August 22, 2010

Frida Kahlo

Axel Feuss:
EXHIBITION REVIEW: FRIDA KAHLO.
RETROSPECTIVE, APRIL 30 - AUGUST 9, 2010
MARTIN-GROPIUS-BAU, BERLIN, GERMANY
  
 












in: Fine Art Magazine, Vol. 7, No. 70, Chiang Mai/Bangkok, August 2010, p.83-85

(for German please scroll down)

นิทรรศการของ Frida Kahlo (ฟรีดา คาห์โล)

เขียน: Dr. Axel Feuss แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ

นับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายนถึงวันที่ 9 สิงหาคม ศกนี้ หอศิลป์ Martin-Gropius-Bau (มาร์ติน- โกรพิโอส-เบา) ณ กรุงเบอร์ลิน ได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานของ Frida Kahlo (ฟรีด้า คาห์โล) ศิลปินหญิงชาวเม็กซิกัน (1907-1954) ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดแสดงมา และนี่เป็นครั้งแรกที่สามารถรวบรวมผลงานสำคัญๆ ของ Frida Kahlo จากพิพิธภัณฑ์ องค์กร และหน่วยงานหลายๆ แห่ง อาทิ Museo Dolores Olmedo (มิวสิโอ โดลอส โอเมโอ) สถาบันดูแลรักษามรดกที่เป็นงานศิลปะ Natasha Gelman Collection (นาตาชา เกลแมน คอล์เลคชั่น) แห่งกรุง Mexico City (เม็กซิโกซิตี) รวมทั้งผลงานที่ยืมมาจากนักสะสม และจากพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศเม็กซิโกจำนวน 30 แห่ง และสหรัฐ อเมริกาอีก 15 แห่ง ผลงานที่จัดแสดงประกอบด้วยภาพจิตรกรรมจำนวน 70 ชิ้น และภาพลายเส้นอีกหลายชิ้น นิทรรศการนี้จัดขึ้นโดย Dr. Helga Prignitz-Poda (ดร. เฮลกา พริกนิตส์-โพดา) นักประวัติ ศาสตร์ศิลป์และผู้เชี่ยวชาญศิลปะแห่งประเทศเม็กซิโก นิทรรศการนี้จะจัดแสดงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ณ Bank Austria Kunstforum ในกรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 5 ธันวาคมศกนี้

Frida Kahlo ได้สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นจำนวนทั้งสิ้น 143 ชิ้น หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นภาพ เหมือนตนเอง (self-portrait) ซึ่งมีอยู่รวมทั้งสิ้น 55 ชิ้น อันเป็นผลงานที่รู้จักกันทั่วโลก ภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสาระสะท้อนชะตากรรมของเธอเอง ซึ่งเริ่มตั้งแต่อุบัติเหตุในรถประจำทางในขณะที่เธอมีอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ ทำให้ร่างกายของเธอมีสภาพพิการไปตลอดชีวิต อีกทั้งเธอยังมีปัญหาชีวิตสมรสกับ Diego Revera ผู้เป็นสามีที่เธอรัก นอกจากนี้เธอยังได้แสดงความคิดเห็นที่เอนเอียงไปทางด้านสังคมนิยมแบบลัทธิมาร์กซ (Marxism) รวมทั้งบทบาทของความเสมอภาคของเพศหญิง ตลอดจนความรักชาติและความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนที่มีบรรพบุรุษเป็นคนพื้นถิ่น ถึงแม้ความสามารถทางด้านการสร้าง สรรค์ของเธอจะมาจากการศึกษาด้วยตนเอง (autodidact) ก็ตาม แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แม้แต่แกลเลอรี่ “Julien Levy” ก็ให้ความสนใจและจัดนิทรรศการแสดงผลงานให้ถึง 25 ชิ้น ณ กรุงนิวยอร์คเมื่อปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) ต่อมาในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) Frida ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับคนรอบข้าง André Breton ที่อยู่ในแวดวงศิลปะลัทธิเหนือจริง (Surrealism) อีกทั้งได้มีโอกาสพบปะกับ Picasso (ปีกัสโซ), Kandinsky (คานดินสกี), Max Ernst (แมกซ์ เอิร์นสต) และ Joan Miró (ฮวน มิโร) และภายในปีเดียวกันนั้น พิพิธภัณฑ์ Louvre แห่งกรุงปารีส ได้ติดต่อขอซื้อภาพเหมือนตนเอง (self-portrait) ของ Frida อีกด้วย ปัจจุบัน Frida คือ ศิลปินที่สำคัญที่สุดในแถบ Latin America (ลาตินอะเมริกา) ผลงานของเธอจัดว่าเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมแห่งชาติของประเทศเมกซิโก Frida จึงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับชีวิตสร้างสรรค์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่แม้จะประสบชะตากรรมที่เลวร้ายเพียงใด แต่ความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ และจิตสำนึกของเธอกลับไม่ได้ถูกลดทอนลงไปเลยแม้แต่น้อย ผลงานจิตรกรรมของ Frida จัดได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญของศิลปะแนวเหมือนจริงในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1920 ถึง 1950 และเป็นผลงานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะประเภท Neue Sachlichkeit (นอยเออ ซัคลิกไคท) ของเยอรมัน ประสานเข้ากับศิลปะลัทธิเหนือจริง (Surrealism) ของฝรั่งเศส อีกทั้งยังแสดงออกถึงความเป็นศิลปะพื้นเมืองของเม็กซิโกในเวลาเดียวกัน

Frida Kahlo เกิดที่ Cayoacán ในปีค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ซึ่งเป็นปริมณฑลแห่งนครหลวงMexiko City เธอเป็นบุตรสาวของ Wilhelm Kahlo (วิลเฮล์ม คาห์โล) ช่างถ่ายภาพชาวเยอรมัน และภรรยาชาวเม็กซิกัน Matilde Calderón เนื่องจาก Frida เคยป่วยเป็นโรคโปลิโอ เมื่อมีอายุได้เพียงหกขวบ ทำให้ขาข้างหนึ่งของเธอลีบและสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง ประกอบกับอุบัติเหตุในรถประจำทางในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) เธอจึงได้รับความเจ็บปวดทรมาณเพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม อันเนื่องมาจากแท่งโลหะได้แทงทะลุเข้าไปในร่างกายส่วนล่างของเธอ ทำให้เธอได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องนอนเจ็บเป็นเวลานาน และจำต้องทนอยู่กับการผ่าตัดนับครั้งไม่ถ้วน จากอุบัติเหตุนี้ทำให้เธอไม่สามารถมีบุตรได้ และต้องสวมเสื้อรัดลำตัว (corset) ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ และท้ายที่สุดเธอต้องนั่งเก้าอี้รถเข็นไปตลอดบั้นปลายของชีวิต หลังจากอุบัติเหตุครั้งนั้นเธอก็เริ่มเขียนภาพเพื่อเป็นการฆ่าเวลา ภาพเหมือนตนเอง (self portrait) ชิ้นแรกของ Frida เป็นภาพเหมือนครึ่งตัวที่เธอใส่เสื้อผ้ากำมะหยี่สีแดง เขียนขึ้นในขณะที่เธอมีอายุ 19 ปี เธอวาดตามอย่างงานจิตรกรรมในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ของอิตาลี (Renaissance) ซึ่งเธอเลื่อมใสผลงานของยุคนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะผลงานของ Paolo Uccello (เพาโล อูเชลโล), Sandro Botticelli (ซานโดร บอตติเชลลี) และ Agnolo Bronzino (แอกโนโล บรอนซิโน) จากนั้นไม่นานเธอได้ทำความรู้จักกับ Diego Rivera (ดิเอโก ริเวรา) จิตรกรหนุ่มชาวเม็กซิกัน ซึ่งขณะนั้น Rivera มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในฐานะจิตรกรเขียนภาพฝาผนังที่มีสาระทางการ เมือง Frida ได้สมรสกับเขาในปี ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472)

ในปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ทั้งคู่ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาสามปี แต่ตลอดเวลาของชีวิตสมรส Diego Riveraไม่เคยซื่อสัตย์ต่อ Frida เลย ทั้งสองจึงแยกทางกันในปี ค.ศ. 1934 แม้ในระยะแรกทั้งสองยังอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน แต่ที่สุดในปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) ก็หย่าขาดจากกันอย่างเด็ดขาด และสมรสใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) ในระหว่างนั้น Frida Kahlo ได้แสดงผลงานร่วมกับกลุ่มศิลปินลัทธิเหนือจริง (Surrealist) ทั้งในประเทศเม็กซิโก นิวยอร์ค และ ปารีส จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) Peggy Guggenheim ได้จัดแสดงผลงานของเธอภายใต้ชื่อ "Art of this Century" (ศิลปะจากศตวรรษนี้) ณ กรุงนิวยอร์ค ต่อมาเธอก็ได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนจิตรกรรมในกรุง Mexico City เมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก ในระยะสิบปีให้หลังเธอต้องได้รับการผ่าตัดอย่างนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งรวมทั้งการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเช่นกัน จนในที่สุด Frida ก็เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) เพราะร่างกายทนทุกข์ทรมานอีกต่อไปไม่ไหว

ประวัติชีวิตอันน่าเศร้าสลดของ Frida ได้ถูกนำมาเทียบกับชีวิตของ Leo Trotzki (ลิโอ ทรอต์สกี) ชาวรัสเซียผู้มีอุดมการณ์ในลัทธิมาร์กซ และเคยขอลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในประเทศเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) แต่ก็ถูกสังหารในที่สุด สาระเหล่านี้ไม่เคยถูกแยกออกจากการแสดงออกในผลงานของเธอเลย และบ่อยครั้งที่สาระเหล่านี้กลับมีความสำคัญมากกว่าการแสดงออกทางด้านศิลปะด้วยซ้ำไป ถึงกระนั้น ภาพเหมือนตนเอง (self-portrait) ของ Frida กลับสามารถสะท้อนพลังทางศิลปะได้อย่างน่าสนใจ แม้กระทั่ง Picasso ก็เคยเขียนจดหมายถึง Rivera ว่า “ไม่ว่าจะเป็น Derain (4) คุณ หรือแม้แต่ผมเอง ก็ไม่สามารถวาดส่วนหัวได้ดีเทียบเท่ากับ Frida Kahlo วาด” ส่วน André Breton นักวิชาการทางด้านลัทธิเหนือจริง ผู้ตรึงใจกับเสน่ห์ของ Frida และจากพลังของสัญลักษณ์ที่เธอใช้ ได้เขียนไว้ว่า ผลงานของเธอเหมือน “...โบว์ผูกติดระเบิดไว้ (5)”

ความงามของ Frida นั้น ซึ่งเราสังเกตเห็นในผลงานได้อย่างชัดแจ้ง แม้ว่าเธอจะได้รับบาดเจ็บเป็นเวลาอันยาวนานเพียงใดก็ตาม ความงามก็ไม่เคยจางหายไป ขนอ่อนที่ขึ้นบนริมฝีปาก ประกอบกับคิ้วที่ขึ้นงามเรียวยาวประชิดติดกัน รวมทั้งทรงผมที่เกล้าเหนือศีรษะแบบสาวพื้นเมือง ที่สวมเสื้อชุดแบบประเพณีที่ชาวพื้นเมืองเม็กซิกันนิยมใส่กัน สิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นการตั้งใจเน้นย้ำรากเหง้าอันเป็นชาติกำเนิดของตนเอง เมื่อพิจารณาจากภาพเหมือนตนเอง (self-portrait) ของFrida หลากหลายชิ้น ซึ่งรวมทั้งภาพประกอบบทความนี้ ผู้ชมไม่เพียงแต่จะเห็นร่องรอยของบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังเห็นสภาพของบาดแผลที่เกิดจากลูกศรและตะปูที่คอยทิ่มแทง ภาพเหล่านี้สะท้อนถึงการยอมรับสภาพอันเจ็บปวดของเธอเหมือนดั่งชาวคริสต์ที่ยอมทนทุกข์ทรมานเพื่อคริสต์ศาสนา (martyr) ความเจ็บปวดของบาดแผลที่เกิดจากหนามที่แหลมคมของสร้อยคอนั้นคล้ายคลึงกับที่พระเยซูเคยได้รับ เพียงแต่ปรากฏให้เห็นในร่างของหญิงสาวเท่านั้น

Frida Kahlo (ฟรีด้า คาฮ์โล): Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird (ภาพเหมือนตนเองกับสร้อยคอหนามและนกฮัมมิ่งเบิร์ด) ปี ค.ศ. 1940 สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 63.5 X 49.5 ซ.ม. (1)
Nicolas Muray, Harry Ransom Humanities Research Center, The University of Texas at Austin (2), © Banco de México, Diego Rivera & Frida Kahlo Museums Trust, México,
VG Bild-Kunst, Bonn 2010 (3)

เมื่อพิจารณาดูผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird” (ภาพเหมือนตนเองกับสร้อยคอหนามและนกผึ้ง) ในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) จะเกิดความรู้สึกเหมือนดั่งกำลังเผชิญหน้ากับภาพของนักบุญหรือภาพของพระเยชูโดยตรง มงกุฎหนามสัญลักษณ์ของการทนทุกข์ทรมานของพระเยซูอยู่ในรูปแบบของสร้อยคอหนาม ซึ่งหนามได้ฝังทิ่มอยู่ในคอผู้ใส่ ส่วนลิงที่อยู่ตรงบ่าขวาด้านหลังคือสัตว์เลี้ยงที่ Rivera เคยให้ Frida เป็นของขวัญ มันกำลังเล่นกับสร้อยรัดคอที่เต็มไปด้วยหนามนั้น เมื่อลิงนั้นขยับตัวย่อมทำให้แผลที่เกิดจากหนามฝังอยู่เปิดกว้างขึ้นได้ ส่วนนกน้อย (hummingbird) นั้นแขวนเหมือนเป็นเครื่อง ราง ซึ่งตามคติของชาวพื้นเมืองเชื่อว่า เป็นเครื่องหมายแห่งความโชคดีในความรัก ส่วนแมวดำเป็นสัญลักษณ์แห่งความเลวร้าย ที่กำลังคอยกระโจนใส่ได้ทุกเมื่อ ภาพนี้จึงเปรียบเสมือนการแสดงความทรมานและความเจ็บปวดภายในใจที่ Frida ได้รับจากความไม่ซื่อสัตย์ของ Rivera รวมถึงจากการหย่าร้างกัน แต่ความไม่ยอมสิ้นหวังของเธอเองและความหวังที่เธอคิดว่าจะได้รับความรักตอบกลับมาบ้างนั้น ยิ่งนานวันก็จะเป็นพิษกับบาดแผลที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ การที่ Frida ใส่เสื้อสีขาว เป็นการเน้นถึงความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสาของเธอ แต่ทุกคนต่างก็รู้ว่า เธอเองก็เคยมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นมาจนนับไม่ถ้วนเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเป็นการแก้แค้น Rivera สามีของเธอ ความรักที่เธอมีต่อธรรมชาติในบ้านเกิดเมืองนอนของเธออย่างเหลือล้นเท่านั้นที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดนี้ได้ ซึ่งเราจะเห็นได้จากรายละเอียดของการวาดใบไม้ในเขตเมืองร้อนที่วางซ้อนกันเป็นฉากหลัง ส่วนปิ่นปักผมรูปผีเสื้อซึ่งเธอบรรจงวาดนั้นเป็นเข็มกลัดที่เธอมีอยู่จริง ในขณะที่สัตว์ประหลาดสองตัวที่มีลักษณะคล้ายกับแมลงปอกำลังบินอยู่เหนือศีรษะทั้งด้านขวาและซ้าย เราจะเห็นว่า ตัวของพวกมันเป็นดอกไม้ ซึ่งอาจจะเป็นการแสดงถึงความหวังที่มีต่อความรักอันบริสุทธิ์ ที่มีอยู่แต่เพียงในโลกเหนือจริง (transcendent) ได้เท่านั้น


(1) ข้อมูลของผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird”

(2) ข้อมูลผู้สะสมและสถาบันดูแลรักษาผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird”

(3) ข้อมูลผู้มีลิขสิทธิ์และสถาบันที่มีลิขสิทธิ์ต่อภาพประกอบผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird”

(4) André Derain เป็นศิลปินผู้หนึ่ง อยู่ในกลุ่มศิลปินลัทธิ Fauvism (ลัทธิโฟวิสม์)

(5) โบว์นั้นเปรียบเหมือนเสนห์ของเพศหญิง(ใช้ติดผมให้สวย)


FRIDA KAHLO. RETROSPEKTIVE
30. APRIL - 9. AUGUST 2010
MARTIN-GROPIUS-BAU, BERLIN

Im Martin-Gropius-Bau in Berlin ist vom 30. April bis 9. August 2010 die größte jemals gezeigte Werkschau der mexikanischen Malerin Frida Kahlo (1907-1954) mit 70 Gemälden und ebenso vielen Zeichnungen zu sehen. Die Ausstellung, die von der Kunsthistorikerin und Spezialistin für Mexikanische Kunst Dr. Helga Prignitz-Poda kuratiert wurde, vereinigt erstmals die beiden bedeutendsten Sammlungen von Werken Frida Kahlos: die des Museo Dolores Olmedo und die Natasha Gelman Collection in Mexiko-City, sowie Leihgaben aus 30 mexikanischen und 15 nordamerikanischen Privatsammlungen und Museen. Die Ausstellung wird anschließend vom 1. September bis 5. Dezember 2010 im Bank Austria Kunstforum in Wien gezeigt.


Frida Kahlo schuf lediglich 143 Gemälde. Fünfundfünzig davon sind Selbstbildnisse, die weltberühmt wurden. In Ihnen verarbeitete die Künstlerin schwere Schicksalsschläge wie die Folgen eines Busunfalls, durch den sie als 18jährige schwere körperliche Schäden und lebenslange Behinderungen erlitt. Sie thematisierte ihre Beziehungskrisen und die Liebe zu ihrem Mann, dem Maler Diego Rivera, ihre revolutionäre marxistische Gesinnung, ihre Rolle als Frau, die Liebe zu ihrer Heimat Mexiko und zu ihren eingeborenen Vorfahren. Obwohl sie Autodidaktin war, wurden schon 1937 fünfundzwanzig ihrer Werke in der New Yorker Galerie Julien Levy ausgestellt. 1940 begegnete sie den Surrealisten im Kreis um André Breton in Paris, traf Picasso, Kandinsky, Max Ernst und Joan Miró. Im selben Jahr erwarb der Pariser Louvre eines ihrer Selbstporträts. Heute ist sie die bekannteste Malerin Lateinamerikas. Ihr Werk wurde in Mexiko zum nationalen Kulturgut erklärt. Ihre künstlerische Arbeit wurde zum herausragenden Beispiel für die Malerei von Frauen, da die Malerin trotz aller persönlichen Rückschläge ihr Selbstbewusstsein, ihre Überzeugungen und ihren Stolz nie verlor. Ihre Gemälde gehören zu den bedeutendsten Leistungen der realistischen Kunst der Jahrzehnte zwischen 1920 und 1950. Sie sind von dem in Deutschland entstandenen Malstil der Neuen Sachlichkeit und dem französischen Surrealismus beeinflusst, enthalten aber auch Elemente der mexikanischen Volkskunst.

Frida Kahlo wurde 1907 in Cayoacán, einer Vorstadt von Mexiko-City, als Tochter des aus Deutschland stammenden Fotografen Wilhelm (Guillermo) Kahlo und seiner Frau, der Mexikanerin Matilde Calderón, geboren. Als Folge einer Kinderlähmung behielt sie schon im Alter von sechs Jahren ein verkürztes Bein zurück. Das Busunglück 1926 brachte ihr neue Leiden: Eine Metallstange bohrte sich durch ihren Unterleib und versursachte so schwere Verletzungen, dass sie lange Zeit bettlägerig war. Sie musste ihr Leben lang Korsetts tragen, zahlreiche Operationen erdulden, blieb kinderlos und verbrachte die letzten Jahre im Rollstuhl. Bald nach dem Unfall begann sie im Bett zu malen - lediglich um sich zu beschäftigen. Ihr erstes Selbstbildnis, das sie als Dreiviertelfigur in einem roten Samtkleid zeigt, malte sie mit 19 Jahren nach Vorbildern italienischer Maler der Renaissance. Sie bewunderte die Meister des 15. und 16. Jahrhunderts, Paolo Uccello, Sandro Botticelli und Agnolo Bronzino. Bald darauf lernte sie den mexikanischen Maler Diego Rivera kennen, der schon zu dieser Zeit für seine politisch-revolutionären Wandbilder weltberühmt war, und heiratete ihn 1929. 1930 ging das Paar für drei Jahre in die USA. Riveras fortwährende Untreue führte 1934 zur Trennung. Dennoch lebten sie im selben Haus, ließen sich 1939 scheiden und heirateten 1940 erneut. Inzwischen hatte Frida Kahlo in Mexiko und New York an zahlreichen Gruppenausstellungen teilgenommen und in Paris zusammen mit den Surrealisten ausgestellt. 1943 zeigte Peggy Guggenheim ihre Bilder in der Ausstellung "Art of this Century" in New York. In Mexiko-City erhielt sie einen Lehrstuhl für Malerei. Ihre Lehrtätigkeit musste sie jedoch häufig unterbrechen, da sie sich in den folgenden zehn Jahren zahlreichen Operationen auch an der Wirbelsäule unterziehen musste. 1954 starb sie an den Folgen ihrer körperlichen Leiden.

Ihre bewegte Biographie, die sie unter anderem mit dem 1940 im mexikanischen Exil ermordeten russischen Revolutionär Leo Trotzki zusammenbrachte, ist nie von ihrer Malerei getrennt worden. Dabei tritt die Bedeutung ihrer Kunst häufig in den Hintergrund. Doch gerade von ihren Selbstporträts geht eine große Faszination und künstlerische Kraft aus. Picasso schrieb in einem Brief an Rivera: "Weder (André) Derain, noch Du, noch ich sind in der Lage, einen Kopf so zu malen wie Frida Kahlo." Und André Breton, der wichtigste Theoretiker der Surrealisten, schrieb, fasziniert von ihrer weiblichen Ausstrahlung und der Brisanz ihrer Symbolik, ihre Kunst sei wie "eine Schleife um eine Bombe".

Frida Kahlo hat, das zeigen auch ihre Fotos, trotz der langen und schweren Krankheit ihre Schönheit nie verloren. Der Damenbart und die prägnanten zusammengewachsenen Augenbrauen gehörten dabei ebenso zu ihrer Erscheinung wie ihre ungewöhnlichen Frisuren, die sie nach Art der einheimischen Frauen hochgesteckt trug, und ihre traditionellen mexikanischen Kleider, die ihre eingeborene Herkunft betonen sollten. In zahlreichen Selbstbildnissen, auch in dem hier gezeigten, stellte sie sich nicht nur mit Verletzungen ihrer zahlreichen Operationen, sondern auch von Pfeilen und Nägeln durchbohrt wie eine christliche Märtyrerin oder mit den Wundmalen von Dornenhalsbändern in der Gestalt eines weiblichen Christus dar.


Frida Kahlo: Selbstbildnis mit Dornenhalsband und Kolibri,
1940, Öl auf Leinwand, 63,5 x 49,5 cm
Nickolas Muray Collection, Harry Ransom Humanities Research Center, The University of Texas at Austin,
© Banco de México, Diego Rivera & Frida Kahlo Museums Trust, México, VG Bild-Kunst, Bonn 2010

In dem "Selbstbildnis mit Dornenhalsband und Kolibri" von 1940 entspricht auch die strenge Frontalität des Porträts dem Typus eines Heiligen- oder Christus-Bildnisses. Die Dornenkrone, das Leidenssymbol Christi, trägt sie als Halsband. Einige der Dornen stecken in ihrem Hals. Der Affe hinter ihrer rechten Schulter - eines ihrer Haustiere und ein Geschenk von Rivera - spielt mit dem Dornenzweig und vertieft mit seinen Bewegungen ihre blutenden Wunden. Der am Halsband befestigte tote Kolibri, der in der mexikanischen Volkskunst Glück in der Liebe symbolisiert, wird von ihr wie ein Amulett getragen. Er wird von der schwarzen Katze, Symbol des Bösen, sprungbereit fixiert. Das Bild ist ein Gleichnis für die seelischen Verletzungen, die Frida durch die Untreue Riveras und die Scheidung von ihm ertragen musste. Es verkörpert aber auch die nie endende Hoffnung auf ihre gemeinsame Liebe, die immer gefährdet war. Kahlo erscheint durch ihr weißes Gewand rein und unschuldig. Dennoch wissen wir, dass sie sich durch zahlreiche eigene Liebesaffären an Rivera rächte. Schutz bot ihr die üppige und über alles geliebte Natur ihrer Heimat, symbolisiert durch die detailliert gemalten aufrecht stehenden Blätter tropischer Pflanzen im Hintergrund des Bildes. Die filigranen Schmetterlings-Broschen in ihrem Haar, die sie tatsächlich besaß, und die beiden merkwürdigen rechts und links davon fliegenden Mischwesen aus abgebrochenen Blüten mit Libellen-Flügeln können als künftige reine Liebe in einer besseren, jenseitigen Welt gedeutet werden.