ein im Taschen-Verlag erschienenes Buch über die Arbeit des „Studio Olafur Eliasson“. Es ist ebenfalls ein Superlativ: Mehrere Kilo schwer, 528 Seiten dick und in mehreren Sprachen erhältlich, passt es mit einer Größe von 30 x 40 Zentimetern in kein Bücherregal. (5) Es bleibt die Frage, welches Konzept Eliasson mit seinen Projekten verfolgt und weshalb seine Ausstellungen und Installationen beim Publikum eine so überdimensionale Wirkung zeigen.

In Eliassons Atelier, das seit 2002 in der Mitte Berlins in unmittelbarer Nähe des „Hamburger Bahnhofs - Museum für Gegenwartskunst“ in einer Lagerhalle untergebracht ist, arbeiten Künstler, Ingenieure, Techniker, Kunsthistoriker und eine Gruppe von zehn Architekten. Neben Werkstätten und Büros verfügt das Atelier über eine große Halle, in der Messgeräte für räumliche und zeitliche Phänomene stehen und in der Apparaturen für Lichtbrechungen und die Wirkung von Spiegeln und Prismen in allen Formen und Farben ausprobiert werden. Es werden Teile von architektonischen Fassaden und Versuchsanordnungen errichtet und künstlerische Installationen getestet. Die Atmosphäre ist experimentell und unterscheidet sich kaum von den endgültigen Ausstellungen des Künstlers. In ihnen zeigt er häufig Teile aus einer ganzen Kette von Versuchen und Experimenten, die aus der Forschung und Produktion im Atelier entstanden sind. (6)

Das bisherige Werk von Eliasson gliedert sich in verschiedene Themenkomplexe. Die öffentlich wirksamste Gruppe von Arbeiten sind Rekonstruktionen, Nachempfindungen oder Metamorphosen von Naturphänomenen. Hierzu gehört die Installation „The Weather Project“ 2003 in der Londoner Tate Modern, in deren Zentrum eine Sonne, künstlicher Nebel und eine scheinbar grenzenlose Illusion des Himmelsraums standen. An einer Projektionswand am Ende der ehemaligen Maschinenhalle war ein von zweihundert Monofrequenz-Lampen hinterleuchteter Halbkreis installiert, der sich an der Decke in einer abgehängten Spiegelfläche zu einer Sonne vervollständigte. Betrat man den abgedunkelten Raum, so sah man eine durch den Nebeldunst scheinende riesige Sonne. Besucher legten sich auf den Fußboden, um ihr Spiegelbild durch die Verdoppelung des Raumes in etwa sechzig Meter Höhe zu betrachten. Näherte man sich der Installationswand oder befand sich auf einer Galerie im Obergeschoss der Halle, so wurden alle Teile der Kulissenkonstruktion sichtbar. Der Künstler hatte absichtlich auf die Wirkung von Illusion und Desillusion gesetzt. Mit dieser Arbeit verwandt ist die Installation „Double Sunset“, die Eliasson 1999 in Utrecht/Niederlande realisierte. Auf dem Dach eines Industriebaus wurde eine runde gelbe Wellblechwand mit einem Durchmesser von 38 Metern installiert, die bei Anbruch der Dämmerung von Flutlicht angestrahlt wurde und so über der Stadt neben dem wirklichen einen zweiten Sonnenuntergang suggerierte.

Olafur Eliasson: The Weather Project, Tate Modern, London 2003, Foto:Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery,
New York © Olafur Eliasson

Zu den Arbeiten, die Naturphänomene wiederholen, gehören auch „The New York City Waterfalls“ (2008) sowie vorangegangene kleineren Gerüstkonstruktionen mit künstlichen Wasserfällen 1998 in der Kunsthalle Köln und auf der 11. Biennale von Sydney/Australien, 2000 in der Neuen Galerie in Graz/Österreich, 2001 im Zentrum für Kunst und Medientechnologie (ZKM) in Karlsruhe und 2004 im Kunstmuseum von Aarhus/Dänemark, alle mit dem Titel „Waterfall“. 1997 inszenierte er unter dem Titel „Erosion“ auf der 2. Biennale von Johannesburg/Südafrika eine Überschwemmung, die sich als eineinhalb Kilometer langer Fluss durch die Stadt zog und Erde, Blätter und Abfälle mit sich führte. Mit der Intervention „Green River“ inszenierte er zwischen 1998 und 2001 vermeintliche Umweltkatastrophen, indem er Flüsse in Bremen, Moss/Norwegen, auf Island, in Los Angeles, Stockholm und Tokio mit dem grünen Farbstoff Uranin versetzte und damit bei der Bevölkerung unterschiedliche Reaktionen hervorrief. In Ausstellungsräumen inszenierte er 1999 im MIT List Visual Arts Center in Cambridge, MA/USA, einen mit Kompressoren erzeugten Sandsturm („The Sandstorm Park“), 2001 in der Galerie neugerriemschneider in Berlin einen aus Nebel- und Windmaschinen erzeugten Tornado („The things that you don’t see that you don’t see“), 2002 im Musée d’Art Moderne in Paris und 2003 im Museo Nacional Centro de Arte Reina Sofia in Madrid mehrere Tonnen Lavagestein aus Island, die Besucher durch Darüberlaufen erkunden konnten, 2005 in Zug/Schweiz einen Bach, der über mehrere Straßen, über die Stadtmauer hinweg, durch das Kunsthaus hindurch und schließlich wieder in das ursprüngliche Bachbett zurück geleitet wurde („The Body as Brain“).

Olafur Eliasson: Green River, Moss/Norwegen, 1998, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York, © Olafur Eliasson

Eliasson will das Empfinden für Naturphänomene schärfen, indem er sie ihren ursprünglichen Orten entfremdet und sie an ungewohnten Plätzen neu inszeniert. Die Öffentlichkeit reagiert mit Begeisterung auf diese Experimente und mit der Gewissheit, dass sie verstanden hat: ja, das ist ein Sonnenuntergang, bzw. nein, dass ist eben kein Sonnenuntergang! Die Frage ist, ob nicht der überwiegende Teil des Publikums die Sensation und die große Theaterinszenierung sucht – mit der für alle deutlichen Gewissheit, dass ein Sonnenuntergang an der Atlantikküste Marokkos, über dem Mekong River bei Chiang Khan in Thailand oder bei Luang Prabang in Laos oder das direkte Erlebnis der Niagara-Wasserfälle an der Grenze der USA zu Kanada jeder Kunst- oder Theaterinszenierung in einer der Großstädte unserer Welt vorzuziehen sind, auch wenn diese künstlichen Wiederholungen besonders teuer gewesen sind.

Auch bei den zahlreichen geometrischen und optischen Experimenten, die Eliasson und sein Team für Ausstellungen in aller Welt in Szene setzen, folgt die Gewissheit – dass wir die meisten von ihnen schon kennen. Kern der geometrischen Studien ist eine Modellsammlung, die Eliasson seit 1996 zusammen mit dem isländischen Künstler und Architekten Einar Thorstein entwickelte und die sich mit räumlichen Strukturen wie Kugeln, Prismen- und Facettensystemen auseinandersetzt. Sie wurde unter dem Titel „Model Room“ seit 2003 auch in Ausstellungen gezeigt. Schon auf den ersten Blick erinnert sie an die in unendlichen Variationen vorliegenden stereometrischen Studien von Künstlern der Renaissance wie des aus Wien stammenden Wenzel Jamnitzer (1508-1585) und dessen „Perspectiva Corporum Regularium“ (1568) oder die Polyeder-Studien italienischer Meister der gleichen Zeit, die bis zur Mitte des 17. Jahrhunderts auch dreidimensional in Holz oder Elfenbein von bedeutenden Kunsthandwerkern für die Kunst- und Wunderkammern europäischer Fürsten hergestellt wurden. (7) Bei Eliasson verkörpern diese Studien die postmoderne Sehnsucht nach vermeintlich verlorengegangenen architektonischen Werten. Denn Anwendung finden sie bei ihm in erlebbaren oder sogar begehbaren Räumen, die mit facettierten Spiegeln verkleidet („Your Now is my Surroundings“, 2000) oder als Tunnel sogar vollständig aus ihnen konstruiert sind („Your Spiral View“).


Olafur Eliasson zusammen mit Einar Thorsteinn: Model Room, 2003, Foto: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Your Spiral View, 2002, Boros Collection, Berlin, Foto: Jens Ziehe © Olafur Eliasson

Eine größere Gruppe von Arbeiten bilden Kaleidoskope, eine Erfindung vom Beginn des 19. Jahrhunderts und heute in jedem Geschenke-Laden erhältlich, die Eliasson in Maßen von über sieben Meter Länge und zwei Metern Durchmesser frei im Raum hängen lässt („Kaleidoscope“, 2001) oder mit deren facettiertem Konstruktionssystem er ganze Innenräume gestaltet wie den Lichthof des Martin-Gropius-Baus in Berlin während der Ausstellung 2010 („Mikroskop“, 2010). Der Künstler will zeigen, dass unsere gesamte Wahrnehmung kulturell determiniert und von Sehgewohnheiten bestimmt ist. (8) Das Publikum nimmt diese Arbeiten mit großer Begeisterung in der Art erlebbarer postmoderner Architekturen war. Tatsächlich realisiert Eliasson diese wiedergefundenen stereometrischen Strukturen auch für architektonische Auftragsarbeiten wie den aus verspiegelten Rhomben und Pyramidoiden konstruierten „Flower Pavilion“ 2003 in einem Park in Shenzen/China, die spiral- und kugelförmig facettierten Kronleuchter des neuen Opernhauses von Kopenhagen („Opera House Chandeliers“, 2004) oder die aus riesigen Rhomben bestehenden Glasbausysteme der Fassade der Harpa Reykjavik Concert Hall and Conference Centre in Reykjavik/Island, die im August 2011 eröffnet wird.

Olafur Eliasson: Mikroskop, 2010, Gerüst, Spiegelfolie, Aluminium, 17,7 x 18,5 x 27,1 Meter, Foto: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Opera House Chandeliers, 2004, New National Opera, Copenhagen/Denmark, Foto: Silke Heneka © Olafur Eliasson

Eliassons optische Installationen wirken gelegentlich wie einfache Experimente in einem Schullabor. Ein Versuch mit verschiedenfarbigen Scheinwerfern, Folien und Spiegeln („Tell me about a Miracoulous Invention“, 1996) beschreibt das schon 1672 von dem deutschen Astronomen Otto von Guericke (1602-1686) entdeckte Phänomen der Farbigen Schatten. Eine Installation aus hinterleuchteten farbigen Glasscheiben in Rot, Gelb und Blau mit dem partiell bei Barnett Newman entliehenen Titel (9) „Who is afraid“ (2004) zeigt in der Projektion nichts anderes als das Mischsystem der drei Grundfarben, das in ihrem Zentrum Weiß ergibt. In der Installation „Your Blue/Orange Afterimage Exposed“, die 2000 in Galerien in Tokio ausgestellt war, wurden orange bzw. blaue Lichtquadrate für zehn Sekunden auf einer Wand präsentiert, die nach dem Erlöschen der Projektion beim Betrachter Nachbilder in der jeweiligen Komplementärfarbe erzeugten – ein Versuch, der in jedem Sachbuch für Kinder enthalten ist. Kaum anders ist es mit Eliasson’s Lichtstudie der Schwingungen eines Fußgängers, festgehalten in 16 schwarzweißen Photogravuren („Pedestrian Vibes Study“, 2004), die den berühmten Bewegungsstudien des englischen Fotografen Eadweard Muybridge (10) (1830-1904) nachempfunden sind.

Olafur Eliasson: Your Space Embracer, 2004, Foto: Carl Henrik Tillbergs, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eilasson zusammen mit Boris Oicherman: Your Uncertainty of Colour Matching Experiment, 2006, Foto: Michael Franke © Olafur Eliasson

Eine weitere Gruppe von Arbeiten sind Pavillons, die bei ausgeklügelter geometrischer Konstruktion speziellen Naturerlebnissen gewidmet sind. „The Glacier House“ (2005) beispielsweise ist bei einer Höhe von fünf Metern als zylindrische Spiralstruktur aus dünnem Stahlrohr konstruiert, die der natürlichen Struktur von Eis nachempfunden ist. Sinkt die Temperatur unter Null Grad, versprüht ein Sprinklersystem Wasser, das an dem Gerüst zu einem phantastischen Eismantel gefriert. Andere Arbeiten wie „Fragrant Tunnel“ (2000) und „Scent Tunnel“ (2004) arbeiten mit Stahlrohrkonstruktionen, um die herum sich Duftpflanzen ranken oder bei denen sich bepflanzte Blumentöpfe kreisförmig um den Besucher drehen. Sie erinnern an die auch in Europa und weltweit bekannt gewordenen Pavillons des thailändischen Künstlers Montien Boonma (1953-2000). Dieser gestaltete seit 1992 in Parks und in Ausstellungsräumen Installationen aus halbrunden Wänden sowie Tunnel und meditative Räume, in denen Jasmin und andere Aromen als Stimulanz zur Meditation dienten. Ihre Wände waren mit Heilkräutern bedeckt, und die Besucher konnten sich hinter Schnüren aus Kräuterperlen zurückziehen, um sich visuellen Eindrücken, Klang und Geruch meditativ zu öffnen. (11) Auch Eliassons geschwungene, aus Ton-Elementen gemauerte und mit verspiegelten Facetten verkleidete Wand („Quasi Brick Wall“, 2002) ähnelt den halbrunden Wänden, die Montien Boonma aus Terracotta-Gefäßen oder Glocken aufschichtete. (12) Geradezu verblüffend zitiert Eliassons „Dream House“ (2007) – eine auf Stelzen gestellte Facettenkuppel, unter die sich Besucher stellen und in der sie optische Phänomene betrachten können – einen Entwurf von Montien Boonma: Dieser hatte 1998 während eines Stipendiaten-Aufenthalts in der Akademie Schloss Solitude in Stuttgart sechs auf Stelzen stehende Skulpturen entworfen, die den katholischen Kirchen der Stadt nachempfunden waren. Auch dort konnten sich die Besucher unter die Skulpturen stellen, aus deren Inneren Lichtinstallationen Sternbilder an die Decke des Ausstellungsraums projizierten. (13)

Olafur Eliasson: The Glacier House, 2005, Privatsammlung, Foto: Andrew Gellatly © Olafur Eliasson

Es wäre jedoch zu kurz gedacht, Eliasson ausschließlich an der Größe der tatsächlich existierenden Natur und an den Ideen vorangegangener Künstler zu messen. Sein Werk ist eine Enzyklopädie der Naturerkenntnis vieler Jahrhunderte, die in beeindruckenden und sauber ausgeführten Installationen und Architekturen auch die Seh- und Erfahrungsgewohnheiten der Ausstellungsbesucher reflektiert und kritisch hinterfragt. Die Besucher staunen und gehen mit der stolzen Gewissheit nach Hause, alles eigentlich schon vorher gewusst zu haben.

(1) Pressemitteilung des Bürgermeisters von New York, Michael R. Bloomberg, vom 21.10.2008, www.nyc.gov

(2) Neue Zürcher Zeitung vom 14.10.2008, www.nzz.ch; The New York Times vom 15.1.2008, www.nytimes.com

(3) http://www.nyfalls.com/nycwaterfalls2.html

(4) http://www.raumexperimente.net

(5) Studio Olafur Eliasson, An Encyclopedia, concept by Olafur Eliasson, edited by Anna Engberg-Pedersen, englisch-deutsch-französisch oder italienisch-spanisch-portugiesisch, Taschen-Verlag, Hong Kong, Köln 2008, ISBN 978 3 8228 4426 7. Das Buch kann auch in Bangkok eingesehen werden: Silpakorn University Central Library, R N7053.O43 A4 2008. Die Webseite des Künstlers ist http://www.olafureliasson.net. Dort sind auch alle Publikationen über den Künstler zu finden.

(6) Eine Beschreibung und Analyse des Ateliers von Olafur Eliasson von Philip Ursprung findet sich in der oben genannten Publikation: Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Köln 2008, S. 20-31.

(7) Mehrfach in einander geschachtelter Polyeder aus Elfenbein, deutsch um 1650, Kunsthistorisches Museum Wien; vgl. Ausstellungs-Katalog Zauber der Medusa, Europäische Manierismen, Wien 1987, S. 369, zu den geometrischen Studien der Renaissance S. 107, 214 f.

(8) Interview mit Eliasson im Kapitel „Kaleidoscope“ der Publikation Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Köln 2008, S. 240

(9) Barnett Newman: Who’s Afraid of Red, Yellow and Blue, 1969/70, Öl auf Leinwand, Nationalgalerie Berlin

(10) Eadweard Muybridge: The Human Figure in Motion, Philadelphia 1901, vgl. http://de.wikipedia.org/wiki/Eadweard_Muybridge

(11) Montien Boonma: House of Hope, 1996/97, Installation, Dakis Joannu Collection, Centre for Contemporary Art, Athen (Athens). Die Installation wurde gezeigt 1997 in Deitch Projects, New York, sowie in Global Vision, New Art from the 90s, Part III, Deste Foundation for Contemporary Art, Athen

(12) Montien Boonma: Lotus Sound, 1992, Terracotta, Blattgold, Privatsammlung Bangkok; Rock Bell Garden, 1993/95, Tachikawa Project, Tokio

(13) Montien Boonma: Zodiac House (Das Haus der Sternzeichen), 1998, Privatbesitz Bangkok; Projektskizzen „Untitled Stars“, 1998, Mischtechnik auf Papier, Sammlung von Nim Kruasaeng, Bangkok abgebildet im Ausstellungs-Katalog Return Ticket: Thailand-Germany, Goethe-Institut, Bangkok Art and Culture Centre, Bangkok 2010, S. 63