November 10, 2010

Thomas Schütte

Axel Feuss:
EXHIBITION REVIEW: THOMAS SCHÜTTE,
BIG BUILDINGS - MODELLE UND ANSICHTEN
JULY 15 - NOVEMBER 1, 2010
KUNST- UND AUSSTELLUNGSHALLE DER BUNDESREPUBLIK DEUTSCHLAND, BONN















in: Fine Art Magazine, Vol. 7, No. 73, Chiang Mai/Bangkok,
November 2010
(for German please scroll down)

นิทรรศการรวบรวมผลงาน Thomas Schütte (โทมัส ชุทเท่)

เขียน: Dr. Axel Feuss   แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ

ไม่มีหนังสือประวัติศาสตร์ศิลป์สากลเล่มใดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (1) ที่ยังไม่เคยเอ่ยนามของ Thomas Schütte (โทมัส ชุทเท่) ประติมากรชาวเยอรมันมาก่อน ผลงานส่วนใหญ่ที่ Schütte แสดงนิทรรศ การตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มักเป็นศิลปะเชิงสถาปัตยกรรม ซึ่งไม่ใช่ผลงานสถาปัตยกรรมชนิดที่มีแนวคิดบุกเบิกทิศทางของสถาปัตยกรรมในอนาคต หากแต่เป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อวิจารณ์สภาพของสังคม

Thomas Schütte ค.ศ. 2010 ภาพถ่าย: David Ertl, Köln
© Bundeskunsthalle, Bonn

หลังกระแส Fluxus Happening และ การแสดงกิจกรรมต่างๆทางศิลปะ ในคริสต์ทศวรรษที่ 60 และ 70 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา เริ่มมีศิลปินทั่วโลกหลายท่านสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเชิงสถาปัตย กรรม ซึ่งผู้ชมสามารถเดินเข้าชมภายในได้ และสถาปัตยกรรมที่ผนังห้อง บันไดบ้าน หรือเครื่องเรือนถูกทำลาย รวมทั้งสถาปัตยกรรมที่ดูคล้ายมีการเสริมแต่งด้านบนของอาคาร ผลงานเหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่เข้าใจ หรือเกิดความหวาดกลัว และเพื่อใช้เป็นสื่อสะท้อนการคุกคามของสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะใหญ่โตมโหฬาร หรืออาคารที่สร้างซ้อนทับกันสับสนอย่างไม่สมบูรณ์แบบ และเพื่อเป็นการต่อต้านความเย็นชาและการกีดกันในสังคม รวมทั้งการกดขี่ทางการเมือง อันเป็นภาวะที่แฝงอยู่ในการวางผังเมืองและในสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของเวลานั้น ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานของ Gordon Matta-Clark ศิลปินชาวอเมริกา Magdalena Jetelová ประติมากรหญิงชาวเช็ก Tadashi Kawamata ประติมากรและศิลปินจัดวางชาวญี่ปุ่น และ Siah Armajani ศิลปินธรณีศิลป์ (Land Art) ชาวอิหร่าน

ในสมัยที่ Joseph Beuys กำลังดำเนินโครงการ “7000 Eichen” (ต้นโอ๊ค 7000 ต้น) ในระหว่างปี ค.ศ. 1982 – 1987 ณ เมือง Kassel และพยายามผลักดันแนวคิด “สังคมประติมากรรม” (Social Sculpture) สู่จิต สำนึกของสาธารณชน ทำให้การเก็บตัวอยู่อย่างสันโดษของ Thomas Schütte เพื่อสร้างผลงานจำลองขนาด เล็กขนะนั้น แทบจะดูเป็นการอุทิศตนเพื่อศิลปะทีเดียว น้อยครั้งที่เขาจะสร้างสรรค์ศิลปะเชิงสถาปัตยกรรมที่ผู้ชมสามารถเดินเข้าชมภายในได้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1987 ณ เมือง Kassel ในงานแสดง Documenta ครั้งที่ 8 เขาได้สร้างอาคารเป็นรูปทรงกระบอกไร้หน้าต่าง ซึ่งทำจากคอนกรีตฉาบด้วยปูนขาว ส่วนด้านหลังของอาคารเป็นห้องโถงทางเข้าที่มีกำแพงสูงสีเทา จัดเป็นพื้นที่สำหรับขายไอศกรีมและกาแฟแก่ผู้มาเยี่ยมชม ทางเข้านั้นจึงเป็นพื้นที่สำหรับเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างผลงานประติมากรรม อาคาร และพื้นที่สำหรับการพบปะ ด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้ชมเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า ศิลปินตั้งใจสร้างผลงานศิลปะเชิงสถาปัตยกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ชม หรือต้องการสร้างให้เป็นสื่อเพื่อสะท้อนความเย็นชาของสังคมกันแน่

ปัจจุบัน Thomas Schütte เป็นศิลปินที่มีผู้ถามถึงมากที่สุดในประเทศเยอรมนี และในวงการธุรกิจแกลเลอรี่ศิลปะทั่วโลก เขาเคยร่วมแสดงผลงานกับ Documenta ทั้งในปี ค.ศ. 1987 ค.ศ. 1992 และ ค.ศ. 1997 และได้รับรางวัลสิงห์โตทองคำ (Golden Lion)ในปี ค.ศ 2005 ในฐานะที่เป็นศิลปินเดี่ยวที่ดีเด่นที่สุดใน Venice Biennale ผลงานของ Thomas Schütte ตั้งแสดงอยู่ทั่วโลก ทั้งในพิพิธภัณฑ์และสถานที่สะสมศิลปะ นอกจากในประเทศเยอรมนีแล้วผลงานของเขายังมีอยู่ที่ Madrid, Turin, Bordeaux, Zurich, Antwerp, Rome, New York และใน Museum of Contemporary Art in Chicago ด้วยเช่นกัน ในระหว่างปี ค.ศ. 2009 ถึง 2010 ได้มีการรวบรวมแสดงผลงานของ Thomas Schütte ที่ “Haus der Kunst” ณ เมืองมิวนิค และที่ Museo Reina Sofia ณ กรุง Madrid และในระยะเวลาเดียวกัน ก็มีผลงานจำนวนกว่า 30 ชิ้น ที่จัดแสดงทั้งเดี่ยวและกลุ่มไปทั่วโลก (2) นับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน ศกนี้ มีการจัดแสดงผลงานของ Thomas Schütte ในนิทรรศการ "Big Buildings - Modelle und Ansichten" ที่หอศิลป์ “Kunst- und Ausstellungshalle der Bundesrepublik Deutschland” ณ กรุงบอนน์

Thomas Schütte เกิดในปี ค.ศ. 1954 ที่เมือง Oldenburg ในปี ค.ศ. 1973 - ค.ศ. 1981 เขาเข้าศึกษาที่ Kunstakademie Düsseldorf กับศิลปิน Fritz Schwegler (ฟริทซ์ ชเวกเลอร์) และ Gerhard Richter (แกร์ฮาร์ด ริคเตอร์) ปัจจุบัน Schütte อาศัยอยู่ที่ Düsseldorf ผลงานศิลปะเชิงสถาปัตยกรรมของ Schütte ได้เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีมุมมองแตกต่างกันหลายประการมาตั้งแต่แรก ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานรูปจำลองชื่อ "Modell für ein Museum" (รูปจำลองของพิพิธภัณฑ์) ในปี ค.ศ. 1982 รูปทรงของผลงานมีลักษณะคล้ายอนุสาวรีย์ มีหอ คอยตั้งอยู่ตรงกลางที่ดูทึบและอึดอัด อันเป็นผลงานที่สร้างขึ้นในขณะที่ผู้คนกำลังโต้แย้งกันถึงบทบาทของศิลปะและพิพิธภัณฑ์ในประเด็นที่ว่า พิพิธภัณฑ์ศิลปะควรเป็นสถานที่สำหรับให้ความรู้และข้อมูลทางศิลปะหรือประวัติศาสตร์ หรือควรมีหน้าที่เหมือนดั่งสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องรักษาศิลปะไว้เท่านั้น ส่วนหอคอยสูงในภาพลายเส้นที่มีชื่อเช่นเดียวกับผลงานรูปจำลองกลับมีสภาพคล้ายปล่องไฟเผาศพและทำให้นึกถึงแหล่งกักกัน Auschwitz อันเป็นค่านิยมของชาวเยอรมันในเวลานั้น ที่ตั้งอยู่ในระหว่าง “การไฝ่ฝันถึงความยิ่งใหญ” และ “การทำลายล้างอันมหาศาล” ในผลงาน “Haus für zwei Freunde” (บ้านสำหรับสองเกลอ) ค.ศ. 1983 เรากลับเห็นหอคอยสูงทั้งสองตั้งห่างกันขนาบห้องโถงที่มีพื้นที่หน้ากว้าง ห้องโถงนั้นคือสถานที่สำหรับพบปะกัน แต่ว่าการเป็น “เพื่อนกัน” ย่อมมีลักษณะอีกแบบหนึ่งไม่ใช่หรือ? หรือว่าการเป็น“เพื่อนกัน” ควรอยู่ห่างกันแบบนี้?

ผลงานชื่อ “Renditekiste” (กล่องผลตอบแทน) ในปี ค.ศ. 2002 สะท้อนสถาปัตยกรรมที่ไร้เอก ลักษณ์ในเมืองขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งให้ได้รับผลตอบแทนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนผลงานชิ้นที่เรียกว่า “Haus für den schüchternen Verleger” (บ้านหรือแหล่งผลิตหนังสื่อของนางอาย) มีลักษณะเหมือนห้องลี้ภัยปราศจากหน้าต่าง อาคารส่วนบนดูลอยโคลงเคลง บ้านทีอยู่ในสภาพลอยตัว สามารถตีความหมายได้ว่าไม่ยอมรับรู้ความเป็นไปของโลก ซึ่งอันที่จริงควรเป็นบ้านที่มีหน้าทีเผยแพร่วัฒนธรรมมากกว่า

Thomas Schütte: ปิตุภูมิ (Vater Staat) ค.ศ. 2010
วัสดุ: ทองสัมฤทธิ์ ขนาด 380 x 155 x 140 ซม
ภาพถ่าย: David Ertl, Köln, © Bundeskunsthalle, Bonn

ผลงานอีกประเภทหนึ่ง ที่ Thomas Schütte ใช้เป็นสื่อแสดงความคิดของตนเองไว้อย่างชัดเจนก็คือผลงานประติมากรรม ในปี ค.ศ. 1992 ผู้มาเยี่ยมชมงานแสดงศิลปะ Documenta ที่ Kassel ต้องเผชิญหน้ากับรูปปั้นขนาดเท่าคนจริงทำด้วยเซรามิค ซึ่งศิลปินตั้งไว้บนหลังคาของร้านสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง โดยตั้งชื่อผลงานนั้นว่า “Die Fremden” (คนแปลกหน้า) เพื่อชี้ให้สังคมเห็นถึงปัญหาการรังเกียจคนแปลกหน้าในประ เทศเยอรมนี และผลงานประติมากรรมขนาดเล็กชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า “United Enemies” (ศัตรูร่วมกัน) สร้าง สรรค์ขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1993 ถึง ค.ศ. 1995 เป็นรูปปั้นของชายกลุ่มหนึ่งที่มีใบหน้าบิดเบี้ยวและมีร่างกายทุพพลภาพถูกมัดติดกัน อันอาจตีความได้ว่า เป็นการวิจารณ์บรรดากลุ่มนักธุรกิจที่มีวิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบายและโลภ ส่วนผลงานชิ้นที่เป็นรูปปั้นหญิงอยู่ในท่านอน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หรือเหล็กกล้า ผลงานชุดนี้ถูกเข้าใจผิดเป็นเวลานานว่าไม่มีค่าใดสำหรับประติกรรมสมัยใหม่ แต่สิ่งที่เราเห็นนั้น คือร่างกายและใบหน้า ที่ถูกกดจนแบน ร่างกายที่ถูกบดบี้จนมีรอยย่นลึกของไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งไม่ใช่เป็นการแสดงความงามหรือความไม่งามของผู้หญิง หรือแม้แต่เป็นการบ่งลักษณะทั่วไปของผู้หญิง หากแต่เป็นการสะท้อนให้เห็นความไม่ยั่งยืนของสังขารมนุษย์อย่างชัดเจน สำหรับฝ่ายชาย Schütte ก็ได้สร้างผลงานแก้เผ็ดให้เช่นกันด้วยรูปปั้นหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และอะลูมินั่ม ชื่อ “Große Geister” (วิญญาณอันยิ่ง ใหญ่) สร้างในระหว่างปี ค.ศ. 1995 - 2004 ในรูปแบบของมนุษย์ต่างดาวหรือ “Zombie” (ศพคืนชีพ) ค.ศ. 2007 ผลงานที่แสดงใน “Big Buildings - Modelle und Ansichten” ที่กรุงบอนน์ ชื่อ “Vater Staat” (ปิตุภูมิ) ค.ศ. 2007-2010 เป็นงานประติมากรรมขนาดสูงถึงสามเมตรครึ่งหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นรูปชายแก่ที่ไร้แขนใส่เสื้อคลุมกันหนาวที่เก่ารุ่งริ่ง แขนเสื้อทั้งสองถูกผูกติดกัน ทั้งๆที่ (หรืออาจเป็นเพราะว่า...) มีรูปร่างอันสูงใหญ่แต่ก็ไม่สามารถทำหน้าที่รับผิดชอบทางด้านสังคมและปกป้องดูแลประชาชนได้อย่างเต็มที่


Thomas Schütte: บ้านพักของผู้ก่อการร้าย (Ferienhaus für Terroristen)
ค.ศ. 2009–2010
วัสดุ: ไม้และผ้า ขนาด: ประมาณ 400 ซม.
ภาพถ่าย: David Ertl, Köln, © Bundeskunsthalle, Bonn

ผลงานที่ทำให้เกิดการถกเถียงกันมากที่สุดในนิทรรศการนี้ก็คือ “Ferienhaus für Terroristen” (บ้าน พักของผู้ก่อการร้าย) สร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 2009 – 2010 ซึ่งลำพังชื่อของผลงานก็มีการตีความหมายไปต่างๆนาๆ เพราะผู้ก่อการร้ายไม่เคยมีวันพักผ่อน นอกเสียจากว่ากำลังรอการปฏิบัติการครั้งต่อไปอยู่ ซึ่งยังไม่มีใครบอกได้ว่า ใครกันแน่ที่รออยู่ในบ้านพักหลังนี้ แต่ที่แน่ๆก็คือ ในบ้านพักหลังนี้ไม่มีใครอาศัยอยู่ได้ ถึงแม้จะมีเตาผิงที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่ภายในเพื่อเน้นความเป็นบ้านพัก แต่เตานี้ย่อมถูกเผาไป ถ้ามีผู้ใช้เตานี้จริง ผู้ก่อการร้ายใดทีพำนักอยู่ภายในบ้านหลังนี้ จะเห็นโลกภายนอก อันเป็นโลกที่พวกเขาสูญเสียความเกี่ยวพันไปแล้ว ได้ก็ต่อเมื่อมองผ่านหน้าต่างที่มีผ้าม่านบางสีสรรต่างๆกั้นอยู่เท่านั้น ผู้ก่อการร้ายคือมนุษย์ที่มีมุมมองในวงจำกัด พวกเขามองโลกผ่านแว่นที่สท้อนสีสรรอันต่างจากความเป็นจริง จนกระทั้งเข้าใจว่าสภาพแวดล้อมของตนนั้นสะอาดหมดจดและพิเศษกว่าผู้อื่น “เขา”ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพวกคลั่งศาสนา กลุ่มหัวรุนแรงทางการเมือง หรือกลุ่มคลั่งการแบ่งแยกดินแดนเท่านั้น แต่ย่อมหมายถึงนายธนาคารและผู้จัดการเช่นกัน ซึ่งปกติมีฐานะสามารถพำนักพักผ่อนในบ้านพักได้ เขาเหล่านี้ได้สูญเสียสัมพันธภาพกับมนุษย์ธรรมดาทั่วไปเสียนานแล้ว ศิลปะของ Thomas Schütte จึงไม่ ใช่ผลงานที่มีรูปแบบสร้างเหมือนจริง แต่เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมใช้ความคิดวิเคราะห์การแสดง ออกของผลงานได้อย่างลึกซึ้ง

(1) เทียบจากตัวอย่าง “Art of the 20th Century” โดย Ruhrberg, Schneckenburger, Fricke, Honnef, แก้ไขเรียบเรียงโดย Ingo F. Walther, Cologne: Taschen 2005, Vol. II, p. 564-566

(2) รายชื่อนิทรรศการตั้งแต่ ค.ศ. 1980 รวมทั้งสถานที่และแกเลอรี่ที่สะสมผลงานทั่วโลก และเป็นตัวแทนของ Thomas Schütte เปิดหาดูได้จากอินเตอร์เน็ต http://www.kunstaspekte.de/ ส่วนหน้าเวบไซด์ที่สามารถดูผลงานของ Thomas Schütte และบทความเกี่ยวกับศิลปินในภาษาอังกฤษเปิดดูได้ที่ http://www.thomas-schuette.de/

 
THOMAS SCHÜTTE, BIG BUILDINGS -
MODELLE UND ANSICHTEN
15. JULI - 1. NOVEMBER 2010
KUNST- UND AUSSTELLUNGSHALLE DER BUNDESREPUBLIK DEUTSCHLAND, BONN
 
Der deutsche Bildhauer Thomas Schütte fehlt in keinem Buch über die internationale Kunstgeschichte des 20. Jahrhunderts. (1) Bereits seit etwa 1980 präsentiert er auf Ausstellungen Architekturmodelle, mit denen er nicht etwa zukunftsweisende Architekturkonzepte sondern kritische Ideen über gesellschaftliche Zustände formuliert.

Thomas Schütte, Foto: David Ertl, Köln
© Bundeskunsthalle, Bonn

Nach Fluxus, Happening und der Aktionskunst der 1960er und '70er Jahre beschäftigten sich ab 1980 international zahlreiche Künstler mit begehbaren Architekturen, aufgebrochenen Wänden, Treppen, möbelartigen Skulpturen sowie zerstörten und überbauten Gebäuden. Sie wollten Gefühle wie Verlorenheit und Angst erzeugen, vermittelten Bedrohung durch monumentale, verschachtelte oder rudimentäre Achitekturen. Sie bezogen damit auch Stellung gegen soziale Kälte, Ausgrenzung gesellschaftlicher Gruppen und politische Repressionen, wie sie in der zeitgenössischen Stadtplanung und Architektur sichtbar wurden. Der amerikanische Künstler Gordon Matta-Clark, die tschechische Bildhauerin Magdalena Jetelová, der japanische Bildhauer und Installations-Künstler Tadashi Kawamata und der im Iran geborene Land-Art-Künstler und Architekt Siah Armajani sind hier zu nennen.

In einer Zeit, in der Joseph Beuys mit seinem Projekt "7000 Eichen" in Kassel 1982-87 und mit seinem Konzept einer "sozialen Skulptur" verstärkt in den Außenraum drängte, schienen Schüttes ruhige, für das Museum konzipierte kleinformatige Architekturmodelle fast als Schritt zurück in den Elfenbeinturm der Kunst. Nur selten waren seine architektonischen Skulpturen auch begehbar. 1987 zeigte er auf der Documenta 8 in Kassel einen zylinderförmigen, fensterlosen weißen Eis-Pavillon aus Beton und weißen Putzsteinen, in dem hinter einem hohen grauen Eingangsportal Speise-Eis und Kaffee an die Besucher verkauft wurde. Das begehbare Architekturmodell füllte die Lücke zwischen Skulptur, Bauwerk und Ort der Begegnung. Der Künstler ließ jedoch im Unklaren, ob er wirklich eine Stätte des Wohlbehagens für die Besucher oder nicht tatsächlich ein Symbol der sozialen Kälte geschaffen hatte.

Heute ist Thomas Schütte der gefragteste deutsche Künstler im internationalen Ausstellungsbetrieb. 1987, 1992 und 1997 war er auf der Documenta in Kassel vertreten. 2005 wurde er auf der Biennale von Venedig als bester Einzelkünstler mit dem Goldenen Löwen ausgezeichnet. Werke von ihm befinden sich in weltweit in Museen und Sammlungen - außer in Deutschland unter anderem in Madrid, Turin, Bordeaux, Zürich, Antwerpen, Rom, New York und im Museum of Contemporary Art in Chicago. 2009 und 2010 wurden Retrospektiven im Haus der Kunst in München und im Museo Reina Sofia in Madrid gezeigt. Im gleichen Zeitraum waren Werke von ihm auf dreißig Einzel- und Gruppenausstellungen in der ganzen Welt zu sehen. (2) Die Kunst- und Ausstellungshalle der Bundesrepublik Deutschland zeigt vom 15.7. bis 1.11.2010 seine Ausstellung "Big Buildings - Modelle und Ansichten".

Schütte wurde 1954 in Oldenburg geboren. Er studierte von 1973 bis 1981 an der Kunstakademie Düsseldorf bei Fritz Schwegler und Gerhard Richter und lebt heute in Düsseldorf. Seine Architekturmodelle ließen von Anfang an zahlreiche gegensätzliche Denkmöglichkeiten offen. Sein "Modell für ein Museum" (1982) zeigt einen bedrückend denkmalartigen Bau mit einem hoch aufragenden mittleren Pylon, und das in einer Zeit in der man die Rolle des Museums zwischen "Lernort" und "Musentempel" diskutierte. Doch in großen Zeichnungen mit dem gleichen Titel verwandelte sich der mittlere Pylon in die Öfen eines Krematoriums und erinnerte damit an das Konzentrationslager in Auschwitz - deutsche Kultur zwischen monumentalen Anspruch und Massenvernichtung. Sein "Haus für zwei Freunde" (1983) zeigt zwei weit entfernte spiegelverkehrte Türme, zwischen denen sich eine breite Halle für gemeinsame Aktivitäten erstreckt. Freundschaft sieht anders aus - oder doch genau so? Sein Modell "Renditekiste" (2002) zeigt eine jener gesichtslosen Architekturen unserer Großstädte, die nur gebaut wurden, um eine möglichst hohe Rendite zu erzielen, sein "Haus für den schüchternen Verleger" einen schwebenden fensterlosen Bunker, der die Weltferne eines Menschen symbolisiert, der eigentlich für eine weltoffene Verbreitung der Kultur zuständig wäre.

Vater Staat, 2010, Bronze, 380 x 155 x 140 cm
Foto: David Ertl, Köln
© Bundeskunsthalle, Bonn

In seinen Skulpturen wurde Schütte noch deutlicher. 1992 konfrontierte er die Besucher der Documenta in Kassel mit einer Gruppe von elf lebensgroßen Keramikfiguren, die er auf dem Dach eines Kaufhauses positionierte und die unter dem Titel "Die Fremden" auf die Fremdenfeindlichkeit in Deutschland aufmerksam machte. Eine Gruppe kleinformatiger Figuren mit dem Titel "United Enemies" (1993-1995) zeigt miteinander verschnürte Männer mit groben, verzerrten Gesichtern und krüppelhaften Körpern, die als bitterer Kommentar auf die Machenschaften gieriger Manager gedeutet werden können. Seine umfangreiche Gruppe überlebensgroßer liegender Frauen aus Bronze oder Stahl wurde lange als wertfreier Beitrag zur modernen Skulptur missgedeutet. Was wir sehen, sind jedoch plattgedrückte Körper und Gesichter, aufgebrochene Leiber, tiefe Furchen zwischen Fettpolstern, die nicht das Schöne oder das Hässliche und schon gar nicht das typisch Weibliche darstellen, sondern die Vergänglichkeit des Menschlichen auf drastische Weise widerspiegeln. Bei den Männern revanchiert sich Schütte mit überlebensgroßen Skulpturen aus Bronze und Aluminium, die "Große Geister" (1995-2004) in Gestalt von Außerirdischen oder "Zombies" (2007) personifizieren. In der aktuellen Ausstellung in Bonn ist "Vater Staat" (2007-2010) als dreieinhalb Meter hohe Bronzefigur in Gestalt eines greisen Mannes ohne Arme, mit abgetragenem Mantel und mit zusammengeschnürten Ärmeln zu sehen, der trotz (oder gerade wegen) seiner monumentalen Größe seiner beschützenden und sozialen Funktion nicht mehr gerecht werden kann.


Ferienhaus für Terroristen, 2009–2010, Holz, Stoff,
Höhe: ca. 400 cm, Foto: David Ertl, Köln
© Bundeskunsthalle, Bonn

Meist diskutiertes Objekt der Ausstellung ist Schüttes "Ferienhaus für Terroristen" (2009-2010), dessen Titel zu zahlreichen Deutungen Anlass gibt. Terroristen machen keine Ferien, es sei denn, sie warten auf ihren nächsten Einsatz. Wer hier darauf wartet, den nächsten Terrorakt zu begehen, bleibt unklar. Wohnen kann man in dem Ferienhaus jedenfalls nicht. Der aus Holz konstruierte Kamin, der bei Benutzung aufbrennen würde, unterstreicht den Charakter eines Architekturmodells, das zugleich Denkmodell ist. Wer sich als Terrorist im Ferienhaus aufhält, sieht durch verschiedenfarbige Fenster in eine Welt, zu der er die Verbindung verloren hat. Terroristen sind Menschen mit einem begrenzten Gesichtskreis, die in ihrer abgeschiedenen und sterilen Umgebung die Welt durch andersfarbige Brillen sehen. Es sind nicht nur religiöse Fanatiker, politische Extremisten und Separatisten, sondern auch Banker und Manager, also Menschen, die sich normalerweise in Ferienhäusern aufhalten und die die Verbindung zur Gesellschaft schon lange verloren haben. Schüttes Kunst bildet die Wirklichkeit nicht ab; sie eröffnet Denkmöglichkeiten und gibt Anlass zu tiefgreifenden Analysen.

(1) Vgl. zum Beispiel Ruhrberg, Schneckenburger, Fricke, Honnef: Art of the 20th Century, edited by Ingo F. Walther, Cologne: Taschen 2005, Vol. II, p. 564-566

(2) Eine Liste der Ausstellungen seit 1980 sowie der internationalen Sammlungen und Galerien, in denen Schütte vertreten ist, findet man auf der Webseite http://www.kunstaspekte.de/ Die englischsprachige Webseite des Künstlers mit einer Werkübersicht und einem Literaturverzeichnis lautet http://www.thomas-schuette.de/