July 16, 2011

Gilbert & George

Axel Feuss:
GILBERT & GEORGE














 











in: Fine Art Magazine, Vol. 8, No.79, Chiang Mai/Bangkok, May 2011, p. 26-29
(for German please scroll down)

Gilbert & George (กิลเบอร์ท และ จอร์จ)

Text: Dr. Axel Feuss แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ

เรื่องราวของศิลปินทั้งสองนั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่ ขณะที่ทั้งสองยังอยู่ห่างไกลกันคนละมุมโลกของยุโรป ท่ามกลางความอลหม่านของสงครามโลกครั้งที่สอง กิลเบอร์ทเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1943 ในนามของ Gilbert Proesch ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทางเหนือของประเทศอิตาลี ใกล้เทือกเขาโดโลไมทส์ (Dolomites) ส่วน จอร์จ เกิดในปี ค.ศ. 1942 ในนามของ George Passmore ณ เมืองท่าของนครพลิมัธ (Plymouth) แห่งประเทศอังกฤษตอนใต้ ศิลปินทั้งสองเติบโตในครอบครัวที่ค่อนข้างยากไร้ บิดาของกิลเบอร์ท มีอาชีพเป็นช่างทำรองเท้า และทำมาหาเลี้ยงชีพได้แค่พอที่จะประทังชีวิตครอบครัวไปวันๆเท่า นั้น ส่วนจอร์จและน้องชายเติบโตขึ้นในครอบครัวที่แตกแยกกัน และปราศจากพ่อ หลังจากที่มารดาให้กำเนิดจอร์จได้ไม่นาน เธอและลูกทั้งสองก็จำต้องอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ที่ โททเนส (Totnes) เมืองเล็กๆแห่งหนึ่ง เพื่อลี้ภัยระเบิดของเยอรมัน ที่คอยโจมตีเมืองท่าของนครพลิมัธ (Plymouth) อยู่ขนะนั้น

ทักษะด้านสร้างสรรค์ของกิลเบอร์ทได้รับการสนับสนุนมาตั้งแต่เด็ก ขณะที่เขามีอายุได้เพียง 14 ปีก็ได้รับการ ศึก ษาจากสถาบันศิลปะแห่งเมืองมิวนิคเป็นเวลา 6 ปี ส่วนจอร์จเลิกเรียนหนังสือมาตั้งแต่มีอายุได้เพียง 15 ปี ซึ่งต่อมาเขาก็ได้แหล่งทำงานกับร้านขายหนังสือและเครื่องเขียนแห่งหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็เรียนหนังสือตอนกลางคืน หลังจากนั้นเพียง 5 ปี จึงเปลี่ยนไปศึกษาศิลปะที่เมือง Oxford และในที่สุดเข้าศึกษาแผนกประติมากรรมในปี ค.ศ. 1965 ที่ St. Martin’s School of Art แห่งกรุงลอนดอน โดยครูท่านหนึ่งเป็นผู้ติดต่อสถานศึกษานี้ให้ ซึ่งในระยะนั้นเป็นช่วงที่วงดนตรี Beatles และ The Rolling Stones กำลังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ทั่วโลก และทำให้ทุกคนต่างหันมาสนใจความเคลื่อนไหวในกรุงลอนดอน ลอนดอนจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่ง "ความรักอิสระ" ที่นั่น กิลเบอร์ทก็ปรารถนาที่จะไปเยี่ยมเยือนเช่นกัน และเข้าศึกษาศิลปะที่ St. Martin’s School of Art ในปี ค.ศ.1967 ณ ที่นั้นเขาจึงพบกับจอร์จ

ภายใต้การศึกษาศิลปะกับ แอนโธนี คาโร (Anthony Caro) ประติมากรมที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง กิลเบอร์ทกับจอร์จ จำต้องตั้งอกตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานแบบแนวคิด ค้นหารูปทรงประติมากรรมเชิงนามธรรม โดยใช้วัสดุและสีให้มีความ สัมพันธ์กับรูปทรง ปริมาตร และพื้นที่ ทั้งๆที่ ศิลปินทั้งสองได้ออกมายอมรับภายหลังว่า อันที่จริง สิ่งที่เขาทั้งสองสนใจในเวลานั้นก็คือ ความ รู้สึก อารมณ์และความสัมพันธ์ทางเพศ อันเป็นข้อต้องห้ามสำหรับสถาบันที่ศึกษาในเวลานั้น ในปี ค.ศ. 1969 ถึงแม้กิลเบอร์ทกับจอร์จไม่ได้รับเชิญร่วมแสดงนิทรรศการ "When Attitude becomes Form" ซึ่งจัดโดย Harald Szeemann แต่ศิลปินทั้งสองก็ไปในวันเปิดนิทรรศการนี้ในฐานะของ "รูปประติมากรรมมีชีวิต" ("Living Sculptures") โดยใช้สีโลหะทาที่ใบหน้า ลำคอ และมือ อีกทั้งยังยืนเหมือนหุ่นนิ่งเป็นชัวโมงกลางห้องแสดงนิทรรศการ (1) ด้วยวิธีนี้เขาทั้งสองจึงไม่เพียงสามารถช่วงชิงความสนใจของผู้ชมที่มีต่อผลงานของศิลปินอื่นเท่านั้น หากยังได้มีโอกาสพบปะกับเจ้าของแกเลอรี่ที่สำคัญที่สุดผู้หนึ่งในประเทศเยอรมันนีขณะนั้น คือ คอนราด ฟิเชอร์ (Konrad Fischer) แห่งเมือง Düsseldorf เขาผู้นี้เองที่เป็นผู้แนะนำ กิลเบอร์ทกับจอร์จ แก่หอศิลป์และสถาบันศิลปะต่างๆในประเทศเยอรมันนี และยังติดต่อให้ศิลปินทั้งสองไปแสดงสด (Performance) "รูปประติมากรรมร้องเพลง" ("Singing Sculpture") ในปี ค.ศ. 1970 ณ หอศิลป์แห่งเมือง Düsseldorf ด้วย ในการแสดงสดครั้งนั้น กิลเบอร์ทและจอร์จ ปรากฏตัวด้วยการแต่งชุดสูทแบบนักธุรกิจชาวอังกฤษ และทาสีโลหะบนร่างกายเช่นกัน แต่จะต่างจากเดิมก็ตรงที่ มีการเต้นตามจังหวะเพลง "Underneath the Arches" (2) ของ Flanagan และ Allen (Bud Flanagan [1896-1968] และ Chesney Allen [1893-1982]) บนโต๊ะทุกวัน วันละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลายาวนานถึงหนึ่งอาทิตย์

ถึงกระนั้น ศิลปินทั้งสองยังคงยืนกรานมาตลอดว่า "รูปประติมากรรมมีชีวิต" ("Living Sculpture") นั้น ไม่ใช่การแสดงสด (Performance) แต่นั่นคือชีวิตอันแท้จริงของพวกเขา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กิลเบอร์ทและจอร์จ ก็เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งภายหลังเขาทั้งสองก็เลิกทาสีโลหะบนลำตัว แต่ยังแต่งชุดสูทแบบนักธุระกิจชาวอังกฤษ ปรากฏตัวไปตามเมืองต่างๆทั่วโลก ด้วยท่าทีอันสุขุม สุภาพ มั่นคง แต่กลับไม่แสดงสีหน้าใดๆ และกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปินทั้งสองในเวลาต่อมา และถึงแม้กิลเบอร์จกับจอร์จจะเคยเล่าถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว จากการให้สัมภาษในปี ค.ศ. 2002 ไว้ว่า เขาทั้งสอง "เริ่มรักกันมาตั้งแต่เห็นหน้ากันเป็นครั้งแรก" (3) แต่เนื่องจากพฤติกรรมที่เย็นชาต่อกัน เมื่อปรากฏตัวไปทุกสถานที่ จึงทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อว่าเขาทั้งสองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมาตลอด และเข้าใจว่าศิลปินทั้งสองกำลังแสดงละคร เพื่อเป็นการโฆษณาให้คนสนใจเท่านั้น เนื่องจากเวลาผ่านไปนานถึง 40 ปี ประกอบกับภาพยนต์สารคดี เกี่ยวกับประวัติชีวิตจริงในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเขาทั้งสองได้จัดแสดงไปเมื่อเร็วๆนี้ จึงไม่มีใครเคลือบแคลงใจต่อไปว่า เขาทั้งสองได้ใช้ชีวิตร่วมกันจริงหรือไม่ ซึ่งแม้ว่าการใช้ชีวิตคู่ของกิลเบอร์ทกับจอร์จนั้นดูจะเป็นเรื่องอื้อฉาวที่สุดในยุโรป แต่ขณะเดียวกันทั้งสองก็สา มารถแสดงบทบาทของสุภาพบุรุษอังกฤษได้สมบูรณ์ที่สุดเช่นกัน เพราะทั้งสองไม่เคยเอ่ยถึงความสัมพันธ์ทางเพศส่วนตัวเลยแม้แต่ครั้งเดียว นอกจากจะแสดงสดเป็น "รูปประติมากรรมมีชีวิต" บนเวทีของศิลปะร่วมสมัยเท่านั้น

Gilbert & George: Cancan จากผลงานชุด „Jack Freak Pictures“, 2008. 226 x 190 cm. © Gilbert & George

Gilbert & George: Streetparty. จากผลงานชุด „Jack Freak Pictures“, 2008. 381 x 604 cm. © Gilbert & George

ตั้งแต่สมัยที่กิลเบอร์ทกับจอร์จกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา เขาทั้งสองก็อาศัยอยู่ในบ้านเก่าแก่หลังหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตุ สไปทอลฟิลส์ (Spitalfield) แถบอิสต์เอนด์ (East End) ของกรุงลอนดอน ซึ่งต่อมาศิลปินทั้งสองก็ได้ซื้อบ้านหลังนี้ ทำการซ่อมแซมปรับปรุงและอนุรักษ์ให้เป็นไปตามสภาพเดิมอย่างสมบูรณ์ทุกประการ ที่อยู่อาศัยของเขาอยู่ในถิ่นที่มีประวัติเก่าแก่ เต็มไปด้วยชาวต่างชาติ และผู้อพยพลี้ภัยจากทุกสารทิศของโลก ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 คือ ชาวปากีสถาน (Pakistan) แถบนี้จึงเต็มไปด้วยผู้คนที่ยากจน เสพสุราและใช้ชีวิตนอกกรอบ เนื่องจากศิลปินทั้งสองสร้างสรรค์ผลงานเชิงประติมากรรมมาตลอด และไม่เคยศึกษาทางด้านจิตรกรรม เทคนิคการสร้างสรรค์ของเขาต่อมาก็คือ "ภาพถ่าย" พวกเขาทั้งสองมักจะสำรวจและถ่ายภาพตามบริเวณถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ อันเต็มไปด้วยชีวิตที่ลำบากแร้นแค้น และการทำลาย จากภาพถ่ายหมื่นภาพ พวกเขาจะเลือกภาพบางส่วนออก และขยายอัดบนกระดาษภาพถ่ายที่หาได้ใหญ่ที่สุด คือขนาด 50 x 60 ซ.ม. จากนั้นจึงนำภาพขยายเหล่านั้นมาติดบนกระดาษแข็งชนิดพิเศษ และประกอบบนกรอบโลหะสีดำให้กลายเป็นภาพลานตาเหมือนฉากขนาดใหญ่ที่ติดบนผนังห้อง ศิลปินทั้งสองยังคงสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีนี้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงตราบจนทุกวันนี้ ผลงานสร้างสรรค์ของกิลเบอร์ทกับจอร์จจึงมีลักษณะเป็นภาพเชิงคาเลโดสโคป (kaleidoscope) หรือภาพปะติดเป็นลวดลายรูปทรงเรขาคณิต ประกอบบนผนังมานานกว่า 30 ปี ผลงานเหล่านี้มีลักษณะเหมือนภาพขยายใกล้ บ้างก็สร้างภาพแบบเนกาทีฟ (ภาพถ่ายอัดบนกระดาษคือภาพโพสิทีฟ บนฟิล์มคือภาพเนกาทีฟ) ซึ่งแฝงไปด้วยสาระแห่งชีวิต และนำมาซ้อนกันหลายชั้นจนนับไม่ถ้วน ก่อนที่จะนำภาพที่พิมพ์ด้วยเทคนิคอันซับซ้อน มาประ กอบในกรอบตาข่ายขนาดใหญ่ที่เตรียมติดตั้งบนผนังไว้ในที่สุด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา พวกเขากลับนำภาพตัดต่อเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งก็มีจำนวนถึงเจ็ดหมื่นภาพ แต่ละภาพจะมีสาระตามหัวข้อของนิทรรศการ และใช้คอมพิวเตอร์ตัดต่อเปลี่ยนแปลงให้มีลักษณะเป็นลวดลายเชิงภาพลานตาแบบคาเลโดสโคป (kaleidoscope) ภาพพิมพ์ที่นำมาประกอบเป็นฉากบนผนังเหล่านี้ คาดว่าใช้เทคนิคการพิมพ์ในรูปแบบของ C-Prints (chromagenic color prints)

สาระของผลงาน ซึ่งศิลปินทั้งสองนำเสนอมาแต่แรกมักเน้นสิ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ช็อค (shock) เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เขาทั้งสองได้ถ่ายภาพชายหนุ่มที่แสดงท่าทางอันดึงดูดสายตา ในท่ามกลางดอกไม้ที่ถ่ายในระยะใกล้ และกลีบดอกกำลังแตกสะพรั่ง ภาพเหล่านี้ทำให้ศิลปินทั้งสองถูกกล่าวหาว่า ทำแต่ศิลปะแสดงกามกิจร่วมเพศ ภาพของเด็กหนุ่มทำให้เขาทั้งสองเหมือนมีแนวโน้มรักร่วมเพศกับเด็ก (pedophilia) หลังจากที่เด็กหนุ่มนายแบบส่วนใหญ่ เสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์ ประกอบกับศิลปินทั้งสองไม่อาจรับผิดชอบต่อการแสดงออกด้านการรักร่วมเพศของตนได้อีกต่อไป ทำให้เขาทั้งสองจำต้องหยุดโครงการสร้างสรรค์รูปแบบนี้ และแล้ว ในปี ค.ศ. 1994 กิลเบอร์ทและจอร์จ จึงแสดงผลงานชุดใหม่ "The Naked Shit Pictures" โดยที่เขาทั้งสอง ซึ่งเวลานั้นต่างก็อยู่ในวัยที่เสน่ห์วายลงนานแล้ว ยืนล่อนจ้อนและหัน "ส่วนที่ดีที่สุด" ไปยังทิศทางผู้ชม ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ผู้ชมจะเห็นกองอุจจาระก้อนสูงเท่าคน ซึ่งศิลปินทั้งสองต้องการทำให้เป็นสัญลักษณะของโลกจุลนินทรีย์อันมหัศจรรย์ ที่ประกอบด้วยหยดเลือด น้ำปัสสาวะ และน้ำตา แต่นี่ยังเป็นแค่ผลงานที่ไม่ถึงขั้นกับกล่าวได้ว่า เขาทั้งสองตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อช็อคผู้ชม เขาเพียงแต่ต้องการแสดงภาพชีวิตจริงของมนุษย์อย่างไม่ปราณีปราศัย เพื่อให้เป็น "ศิลปะสำหรับทุกคน" ที่ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เข้าใจเรื่องของสังคมและการเมืองทั้งหมดได้ถ้วนหน้า กิลเบอร์ทและจอร์จเคยให้เหตุผลว่า "ก้น" ที่เปลือยเปล่าล่อนจ้อน ก็คือส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ที่บอกอัตลักษณะของเจ้าของได้เช่นเดียวกับหน้าตา เขาเคยกล่าวจากการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า "ศิลปะของพวกเรา นับวันก็จะเป็นประชาธิป ไตยมากขึ้น เราไม่เห็นด้วยกับศิลปินบางคน ที่พูดว่า `ผมสร้างผลงานแบบนี้ เพระผมเห็นว่าสวยดี ถ้ามีคนเข้าใจ ก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่เขาใจก็โชคไม่ดีเอง ช่วยอะไรไม่ได้´ ซึ่งพวกเราเห็นว่า การแสดงความคิดออกมาเช่นนั้นเป็นการเห็นแก่ตัว น้ำเน่า และไม่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ [..] ศิลปินควรมีจิตสำนึกรับผิดชอบและหน้าที่สำหรับขบวนการเคลื่อนไหวของวัฒนธรรมในอนาคตด้วย" (4)

Gilbert & George: War Dance. จากผลงานชุด „Jack Freak Pictures“, 2008. 151 x 190 cm. © Gilbert & George

เป็นเวลากว่า 20 ปี มาแล้วที่ "British Council" ปฏิเสธให้ความช่วยเหลือโครงการต่างประเทศของ กิลเบอร์ทและจอร์จ นั่นเป็นเพราะความละอายใจต่อสาระที่เห็นได้ชัดในผลงานของศิลปินทั้งสอง และเข้าใจว่าเป็นเรื่องสกปรก ไม่เพียงเท่านั้น "British Council" ยังพยายามขัดขวางนิทรรศการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของพวกเขา ที่จัดแสดงที่กรุงมอสโก (Moscow) ในปี ค.ศ. 1990 ท้ายสุดศิลปินทั้งสองเพิ่งจะได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตอังกฤษ ในวันเปิดงานนิทรรศการ ณ หอศิลป์แห่งชาติ ที่กรุงปักกิ่งในปี ค.ศ.1993 ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในปี ค.ศ. 2005 "British Council" ได้เชิญให้ กิลเบอร์ทกับจอร์จ เป็นตัวแทนสำหรับประเทศอังกฤษ ในงานมหกรรมศิลปะแห่งเวนิซเบียนนาเล่ ประจำปี ค.ศ.2007 ทั้งสองเป็นศิลปินอังกฤษคู่แรกที่มีโอกาสแสดงนิทรรศครั้งยิ่งใหญ่สุดที่เขาทั้งสองเคยแสดงมา ณ หอศิลป์ Tate Modern แห่งกรุงลอนดอน จากนั้นก็ที่เมืองมิวนิค เมืองตูริน และที่สหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง เวลานั้นทั้งสองได้สร้างสรรค์ผลงานไว้เกินกว่าพันชิ้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ศิลปินทั้งสองได้รับการสนับสนุนจาก "British Council" ให้ออกตระเวนแสดงนิทรรศการไปทั่วทวีปยุโรป ด้วยผลงานชุด "Jack Freak Pictures" ที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 จำนวน 153 ชิ้น ซึ่งเป็นผลงานที่ใหญ่ที่สุดที่ศิลปินเคยสร้างมา หลังจากนิทรรศการที่ "Centre of Fine Art" ณ กรุงบรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียมแล้ว ก็ต่อด้วยการแสดงที่หอศิลป์ "Deichtorhallen" ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม ศกนี้ ณ เมืองแฮมเบอร์ก (Hamburg) จากเดือนกรกฏาคม ถึง ตุลาคม จัดแสดงที่หอศิลป์ "Lentos Kunstmuseum" แห่งนครลินซ์ (Linz) ประเทศออสเตรีย (Austria) และท้ายสุด ที่หอศิลป์ "Laznia Centre for Contempory Art" แห่งเมืองกดัญสก์ (Gdansk) หรือชื่อเดิมดันซิก ประเทศโปแลนด์ (Poland)

Gilbert & George: Britainers. จากผลงานชุด „Jack Freak Pictures“, 2008. 254 x 302 cm. © Gilbert & George

Gilbert & George: Brits. จากผลงานชุด „Jack Freak Pictures“, 2008. 226 x 190 cm. © Gilbert & George

สาระของผลงานชุดนี้คือธงชาติ "Union Jack" ของประเทศอังกฤษ ซึ่งเขาทั้งสองทำให้มีลักษณะเป็นภาพลานตา เหมือนภาพในกล้องคาเลโดสโคป (kaleidoscope)เช่นเดิม ส่วนใหญ่ทำเป็นลวดลาย ตัดต่อและวางกระจายบนภาพ รูปของศิลปินทั้งสองจะปรากฏในผลงานทุกชิ้น บางภาพทั้งสองสวมชุดสูทมีลวดลายและสีอันฉูดฉาดดูพิสดารแสดงท่าเต้น บางภาพก็ปรากฏแต่ส่วนตาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ผลงานบางชิ้นก็ทำให้มีใบหน้าบิดเบี้ยวไปทุกทิศทาง และจัดวางให้เป็นลวดลายแบบภาพลานตา นอกจากนี้แล้วทั้งสองยังใช้เหรียญ เครื่องราง (amulet) ต้นไม้ ถนน ผังเมืองของแถบ East End เป็นองค์ประกอบ ซึ่งล้วนแล้วแต่สท้อนสาระของสังคมและการเมือง แสดงให้เห็นชีวิตอันหลากหลาย เฉกเช่นสังคมของชาวอังกฤษ โดยใช้ความลานตาแบบภาพคาเลโดสโคป (kaleidoscope) เป็นสื่อ อันจะเห็นได้จากผลงาน "Bleeding Medals" "Christian England" "Briticism" "War Dance" ร่างกายของศิลปินเองถูกดัดแปลงให้กลายเป็นอมนุษย์ ที่ปรากฏตัวทั้งในฐานะของศาสดาและอสูรกาย สท้อนสังคมที่เจ็บระบม และตกสะเก็ด ทั้งในอดีตและอนาคต

ภาพที่พิมพ์ในสูจิบัตรจะแสดงแต่ผลงานขนาดใหญ่ ผู้ใดที่สนใจบทความเขียนเกี่ยวกับผลงานของกิลเบอร์ทและจอร์จ สามารถหาอ่านได้จากสูจิบัตรฉบับที่ศิลปินทั้งสองแสดง ณ หอศิลป์ "Tate Modern" เมื่อปี ค.ศ. 2007 ผลงานที่น่าสนใจยิ่งอีกชิ้นหนึ่งคือ ภาพยนต์สารคดี "With Gilbert + George" จากปี ค.ศ. 2009 จัดทำโดย จูเลียน โคล (Julian Cole) ซึ่งร่วมแสดงในนิทรรศการนี้เช่นกัน สารคดีนี้หาซื้อได้ในรูปแบบแผ่นใส DVD (5) จูเลียน โคล รู้จักกับ กิลเบอร์ทและจอร์จ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เมื่อตอนที่เขาเป็นนายแบบให้เขาทั้งสอง ภาพยนตร์สารคดีของโคล ได้มีการถ่ายทำเป็นระยะเวลายาวนานรวมทั้งสิ้นเกือบยี่สิบปี และจัดได้ว่าเป็นผลงานศิลปะแบบภาพเคลื่อนไหวที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ที่ศิลปินหัวก้าวหน้าของศิลปะร่วมสมัยได้เคยทำมา

(1) ข้อสังเกต: ในสมัยนั้นยังไม่มีใครแสดงสดแบบยืนนิ่ง และทาลำตัวด้วยสีเงินหรือทองให้ดูเหมือนเป็น"รูปประติมากรรมมีชิวิต" ดังที่เราเห็นมีผู้แสดงกันทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน

(2) Gilbert และ George เคยกล่าวไว้ว่า "อย่าคิดอะไรมากเด็ดขาด" ตอนให้สัมภาษณ์ ในนิตยสารศิลปะ "อาร์ต" โดย Sandra Bartoli และ Kito Nedo ณ เบอร์ลิน ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ดูได้ที่:
http://www.art-magazin.de/kunst/19601/gilbert_george_interview

(3) The Daily Telegraph, London, 28.5.2002, ดูได้ที่
http://www.arttattler.com/archivegilbertandgeorge.html

(4) KünstlerInnen : 50 Gespräche, สัมภาษณ์โดย Wolf Jahn ณ กรุงเวียนนา ค.ศ. 1992, หน้า 89, Verlag der Buchhandlung Walther König, Köln 1997

(5) Julian Cole: With Gilbert + George, DVD, Edition Salzgeber, http://www.salzgeber.de/ , 104 นาที, บรรยายทั้งภาษาอังกฤษและเยอรมัน เบอร์สั่งซื้อ D 236


GILBERT & GEORGE

Ihre Geschichte begann an weit von einander entfernten Orten Europas, mitten in den Wirren des Zweiten Weltkriegs. Gilbert wurde 1943 als Gilbert Proesch in einem Dorf in den norditalienischen Dolomiten geboren, George 1942 als George Passmore in der Hafenstadt Plymouth im Süden Englands. Beide wurden in ärmlichen Verhältnissen groß. Gilberts Vater war Schuster und tauschte die angefertigten Schuhe gegen Lebensmittel für seine Familie. George und sein Bruder wuchsen ohne Vater auf. Die Mutter war geschieden, und bald nach seiner Geburt wurden sie wegen der deutschen Bombenangriffe auf Plymouth in die kleine Stadt Totnes evakuiert. Gilbert’s kreative Fähigkeiten wurden früh gefördert. Schon im Alter von 14 Jahren ging er an die Münchner Akademie und studierte dort für sechs Jahre. George verließ mit 15 Jahren die Schule und fand eine Arbeit in einem Buch- und Schreibwarenladen. Er besuchte Abendkurse, und nach fünf Jahren wechselte er auf eine Kunstschule in Oxford. Schließlich ging er durch die Vermittlung eines Lehrers nach London und begann 1965, an der Abteilung für Skulptur der St. Martin’s School of Art zu studieren. Zu dieser Zeit schaute ganz Europa nach London. Es war die Zeit der Beatles und der Rolling Stones, und London galt als die Stadt der „freien Liebe“. Dort wollte Gilbert hin. 1967 wurde er auf der St. Martin’s School of Art angenommen und traf George.

Die Ausbildung dort unter Anthony Caro konzentrierte sich auf konzeptuelle und formale Fragen abstrakter Skulptur, auf die angemessene Verwendung von Materialien und Farben, auf die Beziehungen von Maßen, Formen und Raum. Alles was sie eigentlich interessierte, sagten Gilbert & George später, Empfindungen, Emotionen, Gefühle und Sexualität, waren an der Schule tabu. Als sie 1969 wider Erwarten zu der von Harald Szeemann initiierten Ausstellung „When Attitude becomes Form“, die in London gastierte, nicht mit ihren Arbeiten eingeladen wurden, ging sie als „lebende Skulpturen“ („Living Sculptures“) zur Eröffnung der Ausstellung. Sie hatten Gesicht, Hals und Hände mit Metallfarbe bemalt und verharrten stundenlang regunglos in der Mitte des Raumes. (1) Sie stahlen nicht nur allen anderen Künstlern die Show, sondern trafen mit dem aus Düsseldorf angereisten Konrad Fischer auch den wichtigsten Galeristen der Zeit. Er vermittelte Gilbert & George an deutsche Galerien und Kunstvereine und sorgte dafür, dass sie mit ihrem Auftritt als „Singing Sculpture“ 1970 an die Düsseldorfer Kunsthalle eingeladen wurden. Mit Metallfarbe bemalt und in englische Business-Anzüge gekleidet tanzten sie eine Woche lang täglich acht Stunden auf einem Tisch zu einer Schallplattenaufnahme von Flanagan and Allen's Song „Underneath the Arches“. (2)

Seitdem bestanden sie darauf, dass diese Aufführungen keine Performances waren, sondern dass sie selbst und ihr ganzes Leben als „Living Sculpture“ zu verstehen sei. Sie wurden damit weltberühmt. Auf die Metallfarbe verzichteten sie fortan, aber ihre Business-Anzüge, die gemessenen Bewegungen, mit denen sie durch die Städte der Welt schreiten, und ihre unbewegten Gesichter wurden zu ihrem Markenzeichen. Obwohl sie 2002 in einem Interview zu ihrer persönlichen Beziehung sagten, es seit „Liebe auf den ersten Blick“ gewesen, (3) bezweifelte man wegen ihres distanzierten Benehmens, dass sie überhaupt ein Paar sein könnten und hielt ihr Auftreten für einen über Jahre gespielten Werbegag. Nach vierzig Jahren und einem jüngst erschienenen Dokumentarfilm, der Originalaufnahmen von ihren Projekten und aus ihrem Privatleben der letzten 25 Jahre zeigt, kann heute aber kein Zweifel mehr daran bestehen, dass Gilbert & George wirklich untrennbar „Gilbert and George“ sind, dass sie als zwei der skandalträchtigsten europäischen Künstler zugleich perfekte „Englische Gentlemen“ darstellen, die über ihre sexuelle Beziehung niemals sprechen, und dass sie als „Living Sculpture“ eine Ausnahmeerscheinung in der zeitgenössischen Kunst verkörpern.

Gilbert & George: Cancan. Aus der Serie „Jack Freak Pictures“, 2008. 226 x 190 cm. © Gilbert & George

Gilbert & George: Streetparty. Aus der Serie „Jack Freak Pictures“, 2008. 381 x 604 cm. © Gilbert & George

Seit ihrem Studium leben Gilbert & George im Stadtteil Spitalfield im Londoner East End in einem historischen Haus, das sie später kauften und stilgerecht restaurierten. Es ist seit Jahrhunderten die Gegend, in der sich Ausländer und Flüchlinge aus aller Welt ansiedelten, die seit den sechziger Jahren von Pakistani dominiert wurde und in der sonst nur Arme, Alkoholiker und soziale Randgruppen leben. Da die beiden Künstler den Bereich der Skulptur bereits eindeutig belegt und keine Malerei studiert hatten, wählten sie für ihre künstlerische Produktion fortan die Fotografie. Sie zogen unablässig in ihrem Stadtteil herum und fotografierten, was sich an menschlichem Elend, an Leiden und Zerstörung finden ließ. Aus Zehntausenden von Fotos wählten sie Details aus, belichteten diese auf die größtmöglichen erhältlichen Fotopapiere von 50 x 60 Zentimetern und setzten diese auf Museumskarton montierten Fotoarbeiten in schwarzen Metallrahmen zu wandfüllenden Tableaus zusammen. Von diesem Gestaltungsprinzip sind sie bis heute nicht abgewichen. Dreißig Jahre lang konzipierten sie die häufig kaleidoskopartig und zu geometrischen Mustern zusammengesetzten Tableaus mit Leitern direkt auf der Wand, konfrontierten gezoomte Motive, Verfremdungen ihrer Fotonegative und die dahinter versteckten Themen des menschlichen Lebens in unzähligen Schichten, bevor sie die Tableaus in Druckanstalten in aufwendigen Verfahren produzieren und dann exakt für das auf die Wand montierte Rahmengitter zurichten ließen. Seit 2004 verwenden sie für die Bearbeitung der bis zu 70.000 Fotos, die einem Ausstellungsthema zugrunde liegen, Computer und Bildbearbeitungsprogramme, mit denen sie die kaleidoskopartigen Muster und Verfremdungen erzeugen. Die einzelnen Drucke, aus denen die Wandtableaus dann zusammengesetzt werden, sind vermutlich digitale C-Prints.

Die Themen der Bilder, in denen sie von Anfang an auch selbst auftraten, waren für die Öffentlichkeit immer schockierend. 1980 begannen sie junge Männer zu fotografieren und sie in verführerischen Posen zwischen Nahaufnahmen von Blumen und aufbrechenden Blütenblättern zu arrangieren. Die Bilder trugen ihnen den Vorwurf homoerotischer Kunst ein, Bilder mit kleinen Jungen brachten sie in die Nähe zur Pädophilie. Sie beendeten dieses Thema, als ein großer Teil ihrer Modelle an AIDS gestorben war und sie die Verantwortung für das Zurschaustellen des Erotischen nicht mehr ertragen konnten. 1994 zeigten sie in „The Naked Shit Pictures“ - sie selbst waren inzwischen ältere Herren und nicht mehr attraktiv - wie sie sich völlig entblößten und dem Betrachter ihren nackten Anus entgegenstreckten. Auf anderen Bildern waren mannshohe Kotwürste zu sehen, und sie präsentierten die wunderbar ornamentale Welt von Mikroorganismen, die in Blut-, Urin- und Tränentropfen zu finden sind. Dabei war es gar nicht eine vordergründige Absicht zu schockieren, die sie in ihrer Kunst antrieb. Sie wollten nur alle Bereiche des menschlichen Lebens schonungslos abbilden, eine „Kunst für alle“ schaffen, die von kleinen Mädchen, erwachsenen Menschen und Großmüttern gleichermaßen verstanden werden konnte, und in der alle sozialen und politischen Themen vorkommen sollten. Der nackte Anus, so sagten Gilbert & George, sei für das Aussehen des Menschen ebenso charakteristisch wie sein Gesicht. In einem Interview sagten sie: „Wir nennen unsere Kunst mehr und mehr demokratisch. Wir mögen nicht die Ideen jener Künstler, die sagen: ‚Ich tue was ich tue, weil ich es so schön finde. Wenn ihr mich versteht, ist es gut, wenn nicht, habt ihr Pech gehabt.‘ Wir denken, das ist selbstsüchtig, dekadent, und es nützt den Menschen nicht ... Der Künstler sollte eine Veranwortung spüren, und dass er eine Pflicht für die Zukunft der kulturellen Prozesse hat.“ (4)

Gilbert & George: War Dance. Aus der Serie „Jack Freak Pictures“, 2008. 151 x 190 cm. © Gilbert & George

Über dreißig Jahre lang weigerte sich die britische Regierung, Projekte von Gilbert & George im Ausland zu unterstützen. Man schämte sich für den angeblichen Schmutz, der auf ihren Bildern zu sehen war. Das British Council versuchte, ihre überaus erfolgreiche Ausstellung 1990 im „Haus der Künstler“ in Moskau zu verhindern. Für die Eröffnung ihrer Ausstellung 1993 in der Nationalgalerie in Beijing erhielten sie erst ganz zum Schluss die Unterstützung der britischen Botschaft. Heute hat sich die Situation völlig verändert. 2005 lud das British Council Gilbert & George ein, Großbritannien auf der Biennale in Venedig zu vertreten. 2007 erhielten sie als erste Britische Künstler die Gelegenheit, ihre bislang größte Einzelausstellung in der Tate Modern in London zu zeigen, die anschließend in München, Turin und in Amerika zu sehen war. Zu diesem Zeitpunkt hatten sie weit über eintausend Bilder geschaffen. Seit 2010 tourt eine Ausstellung mit der größten jemals von ihnen geschaffenen Bilderserie, den 2008 entstandenen 153 „Jack Freak Pictures“ mit Unterstützung des British Council durch Europa. Nach dem Centre of Fine Arts in Brüssel ist die Ausstellung von Februar bis Mai 2011 in den Deichtorhallen in Hamburg zu sehen, geht von Juni bis Oktober 2011 an das Lentos Kunstmuseum nach Linz und anschließend an das Laznia Centre for Contemporary Art nach Danzig/Gdansk (Polen).

Gilbert & George: Britainers. Aus der Serie „Jack Freak Pictures“, 2008. 254 x 302 cm. © Gilbert & George

Gilbert & George: Brits. Aus der Serie „Jack Freak Pictures“, 2008. 226 x 190 cm. © Gilbert & George

Hauptmotiv dieser Bilderserie ist die Britische Nationalflagge, der „Union Jack“, der in kaleidoskopartigen Mustern und Verfremdungen den Großteil der Bilder überzieht. Auch die beiden Künstler sind auf fast allen Bildern präsent, indem sie in grotesken, farbig gemusterten Anzügen Tänze aufführen oder sich, auf ihre Augen, einzelne Gliedmaßen und in alle Richtungen verzerrten Gesichter reduziert, in die Kaleidoskop-Muster einfügen. Medaillen, Amulette, Bäume, Straßenansichten und Stadtpläne von East London sind die weiteren Motive, vor denen alle nur denkbaren politischen und sozialen Themen wie „Bleeding Medals“, „Christian England“, „Briticism“, „War Dance“ durchdekliniert und als Kaleidoskop des Lebens und der britischen Gesellschaft präsentiert werden. Sie selbst erscheinen in unendlichen Verfremdungen als ihre eigenen Mutationen, in ihrer unmenschlichen Präsenz als Propheten und Monster, die Vergangenes und Zukünftiges und das Aufbrechen der verkrusteten Gesellschaftsformen repräsentieren.

Der Ausstellungskatalog reproduziert alle Bilder in großem Format. Wer an einführenden Texten in das Werk von Gilbert & George interessiert ist, sollte jedoch den Katalog der Ausstellung in der Tate Modern 2007 konsultieren. Ein absolutes Highlight ist der 2009 entstandene Film „With Gilbert + George“ von Julian Cole, der in der Ausstellung gezeigt wird und als DVD erhältlich ist. (5) Cole lernte Gilbert & George 1986 kennen, als er ihnen Modell stand. Sein Dokumentar-Film zeigt originales Film-Material aus fast zwei Jahrzehnten und ist einer der besten und wichtigsten Filme, die jemals über zeitgenössische Kunst und ihre Protagonisten produziert wurde.

(1) Es ist darauf hinzuweisen, dass es zu dieser Zeit die heute auf allen Plätzen der Welt auftretenden, regungslos und vollständig mit Silber- oder Goldfarbe bemalten Schausteller, die sich als lebende Skulpturen präsentieren, noch nicht gab.

(2) Gilbert & George, „Nie zuviel nachdenken!“, Interview mit Sandra Bartoli und Kito Nedo, in: ART, Das Kunstmagazin, Berlin 18.6.2009, http://www.art-magazin.de/kunst/19601/gilbert_george_interview

(3) The Daily Telegraph, London, 28.5.2002, siehe http://www.arttattler.com/archivegilbertandgeorge.html

(4) KünstlerInnen : 50 Gespräche, hrsg. von Wolf Jahn, Verlag der Buchhandlung Walther König, Köln 1997, S. 89

(5) Julian Cole: With Gilbert + George, DVD, Edition Salzgeber, http://www.salzgeber.de/ , 104 Minuten, in englischer Sprache mit deutschen Untertiteln, Bestell-Nr. D 236