November 17, 2011

Sound Art I

Axel Feuss:
SOUND ART I

 
























in: Fine Art Magazine, Vol. 8, No. 84, Chiang Mai/Bangkok,
October 2011, p. 30-37
(for German please scroll down)

Sound Art I (ซาวด์อาร์ต 1)

Text: Dr. Axel Feuss, แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ

กอร์ดอน โมนาฮัน (Gordon Monahan) เกิดในปี ค.ศ. 1956 ที่เมืองคิงส์ตัน (Kingston) แห่งประเทศแคนาดา คือ ศิลปินผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในวงการซาวนด์อาร์ตระดับนานาชาติ เขาเคยกล่าวปราศัยในวันเปิดนิทรรศการศิลปะการแสดงสด (Performance Art) ณ กรุงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 2005 ว่า "There’s something I’ve been meaning to get off my chest - new sounds - new this, new that. Everyone’s talking about Oh, this person’s doing something new, that’s never been done before. Like, you go to these museums, you know? And, when did it start? About ten years ago they discovered sound art? Uh, sound art has been around for at least fifty years, and yet, now they’ve discovered something new. So you go to these contemporary art museums, and you walk in, and there’s some new artist doing sound art, so there’s a speaker in the middle of the room, you know, and there are jelly beans bouncing up and down in the speaker, and this is supposed to be new?" (1)

โมนาฮัน เริ่มเป็นนักดนตรีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ถึง ค.ศ. 1973 โดยเล่นดนตรีแนวร็อคให้กับวงดนตรีต่างๆ ในกรุงออตตาวา (Ottawa) แห่งประเทศแคนาดา จากค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1976 เขาได้เข้าศึกษาทางด้านฟิสิกส์ และจาก ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1989 ศึกษาทางด้านเปียโน และการแต่งเพลงจากมหาวิทยาลัยเมานท์เอลิสัน (Mount Allison University) แห่งเมืองแซกวิลล์ (Sackville) ณ รัฐนิว บรันสวิก (New Brunswick) ตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นมาเขาจึงสร้างสรรค์ผลงานประเภทจัดวางด้วยสื่อผสมระหว่าง "เสียง" (sound) และ "การแสดงสด" (performance) อาทิเช่น ผลงาน "Speaker Swinging" สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1981 อันเป็นศิลปะเสียงในรูปแบบจัดวางที่ใช้ลำโพงแขวนแกว่งรอบการแสดงสด และทำให้เกิดเสียงก้องสะท้อนเชิง 3 มิติ (เสียงที่มีความลึก)ในห้องแสดงสดนั้น นอกจากนั้นเขายังสร้างสรรค์ผลงานวีดิทัศน์ศิลป์และออกแบบผลงานประติมากรรมที่มีกลไกเชิงจลนศิลป์ (Kinetic Art) เพื่อเป็นองค์ประกอบทำงานประสานกับเครื่องดนตรีเปียนโน จนในที่สุดจากปี ค.ศ. 1981 ถึง ค.ศ. 1983 เขาก็ศึกษาด้านดนตรีกับนักประพันธ์ดนตรีหัวก้าวหน้า จอห์น เคจ (John Cage) ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา นอกจากเขาจะมีที่พำนักอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศแคนาดาแล้ว เขาก็ยังมีที่พำนักอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลินเช่นกัน รวมทั้งรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการจัดกิจกรรมเทศกาล Electric Eclectics สำหรับกลุ่มศิลปินทดลองเสียงดนตรีและซาวด์อาร์ต (Sound art) ที่จัดขึ้นในหน้าร้อนของทุกๆ ปีที่เมืองเมฟอร์ด (Meaford) แห่งรัฐออนแทริโอ (Ontario) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ที่พักอาศัยของโมนาฮาน (2)

Gordon Monahan: Piano Airlift, 1988/2006, ภาพนิ่งในรูปแบบวีดิทัศน์ (Video Still), จัดแสดงครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 ณ หอศิลป์ แห่งเมืองเครมส์ (Krems) ประเทศออสเตรีย (Austria)

ในปึ ค.ศ. 1988 เนื่องจากการจัดสัมมนาเกี่ยวกับศิลปะแห่งเสียง (Sound Art Symposium) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเซ็นต์จอห์น (St. John‘s) แห่งเกาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland) ในกิจกรรมนี้ ศิลปินได้จัดให้มีการขนส่งเครื่องเปียโนขึ้นสู่ยอดเนินเขา Gibbet ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือ เพื่อเตรียมไว้เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้สายตีเปียโนขนาดยาวที่ถูกขึงไว้บนผาหินมีเสียงดังขึ้น และเมื่อมีลมพัด ความเคลื่อนไหวของลมที่โชยผ่านกระทบสายดีดเปียโนก็จะทำให้เกิดเสียงดังขึ้น อันเป็นวิธีการเดียวกันกับพิณเอโอเลียน (Aeolian harp) ที่ชาวกรีกโบราณรู้จักใช้มานานแล้ว ในที่นี้การขนส่งเครื่องดนตรีกลางอากาศก็คือการแสดงสด (Performance) หลังจากนั้นต่อมาเพียงสองอาทิตย์ก็มีการรื้อถอนผลงานจัดวางนั้น ซึ่งในระหว่างขนย้ายเครื่องดนตรีก็มีการทิ้งเปียโนจากผาสูงสู่พื้นดินจนแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และจัดให้เป็นศิลปะการแสดง (Performance Art) ด้วยเช่นกัน จากนั้นศิลปินก็นำเหตุการณ์การแสดงสดเหล่านั้นมาจัดวางเป็นผลงาน "Piano Airlift" (ค.ศ.1988/2006) ในปี ค.ศ.2006 ณ หอศิลป์แห่งเครมส์ (Kunsthalle Krems) ประเทศออสเตรีย โดยใช้ภาพวีดิทัศน์ที่แสดงกิจกรรมนี้จากปี ค.ศ.1988 นำมาจัดวางร่วมกับเปียโนอิเล็กทรอนิกส์ที่เล่นดนตรีได้อัตโนมัติ (MIDI-player Piano) (3) อันเป็นเสียงดนตรีที่โมนาฮานเรียบเรียงขึ้นเอง และใช้เป็นองค์ประกอบแก่ผลงานวีดิทัศน์ ซึ่งปกติยังไร้เสียงอยู่ (4)

Gordon Monahan: Piano Airlift, ค.ศ. 1988/2007 ผลงานจัดวางด้วยเปียโนอิเล็กทรอนิกส์และวีดิทัศน์ศิลป์ ในนิทรรศการ พื้นที่แห่งเสียงในเฟลนส์เบอร์ก (Klangraum Flensburg) ณ พิพิธภัณฑ์เบอร์ก (Museumsberg) แห่งเมืองเฟลนส์เบอร์ก (Flensburg) ในปี ค.ศ. 2007 ประเทศเยอรมนี

ซาวด์อาร์ต (Sound art) เพิ่งจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นผลงานศิลปะประเภทหนึ่งในทศ วรรษที่ 1980 นี้เอง ถึงแม้ว่าในเวลานั้นจะยังไม่มีนิยามสำหรับบ่งบอกลักษณะของศิลปะรูปแบบนี้ก็ตาม แต่ก็มีการจัดเทศกาลสำหรับศิลปะเสียงในรูปแบบใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยามให้ว่าเป็นเพลงคลาสสิกแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 (20th-century classical music) (5) เทศกาลดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1970 ณ ใจกลางกรุงนิวยอร์คที่ "The Kitchen" (6) อันเป็นศูนย์กลางสำหรับแสดงศิลปะประเภททดลองแห่งกรุงนิวยอร์ค ซึ่งใช้สโลแกนว่า "New Music, New York" ผลงานที่แสดงในงานมหกรรมนี้นอกจากจะมีการนำเสนอดนตรีประเภทคลาสสิกเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีผู้นำผลงานประเภทซาวด์เพอร์ฟอร์มานซ์ (Sound Performance) มาแสดงในมหกรรมนี้อีกเป็นจำนวนมาก อันจะเห็นได้จากผลงานของ Garret List, Gordon Mumma, Pauline Oliveros, Charlie Morrow, Tony Conrad และ Charlemagne Palestine ซึ่งปัจจุบันถูกจัดให้อยู่ในระดับผลงานประเภทซาวด์อาร์ต (7) และภายในปีเดียวกันก็ปรากฏนิทรรศการภายใต้ชื่อ "Sound" ณ สถาบันศิลปะร่วมสมัย (Institute of Contemporary Art) แห่งเมืองลอสแอนเจ ลิสเป็นครั้งแรก ในนิทรรศการนี้ ได้มีการแสดงผลงานประเภทศิลปะเสียงจัดวาง (Sound installation) ผลงานในรูปแบบจัดวาง “พื้นที่ที่เต็มไปด้วยคลื่นเสียง” (Acoustical Tuned Spaces) และผลงานประติ มากรรมเสียง (Sound sculpture) รวมทั้งผลงานที่ใช้เครื่องดนตรีที่พัฒนาขึ้นใหม่ และต่อมาในปี ค.ศ. 1983 มีการจัดสัมมนาเรื่องเสียง (Sound symposium) ณ เมืองเซนต์จอห์น (St. John's) ในประเทศนิวฟันด์แลนต์ (Newfoundland) และหนึ่งปีให้หลัง ซาวด์อาร์ตจึงเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คนทั่วไป เนื่องจากมีการจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบเดียวกันและใช้ชื่อนิทรรศการเดียวกันที่ศูนย์ประติมากรรมแห่งนิวยอร์ค (Sculpture Center New York) ในปีค.ศ. 1984 อีกครั้งหนึ่ง โดยมีนักแต่งดนตรีชาวอเมริกัน วิลเลี่ยม เฮลเลอร์แมนน์ (William Hellermann) ทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์

คำว่า "Klangkunst" ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศเยอรมนีนั้นแปลมาจากภาษาอังกฤษ "Sound art" โดยตรง ส่วนชาวฝรั่งเศสและชาวสเปนเรียกผลงานชนิดนี้ว่า "Art sonore" และ "Arte sonoro" แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปมักจะใช้ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ "Sound art" โดยใช้ตัวอักษรของแต่ละภาษาเขียน ซึ่งความหมายที่แท้จริงของซาวด์อาร์ตก็คือ ผลงานศิลปะสมัยใหม่ที่มีทั้งในรูปแบบศิลปะเชิงวัตถุ ผลงานประติมากรรม ผลงานการจัดวาง วีดิทัศน์ศิลป์ ศิลปะคอมพิวเตอร์ และศิลปะการแสดงกิจกรรมหรือการแสดงสด อันเป็นผลงานที่ผู้ชมใช้ทั้งประสาทตาและประสาทหูสัมผัสร่วมกัน และนั่นย่อมหมายถึงทั้ง "ฟัง" และ "ดู" ประสานกัน ซาวด์อาร์ตจึงเป็นผลงานศิลปะที่ใช้เสียงทำหน้าที่เป็นวัตถุ อันนำมาประกอบ ตัดต่อหรือประสานกันให้เกิดภาพ เช่นเดียวกับการใช้วัสดุต่างๆ ให้เป็นสื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะประเภทอื่นๆ

"เสียง" เท่ากับเป็นส่วนหนึ่งของผลงานศิลปะ ซึ่งอาจจะใช้เสียงของมนุษย์ เช่นเสียงที่ตัดต่อมาจากการพูดของมนุษย์ หรือจากเครื่องดนตรี รวมทั้งเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเสียงจากชีวิตประจำวัน เช่น เสียงจากเครื่องจักร จากวัสดุต่างๆ หรือเสียงที่เกิดจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเสียงเป็นจังหวะที่สร้างขึ้นจากเครื่องดนตรี เครื่องมือหรือเครื่องกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะใช้ระบบเครื่องยนต์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม ส่วนพื้นที่ที่ใช้“วัตถุเสียง”เป็นองค์ประกอบจัดวาง ซึ่งผู้ชมสามารถเดินเข้าชมภายในผลงานได้ และไม่ว่าจะจัดวางในเคหะสถาน ตามท้องถนนหรือสวนสาธารณะก็ตาม ก็มักจะเรียกพื้นที่ที่จัดวางเสียงว่า "ซาวด์สเปส" (Sound space) เช่นเดียวกับผลงานสร้างสรรค์แบบใหม่ที่แม้ส่วนใหญ่จะมีรูปลักษณ์เชิงผลงานประติมากรรม แต่เมื่อใช้เครื่องยนต์หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ผู้ชมเล่นดนตรีหรือแสดงบรรเทิงสดด้วยเสียง ผลงานเหล่านี้ก็จัดได้ว่าเป็นซาวด์อาร์ต แต่จะเป็นซาวด์อาร์ตประเภท ซาวด์เพอร์ฟอร์แมนซ์ (Sound Performance) หรือ ซาวด์คอนเสิร์ต (Sound concert) ก็ย่อมได้

ซาวด์อาร์ตถูกจัดให้อยู่ในสาขาทัศนศิลป์ และมักแสดงผลงานในรูปแบบนิทรรศการเช่นเดียวกับการแสดงผลงานทัศนศิลป์ หรือในรูปแบบมหกรรมดนตรี (festival) เพื่อมวลชนสามารถ "ชม" และ "ฟัง" ผลงานทดลองชิ้นใหม่ล่าสุด

ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 ผลงานซาวด์อาร์ตก็ปรากฏทั่วไป ทั้งในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันและประเทศส่วนกลางของทวีปยุโรป ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นผลงานที่มาจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆทั้งด้านเสียงและด้านภาพ ซึ่งนอกจากพวกเขาจัดแสดงคอนเสิร์ตและนิทรรศการในรูปแบบประติมากรรมเสียงและเชิงจัดวางแล้ว พวกเขาเหล่านี้ยังคอยพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นในปี ค.ศ. 1985 หอศิลป์แห่งเมืองเวือร์ซบูร์ก (Städtische Galerie Würzburg)ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานซาวด์อาร์ตภายใต้ชื่อ "ประติมากรรมเสียง 85" (Klangskulpturen ‘85) พร้อมทั้งในปี ค.ศ. 1985, 1986 และ 1987 มีการจัดสัมมนาเรื่องออดิโออาร์ต (Audio-Art Symposium) ตามเมืองต่างๆคือ เมืองสตุทท์การ์ท (Stuttgart) ประเทศเยอรมนี, ฮาสเซล (Hassel) ประเทศเบลเยียม และลินซ์ (Linz) ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีการจัดเทศกาล "Ars Electronica" ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เป็นประจำทุกปี และในปี ค.ศ. 1987 ก็มีการจัดเทศกาลนี้อีกครั้งภายใต้ชื่อ "เสียงแห่งอิสระ" ในปี ค.ศ. 1990 ได้มีการเปิดงานมหกรรม "Donaueschingen Festival" ที่เก่าแก่และมีชื่อที่สุดในโลก ซึ่งจัดขึ้นสำหรับผลงานคีตศิลป์ร่วมสมัย ซึ่งรวมทั้งผลงานประติมากรรมเสียง (Sound sculpture) และศิลปะจัดวางเสียง (Sound installation) ของ Rolf Julius, Takehisa Kosugi, Christina Kubisch, Bill Fontana และ Sabine Schäfer. ในปี ค.ศ. 1994 งานเทศกาล "Multiple Sounds" จัดที่เมือง Maastricht อันเป็นเมืองสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ และงานมหกรรมในประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งในปี ค.ศ. 1995 มีการจัดงานเทศกาล "SoundArt '95" ณ เมืองฮันโนเวอร์ (Hannover) ประเทศเยอรมนี (Germany)

ในประเทศเยอรมนี ซาวด์อาร์ตเพิ่งจะได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ซึ่งมีผู้ชมสนใจติดตามดูนิทรรศการสำคัญๆอย่างไม่ขาดสาย ประกอบกับมีการก่อตั้งแกลเลอรี่และพิพิธภัณฑ์หลายแห่งเพื่อเสนอผลงานเหล่านี้โดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีการตั้งรางวัลและจัดประกวดผลงาน พร้อมทั้งสนับสนุนทางด้านการศึกษาอย่างเป็นทางการ โดยเปิดภาควิชาสำหรับศึกษาศิลปะประเภทนี้ตามสถาบันศึกษาต่างๆ ในปี ค.ศ.1996 Helga de la Motte-Haber นักวิชาการทางคีตศาสตร์และคีตจิตวิทยา ได้เป็นภัณฑารักษ์จัดนิทรรศการซาวด์อาร์ตภายใต้ชื่อ "sonambiente Festival für Hören und Sehen" (โซนอัมเบียนท์ งานมหกรรมสำหรับโสตและทัศน์) ขณะที่สถาบันการศึกษาศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน (Akademie der Künste Berlin) ฉลองครบรอบ 300 ปี โดยมีสูจิบัตรแสดงประวัติชีวิตของศิลปินจำนวน 70 ท่าน รวมทั้งผลงานจากศิลปินแห่งวงการซาวด์อาร์ตที่มีชื่อเสียงในโครงการต่างๆระดับนานาชาติ (8) ในปีเดียวกันก็ปรากฏแกลเลอรี่ "singuhr hoegalerie" (นาฬิการ้อง แกลเลอรี่ฟัง) ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างเป็นทางการเปิดขึ้นใหม่ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งมีการจัดนิทรรศการมากกว่า 80 ครั้งตั้งแต่นั้นมา ผลงานที่จัดแสดงจะมีทั้งผลงานซาวด์ออบเจ็คท์ (Sound object) ประติมากรรมเชิงจลนศิลป์ (Kinetic sculpture) และผลงานประเภทซาวด์สเปส (Sound space) รวมทั้งศิลปะการแสดงโสตและทัศน์ (9) ในทำนองเดียวกัน จากปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ. 2010 ก็มีการเปิดแกลเลอรี "t-u-b-e" แห่งเมืองมิวนิค ไว้สำหรับแสดงผลงานประเภทเรดิโอโฟนอาร์ต (Radiophone Art) เสียงและการจัดวางเชิงเพอร์ฟอร์แมนซ์ (Installation and Audio Performance) (10)

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 เป็นต้นมาก็จะมีรางวัล "Deutscher Klangkunstpreis" (รางวัลซาวด์อาร์ตแห่งเยอรมนี) (11) ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดตั้งขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปีโดยหอศิลป์ "Skulpturenmuseum Glaskasten" (ประติมากรรมหอศิลป์กลาสคัสเทน) แห่งเมืองมาร์ล (Marl) ซึงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เชี่ยว ชาญทางประติมากรรมแห่งยุคโมเดิร์นคลาสสิก และมีเดียอาร์ต ผลงานที่ได้รับรางวัลรวมทั้งผลงานที่ได้รับการคัดเลือกแสดงในหอศิลป์นี้ จะนำมาแสดงใน "อาร์ต โคโลญ" (Art Cologne) แห่งเมืองโคโลญซึ่งเป็นงานมหกรรมศิลปะที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ อีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 2004 ก็มีการจัดแสดงผลงานซาวด์อาร์ตภายใต้สโลแกน "เสียงในพื้นที่-พื้นที่แห่งเสียง จากมุมมองแห่งซาวด์อาร์ตนานาชาติ" โดยสถาบันศึกษา "Kunsthochschule für Medien" (มหาวิทยาลัยศิลปะแนวสื่อ) หรือ KHM แห่งเมืองโคโลญเป็นระยะเวลากว่าสามอาทิตย์ อันมีการจัดประชุมสัมมนา นิทรรศการและคอนเสิร์ตอย่างหลาก หลาย รวมทั้งมีการจัดพิมพ์หนังสือบันทึกข้อมูลต่างๆ ของกิจกรรมในปี ค.ศ. 2010 เช่นกัน (12) ในปี ค.ศ. 2006 "Akademie der Künste Berlin" แห่งกรุงเบอร์ลิน ก็ได้จัดแสดงนิทรรศการ "sonambiente" เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้าย แต่คราวนี้เพิ่มชื่อย่อย (subtitle) ด้วยว่า "klang kunst - sound art" (ศิลปะที่ใช้เสียง-ซาวด์อาร์ต) ซึ่งแสดงผลงาน รวมทั้งโครงการของศิลปินและกลุ่มศิลปินนานาชาติจากทุกมุมเมืองในกรุงเบอร์ลินเป็นจำนวนกว่า 60 คน และเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาซาวด์อาร์ต ร่วมแสดงในมหาวิทยาลัยศิลปะและดนตรีแห่งเยอรมนีนี้ และจัดทำสูจิบัตรที่มีความหนากว่า 400 หน้า ซึ่งจัดว่าเป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลแก่วงการศิลปะซาวด์อาร์ตได้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน (13)

Christina Kubisch กับผลงานของเธอ Magnetic Nets ใน Toon Festival แสดงที่ Galerie de Schone Kunsten แห่งเมืองฮาร์เลม (Haarlem) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 2006

ในประเทศเยอรมนีมีมหาวิทยาลัยถึง 4 แห่งที่จัดให้มีภาควิชาเฉพาะสำหรับศึกษาซาวด์อาร์ต (ภาษาเยอรมัน "Klangkunst") จนถึงระดับปริญญาโท และเปิดโอกาสให้ศิลปินหญิงซาวด์อาร์ต คริสตีนา คูบิช (Christina Kubisch) เกิดในปีค.ศ. 1948 ที่เมืองเบรเมน (Bremen) เป็นอาจารย์สอนที่ "Hochschule der Bildenden Künste Saarbrücken" (14) (มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งซาร์บรูคเคน) ณ เมืองซาร์บรูคเคน (Saarbrücken) ในภาควิชา "Sculpture/Audio-visual art" ซึ่งเปิดสอนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 สำหรับให้การศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในรูปแบบประติมา กรรมเชิงเสียง ส่วนศิลปินเองเคยศึกษาจิตรกรรมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 ถึงค.ศ. 1968 ที่สถาบันศึกษาศิลปะแห่งเมืองสตุทท์การ์ท (Stuttgart) จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านดนตรีที่แฮมเบอร์ก (Hamburg) กราซ (Graz) และ ซูริค (Zurich) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ศิลปินได้ย้ายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยไปที่เมืองมิลาน และเข้าศึกษาการประพันธ์ดนตรีและการดนตรีอีเล็กทรอนิกส์ที่ดุริยางค์วิทยาลัยในปี ค.ศ. 1976 รวมทั้งศึกษาทางด้านอีเล็กทรอนิกส์ ณ สถาบันแห่งเทคโนโลยี (Institute of Technologie) (15)

Ulrich Eller กับผลงานประติมากรรมเสียงที่ชื่อ "เสียงสะท้อนที่เบี่ยงเบน" (Gelenkte Resonanzen) ณ มหาวิทยาลัยเฟลนส์เบอร์ก (Universität Flensburg) ในปี ค.ศ. 2010

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 อูริค เอลเลอร์ (Ulrich Eller) ได้เป็นครูสอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งบราวน์ชไวก์ (Hochschule für Bildende Künste Braunschweig) ประจำภาควิชา "Klangskulptur/ Klanginstallation" (Sound Sculpture/Sound Installation) ในรูปแบบของการศึกษาศิลปะแบบอิสระ (16) เอลเลอร์ เกิดปี ค.ศ. 1953 ที่เลเวอร์คูเซ่น (Leverkusen) และเคยศึกษาที่ "มหาวิท ยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน" (Hochschule der Künste Berlin) จากปี ค.ศ. 1977-1983 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 เขาได้เป็นอาจารย์สอนทางด้านประติมากรรม พื้นที่ และศิลปะเชิงกิจกรรมแบบนอกกรอบ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001เป็นต้นมา สอนวิชาประติมากรรมเสียงและศิลปะเสียงประเภทจัดวาง (Sound Sculpture/Sound Installation) ที่ "Fachhochschule Hannover" (วิทยาลัย[อาชีพ]แห่งฮันโนเวอร์)

Ulrich Eller: "บันไดสู่ท้องฟ้า"(Himmelsleiter) ในปี ค.ศ. 2007 (สูงประมาณ 600 ซ.ม.) ทำด้วยโลหะ, ลำโพง 64 ตัว, สายเคเบิล, เครื่องเล่นเสียงพร้อมองค์ประกอบเสียง (Sound composition) ในนิทรรศการ พื้นที่แห่งเสียงในเฟลนส์เบอร์ก" (Klangraum Flensburg)  ในปี ค.ศ. 2007

ส่วนมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน (Universität der Künste Berlin) เพิ่งเปิดวิชาศึกษา "Sound Studies (Master of Arts)" ในระดับปริญญามหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 สำหรับผู้สนใจต้องการศึกษาต่อระดับปริญญามหาบัณฑิต (17) จะมีวิชาให้เลื่อกต่างๆ คือ ทฤษฏีและประวัติของวัฒนธรรมแห่งการฟัง, ทักษะแห่งการฟัง, การทดลองสร้างสรรค์ศิลปะจากเสียง, การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสื่อแก่โสตประสาท, ธุรกิจการสื่อสารทางโสตประสาท (Auditive Market Communication) และสถาปัตยกรรมแห่งโสตประสาท หัวหน้าภาควิชาการทดลองสร้างสรรค์ด้วยการใช้เสียงเป็นสื่อคือ ศาสตราจารย์ Sam Auinger (เกิดปี ค.ศ. 1956 ที่ Linz) นักประพันธ์ดนตรีชาวออสเตีรย ได้รับเลือกจาก "Ars Electronica" แห่งเมืองลินซ์ (Linz) ให้เป็นศิลปินดีเด่นประจำปี ค.ศ. 2011 (Featured Artist) Sam Auinger เริ่มสนใจทฤษฏีแห่งการวางองค์ประกอบ, การสร้างสรรค์ดนตรีด้วยคอมพิวเตอร์, การออกแบบเสียงและจิตวิทยาจากคลื่นเสียง และเคยทำงานประสานกับหน่วยโครงการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรม (18)

ตั้งแต่ปลายภาคการศึกษาแห่งปีการศึกษา 2009 วิทยาลัยดุริยางค์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโยฮันเนสกูเทนเบิร์ก (Hochschule für Musik Johannes-Gutenberg-Universität) แห่งเมืองมายนซ์ (Mainz) ได้เปิดภาควิชา "องค์ประกอบศิลปะแห่งเสียง" (Sound Art Composition) ในระดับปริญญามหาบัณฑิต (19) โดยมีนักประพันธ์ดนตรีและศิลปินซาวด์อาร์ต Peter Kiefer (เกิดในปี ค.ศ. 1961 ที่ Aachen) เป็นผู้สอน ซึ่งในภาควิชานี้จะเป็นแหล่งรวบรวมแนวคิดของดนตรียุคใหม่, อิเล็กทรอนิกส์คอมโพซิชั่น (electronic composition), ซาวด์อาร์ต และ ออดีโอ-วิชวลและเรดิโอโฟนอาร์ต (Audio-visual and Radiophone Art) การเรียบเรียงเสียงดนตรีเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นคว้าหากลไกในการใช้พื้นที่และสื่อของเสียงให้สมดุลย์กัน ทั้งในผลงานที่จัดวางด้วยการใช้เสียงและจัดวางด้วยการใช้พื้นที่

ในทำนองเดียวกันกับแนวคิดของการแสดงและความเป็นไปได้ในการใช้สื่อแต่ละชนิด Kiefer เคยศึกษาวิชาการประพันธ์ดนตรีประเภทคลาสสิกที่สถาบันแห่งการศึกษาคีตศิลป์และนาฏศิลป์ ณ เมืองโคโลญ อีกทั้งเคยศึกษาทางด้านดนตรี รวมทั้งทฤษฏีแห่งการแสดงและปรัชญา ณ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองโคโลญเช่นกัน (20)

Ferdinand Försch ณ เมืองแฮมเบอร์ก (Hamburg) ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 2000 กับเครื่องดนตรีประเภทตี (percussion instrument) ที่ศิลปินสร้างขึ้นเอง

การจัดแสดงนิทรรศซาวด์อาร์ตที่ใหญ่โตมโหฬารย่อมไม่ใช่หลักประกันของการประสบความสำเร็จ การจัดแสดงผลงานประเภทนี้ในหอศิลป์ขนาดเล็กก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน และบ่อยครั้งเราจะเห็นว่ามีการจัดงานมหกรรมตามหัวเมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่นอกศูนย์กลางศิลปะ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงนิทรรศ การในหอศิลป์ เพื่อแสดงผลงานประเภทศิลปะจัดวางเสียง (Sound Installation) ในสวนหรือสถานที่สาธารณะ รวมทั้งแสดงคอนเสิร์ตและเพอร์ฟอร์แมนซ์ เป็นต้น สาเหตุที่สาธารณชนให้ความสนใจสูงนั้นก็เป็นเพราะว่า มีการจัดแสดงซาวด์อาร์ตตามสถานที่ส่วนใหญในชุมชนของผู้มีการศึกษาสูงและมีความสนใจสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว เช่น เพลงคลาสสิก ทัศนศิลป์ กลไกของเครื่องดนตรีที่ใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีแบบใหม่ นอกจากนั้นผลงานซาวด์อาร์ตส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเล่น ซึ่งเพียงกดปุ่ม ผู้ชมก็สามารถทำให้ผลงานมีความเคลื่อนไหว ในที่นี้ผู้ชมเป็นผู้เล่นหรือขับเคลื่อนเองด้วยมือและผลงานมีการตอบสนอง เด็กเยาวชนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจต่อผลงานประเภทนี้ ซึ่งทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็มักจะสนใจกับสิ่งที่ขับเคลื่อนได้อยู่แล้ว เช่นผลงานที่โยกเยกได้ พร้อมทั้งส่งเสียงแปลกประ หลาดของศิลปินชาวเยอรมัน เฟอร์ดินันด์ เฟอร์ช (Ferdinand Försch เกิดในปี ค.ศ. 1951 ณ Bad Brückenau) ซึ่งเป็นทั้งนักแต่งเพลงและมือกลอง เขาได้จัดแสดงคอนเสิร์ตด้วยเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นเอง ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดตีและเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับขยายเสียง และนอกจากผลงานสร้างสรรค์และผลงานทางด้านดนตรีแล้ว ศิลปินยังจัดเวิร์คช็อปให้เด็กร่วมกันทดลองสร้างสรรค์ผลงานขึ้นเอง

Edmund Kieselbach: หอคอยแห่งเสียง" (Klangsäulen) กับผู้ชมซึ่งเป็นเยาวชน แสดงที่เน็คคาร์แวร์เคอ (Neckarwerke) แห่งเมืองเอสลิงเงน (Esslingen) ในปี ค.ศ. 1990, ภาพถ่ายโดย Renata Grasshoff-Kieselbach

Edmund Kieselbach กับผลงานชื่อหอคอยแห่งเสียง" (Klangsäulen) ในปี ค.ศ. 1985

Edmund Kieselbach: พื้นที่จัดวาง1" (Rauminstallation I) ในวันแห่งดนตรีโลก (Welt-Musik-Tage)  Leopold-Hösch-Museum แห่งเมือง Düren (แสดงร่วมกับ Klaus Geldmacher) ในปี ค.ศ. 1987, ภาพถ่ายโดย Renata Grasshoff-Kieselbach

ในวงการซาวด์อาร์ตจะมีทั้งศิลปินที่สร้างผลงานขนาดเล็กและผลงานขนาดใหญ่จัดวางเต็มพื้นที่ มีทั้งนักประพันธ์ดนตรี เรียบเรียงเสียงหรือแสดงกิจกรรมต่างๆ เช่น เอดมุนด์ คีเซลบัค (Edmund Kieselbach, ค.ศ. 1937-2007) ผู้เริ่มหันมาสนใจศิลปะซาวด์อาร์ตและเรียนรู้วิธีสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองหลังจากที่เขาจบการศึกษาศิลปะที่เมืองฮันโนเวอร์ (Hannover) แล้ว ในทศวรรษ 1970 คีเซลบัคมีส่วนร่วมสร้างฉากมัลติมีเดียสำหรับการแสดงละคร และเพิ่งจะเริ่มสร้างสรรค์ผลงานประเภทจัดวางสื่อแสงและซาวด์ออบเจ็ค (Sound object)ในปี ค.ศ. 1987 ต่อมาคีเซลบัค จึงหันมาค้น คว้าการฟังเสียงของดนตรีในยุคใหม่ในบั้นปลายแห่งชีวิต อันต่างจากคริสตอฟ ชแลเกอร์ (Christof Schläger เกิดในปี ค.ศ. 1958 ที่เมือง Bytom ประเทศโปแลนด์) ศิลปินรุ่นต่อมา ซึ่งมีคนเริ่มรู้จักจากผลงานเครื่องเล่นเสียง ที่เขาใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และความดันของอากาศ (pneumatics) เป็นกลไกขับเคลื่อนความดังของเสียง และนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในผลงานศิลปะจัดวางเสียง โดยใช้คอมพิว เตอร์เป็นเครื่องประ สานเสียงเหล่านั้น ชแลเกอร์ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1968 เข้าศึกษาวิชาเทคนิคและวิศวกรรมเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างในปี ค.ศ. 1978 ถึง ค.ศ.1982 ที่เมืองแฮร์นเน (Herne) ประเทศเยอรมนี และเพิ่งสร้างผลงานซาวด์อาร์ตเป็นชิ้นแรกเมื่อปี ค.ศ. 1984 ทั้งๆ ที่เขาเรียนรู้ศิลปะด้วยตนเอง แต่กระนั้นเขาก็เป็นศิลปินสำคัญผู้หนึ่งในวงการซาวด์อาร์ตแห่งทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 2007 เขาได้สร้างสรรค์ผลงานแบบจัดวาง "Horn Concert" ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง โดยใช้เครื่องดนตรีชนิดเป่าบรรเลงเสียงประสานกันแบบคอนเสิร์ต แสดงในนิทรรศการซาวด์อาร์ตแห่งเมืองเฟลนซ์เบอร์ก (Flensburg) อันเป็นเมืองท่าเรือเล็กๆ ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศเยอรมนี ศิลปินได้นำแตรเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ความดันของลมเป่าให้เกิดเสียงโดยอัตโนมัติมาจัดวางหลายแห่งในท่าเรือ และทำให้เมือง เฟลนซ์เบอร์กมีเสียงแตรก้องพร้อมกันทั้งท่าเรือ

Christof Schläger: Sound Forest II, ในปี ค.ศ. 2007, ภาพถ่ายโดย Georg Schläger

Christof Schläger: Horn Concert for Flensburg, ในปี ค.ศ. 2007, ตัดต่อภาพโดย Christof Schläger และ Georg Schläger

ปัจจุบันมีการสร้างสรรค์ผลงานซาวด์อาร์ตอย่างแพร่หลาย ทั้งในประเทศเยอรมนีและประเทศอื่นๆในยุโรป เช่น สเปน ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เบลเยียม ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทุกๆปีจะมีการจัดนิทรรศ การ งานเทศกาล รวมทั้งการจัดประชุมสัมมนาอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อมองย้อนหลังดูการจัดนิทรรศการ จัดงานเทศกาลตามหอศิลป์ และการให้ข่าวสารต่างๆ จะทำให้สังเกตเห็นได้ว่า ทิศทางของการสร้างสรรค์ในระหว่างทศวรรษ 1980 และ 1990 จะมาจากศิลปินจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้อยูในวงการศิลปะ และถ้าจำไม่ผิดกอร์ดอน โมนาฮาน ก็ไม่ได้หันมาสนใจซาวด์อาร์ตในระยะ 20 ปีหลังจากปรากฏผลงานประเภทนี้ แต่เพิ่งจะเริ่มสนใจเป็นครั้งแรกหลังที่มีศิลปะประเภทนี้มานานกว่า 50 ปี ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงซาวด์อาร์ตในระยะแรก เราก็ควรจะเริ่มที่นักประพันธ์เสียง จอห์น เคจ ผู้สร้างสรรค์ "ศิลปะเสียง" โดยการทำลายเปียโนในผลงาน "Prepared Piano" เช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมเสียงและคอนเสิร์ตของกลุ่มฟลุกซุส (Fluxus) ในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 นอกจากนั้นยังมีศิลปินซาวด์อาร์ตจำนวนไม่น้อยที่เคยศึกษาศิลปะเสียงจากจอห์น เคจ อีกทั้งยังมีกิจกรรมจำนวนไม่น้อยที่สามารถเชื่อม โยงไปถึงเขาได้ ซึ่งเราจะกล่าวถึงในตอนที่สองของเรื่องนี้

(1) "ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมต้องการระบายออกให้พ้นอกเสียที นั่นคือ เรื่องเสียงแห่งยุคใหม่ (new sound) ซึ่งอะไรๆก็ดูเหมือนใหม่ไปหมด และใครๆ ก็กล่าวแต่ว่า คนนั้น คนนี้สร้างอะไรๆขึ้นมาใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งเป็นทำนองเดียวกันกับที่คุณเดินเข้าดูผลงานในพิพิธภัณฑ์ใช่ไหมครับ และความใหม่นี้เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่กันแน่ คนทั่วไปเข้าใจกันว่า ซาวด์อาร์ต (Sound Art) เพิ่งค้นพบขึ้นเมื่อสิบปีก่อนนี้เอง ทั้งๆ ที่ศิลปะชนิดนี้มีมาตั้งแต่เมื่อห้าสิบก่อนนี้แล้ว แต่ปัจจุบันพวกเขาก็ยังอ้างว่าค้นพบสิ่ง “ใหม่ๆ” ขึ้นอีก เมื่อคุณเดินเข้าชมพิพิธภัณฑ์หอศิลป์ร่วมสมัยแห่งนี้ ก็จะเห็นผลงานซาวด์อาร์ตของศิลปินรุ่นใหม่ ซึ่งมีลำโพงตั้งอยู่ใจกลางห้อง และมีขนมลูก กวาดวุ้นผลไม้ออกมากระโดดขึ้นๆลงๆในลำโพง นั่นหรือครับคือความใหม่" (ตอนหนึ่งจากคำปราศัยในวาระโอกาศการแสดงสด "Theremin in the Rain" ของ Gordon Monahan ที่กรุงเบอร์ลิน (Berlin) ณ หอศิลป์ Hamburger Bahnhof ในวันที่ 1 และ 2 ธันวาคม ค.ศ 2005 อ้างอิงจากสูจิบัตร "sonambiente berlin 2006, klang kunst, sound art" จัดทำโดย Helga de la Motte-Haber และ ผู้ประสานงานอื่นๆ รวมทั้ง Akademie der Künste, Berlin ค.ศ. 2006 รวม 286 หน้า)

(2) http://www.electric-eclectics.com/

(3) MIDI = Musical Instrument Digital Interface หรือ มิดิ (มาตรฐาน การประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิตอล)ดูข้อมูลได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/MIDI ; องค์ประกอบของการจัดวางคือเปียโนอิเล็กทรอนิกส์ยามาฮ่า หาอ่านได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Disklavier

(4) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ผู้เขียนบทความนี้ได้จัดแสดงผลงานจัดวาง "Airlift Piano" (1988/2006) อีกครั้งหนึ่งในนิทรรศการ "Sound Space Flensburg" (เสียงในพื้นที่แห่งเมืองเฟลนส์บูร์ก) ณ เมือง Flensburg ดูข้อมูลได้ที่ http://artpositions.blogspot.com/2011/08/klangraum-flensburg-2007.html
อัตชีวประวัติและลักษณะผลงาน ตลอดจนตัวอย่างเสียงในผลงานของกอร์ดอน โมนาฮาน ดูข้อมูลได้ที่ http://www.gordonmonahan.com/

(5) http://en.wikipedia.org/wiki/20th-century_classical_music

(6) The Kitchen, Center for video, music, dance, performance, film, and literature, http://thekitchen.org/

(7) ในปีค.ศ. 2005 มีการนำบันทึก "The Kitchen" จากงานเทศกาล "New Music, New York" 1979 โดย Musiklabel Orange Mountain Music ในรูปแบบแผ่นใสออกจำหน่าย ซึ่งสามารถหาฟังตัวอย่างได้ที่ http://www.jpc.de/jpcng/jazz/detail/-/art/From-The-Kitchen-Archives-New-Music-New-York-1979/hnum/4779968 ในปี ค.ศ. 2004 "The Kitchen" ฉลองครบรอบ 25 ปี ซึ่งมีการจัดเทศกาลอีกครั้งหนึ่งภายใต้หัวเรื่องว่า "New Sound, New York" ซึ่งมีการจัดแสดงทั้งการแสดงกิจกรรม ผลงานจัดวาง การปราศัย ผลงานรุ่นใหม่จากศิลปินซาวด์อาร์ต (Sound artist) ผลงานเหล่านั้นจะมีความเกี่ยวโยงเชิงสถาปัตยกรรม ดนตรีและทัศนศิลป์

(8) "Klangkunst" จัดพิมพ์โดย "Akademie der Künste, Berlin" สำนักพิมพ์ Prestel-Verlag, Munich, New York, 1996

(9) http://www.singuhr.de/ มีหน้าภาษาอังกฤษ

(10) http://www.t-u-b-e.de/ มีหน้าภาษาอังกฤษ

(11) http://www.klangkunstpreis.de/

(12) "Klangräume der Kunst" จัดพิมพ์โดย Peter Kiefer สำนักพิมพ์ Kehrer Verlag, Heidelberg 2010

(13) sonambiente berlin 2006, klang kunst – sound art, จัดพิมพ์โดย Helga de la Motte-Haber และ ผู้ร่วมงานอื่นๆ จาก "Akademie der Künste, Berlin" สำนักพิมพ์ Kehrer Verlag, Heidelberg 2006 สูจิบัตรและหนังสือบันทึก จัดจำหน่ายในรูปแบบแผ่นใสทั้ง CD และ DVD

(14) http://www.hbksaar.de/1064.html  (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)

(15) http://www.christinakubisch.de/, มีหน้าภาษาอังกฤษ

(16) http://fk1.hbk-bs.de/index.php?id=11 (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)

(17) http://www.udk-berlin.de/sites/soundstudies/content/index_eng.html (ภาษาอังกฤษ)

(18) http://www.samauinger.de/

(19) http://www.musik.uni-mainz.de/1622_DEU_HTML.php (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)

(20) http://www.peter-kiefer.de/ (ภาษาเยอรมันเท่านั้น)


KLANGKUNST I

Gordon Monahan (*1956 Kingston/Canada), einer der arriviertesten Künstler der internationalen Klangkunst-Szene, sagte 2005 anlässlich einer Performance in Berlin: „There’s something I’ve been meaning to get off my chest - new sounds - new this, new that. Everyone’s talking about Oh, this person’s doing something new, that’s never been done before. Like, you go to these museums, you know? And, when did it start? About ten years ago they discovered sound art? Uh, sound art has been around for at least fifty years, and yet, now they’ve dicovered something new. So you go to these contemporary art museums, and you walk in, and there’s some new artist doing sound art, so there’s a speaker in the middle of the room, you know, and there are jelly beans bouncing up and down in the speaker, and this is supposed to be new?“ (1)

Monahan begann seine musikalische Karriere zwischen 1968 und 1973, als er als Rockmusiker mit verschiedenen Bands in Ottawa/Kanada auftrat. Von 1974 bis 1976 studierte er Physik, von 1976 bis 1989 Klavier und Komposition an der Mount Allison University in Sackville, New Brunswick. Seit 1978 entwickelte er multimediale Klanginstallationen und Performances unter anderem mit aufgehängten, kreisenden Lautsprechern, die sich um den Performer herum bewegten und die live modulierte Klänge an den Raum abgaben (Speaker swinging, 1981). Er machte Videos, entwarf kinetische Maschinenskulpturen und experimentierte mit dem Klavier. Von 1981 bis 1983 studierte er bei dem Komponisten John Cage. Seit den 1990er Jahren lebt und arbeitet er außer in Kanada auch in Berlin. Er ist Direktor von Electric Eclectics, einem Festival für experimentelle Musik und Klangkunst, das jeden Sommer in der Nähe seines Wohnortes Meaford/Ontario stattfindet. (2)

Gordon Monahan: Piano Airlift, 1988/2006, Video still, erstmals gezeigt in der Kunsthalle Krems, Krems/Österreich, Oktober 2006

1988 ließ er anlässlich des Klangkunst-Symposiums in St. John’s auf Neufundland ein Klavier auf den Gipfel von Gibbet’s Hill oberhalb der Hafenstadt transportieren. Das Instrument diente als Klangverstärker für lange Klaviersaiten, die über die Klippen des Berges gespannt wurden. Die Saiten wurden vom Wind in Schwingungen versetzt und zu lauten Klängen angeregt, ein Prinzip, das als "Äolsharfe" bereits seit der griechischen Antike bekannt ist. Der Transport des Klaviers durch die Luft war eine Kunst-Aktion, ebenso wie der Abbau der Installation zwei Wochen später, als das Klavier über die Klippen geworfen wurde und in tausend Stücke zerschlug. 2006 konfrontierte Monahan in seiner Installation "Piano Airlift" (1988/2006) in der Kunsthalle von Krems/Österreich ein Video dieser Aktion mit einem selbstspielenden elektronisch gesteuerten Klavier (MIDI-player Piano), (3) von dem Monahan’s eigene Klangkomposition zu den Bildern des sonst stummen Videos zu hören war. (4)

Gordon Monahan: Piano Airlift, 1988/2007, Installation für Disklavier und Video-Projektion, Ausstellung Klangraum Flensburg, Museumsberg Flensburg, 2007

Klangkunst wird erst seit Beginn der 1980er Jahre als eigenständige Kunstgattung wahrgenommen, ohne dass sich zu diesem Zeitpunkt schon ein eigener Begriff dafür herausgebildet hätte. Ein Festival für Neue Musik, das 1979 vom New Yorker Zentrum für experimentelle Kunst "The Kitchen" (6) unter dem Motto "New Music, New York" veranstaltet wurde, dokumentierte bereits neben eher klassischen Konzertstücken eine Anzahl von Klangperformances unter anderem von Garret List, Gordon Mumma, Pauline Oliveros, Charlie Morrow, Tony Conrad und Charlemagne Palestine, die heute vom reinen Hörerlebnis her mühelos der Klangkunst zugeordnet werden würden. (7) Im selben Jahr gab es unter dem Titel "Sound" im Institute of Contemporary Art in Los Angeles die erste Ausstellung, in der Klanginstallationen, vom Klang erfüllte Räume, Klangskulpturen und neu entwickelte Instrumente gezeigt wurden. 1983 wurde in St. John’s auf Neufundland das erste Sound-Symposium abgehalten. Erst 1984 etablierte sich der Begriff "Sound Art" mit einer gleichnamigen Ausstellung, die der amerikanische Komponist William Hellermann für das Sculpture Center New York kuratiert hatte.

In Deutschland wird seitdem der Begriff "Klangkunst" als direkte Übersetzung des englischen "Sound art" verwendet, im Französischen und Spanischen sagt man "Art sonore" bzw. "Arte sonoro". In den meisten anderen Sprachen wird das englische "Sound art" als Fremdwort benutzt und in die eigenen Schriftzeichen übertragen. Als Klangkunst bezeichnet man Werke der modernen Kunst, also Objekte und Skulpturen, Installationen, Videos, Computer-Kunst, Aktionen und Performances, bei denen der Anteil des Erlebbaren zu gleichen Teilen dem Sehen und dem Hören, also Auge und Ohr zuzuordnen ist und bei denen der Klang genauso wie alle anderen Werkstoffe des Kunstwerks als geformtes und gestaltetes Material verwendet wird.

Der Klang, also die hörbaren Anteile des Kunstwerks, können menschliche Laute oder bearbeitete Teile der menschlichen Sprache sein, bearbeitetes musikalisches Material, natürliche oder Alltagsgeräusche, der Klang von Instrumenten, Materialien, Maschinenteilen oder elektronischen Elementen und Systemen sowie mechanisch oder elektronisch erzeugte Rhythmen. Bei begehbaren Räumen, Architekturen oder auf Straßen und Plätzen, in denen Klänge installiert sind, spricht man von "Klangräumen". Auch neu erfundene Instrumente, die wie Skulpturen einen hohen visuellen Anteil haben und die maschinell, elektronisch, von einem Performer oder auch vom Publikum bespielt werden können, werden zur Klangkunst hinzugezählt. Die Aufführungen werden als Klangperformance oder Klangkonzert bezeichnet. Werke der Klangkunst werden heute üblicherweise der bildenden Kunst zugeordnet und in Ausstellungen gezeigt. Ebenso häufig sind sie aber auch auf Festivals für neue und experimentelle Musik zu erleben.

Seit Mitte der 1980er Jahre entstand im deutschsprachigen Raum und in Mitteleuropa eine vielfältige Klangkunst-Szene, in der zahlreiche Künstler im Bereich zwischen Akustischem und Visuellem arbeiteten und neben dem Konzert- und Ausstellungsbetrieb vor allem Klangskulpturen und Klanginstallationen zu einer eigenständigen, vielfältigen Kunstgattung entwickelten. 1985 zeigte die Städtische Galerie in Würzburg eine erste Ausstellung unter dem Thema "Klangskulpturen '85". 1985, '86 und '88 fanden Audio-Art-Symposien in Stuttgart, Hassel/Belgien und Linz/Österreich statt. Das seit 1979 jährlich in Linz/Österreich stattfindende Festival "Ars Electronica" stand 1987 unter dem Thema "Der freie Klang". 1990 öffneten sich die "Donaueschinger Musiktage", das weltweit älteste und berühmteste Festival für zeitgenössische Musik, den Klangskulpturen und Klanginstallationen mit Werken von Rolf Julius, Takehisa Kosugi, Christina Kubisch, Bill Fontana und Sabine Schäfer. 1994 fand in Maastricht/Niederlande an historischen Plätzen der Stadt das Festival "Multiple Sounds" statt, 1995 im Stadtraum von Hannover das Festival "SoundArt '95".

In Deutschland wurde die Klangkunst seit Mitte der 1990er Jahre durch große Überblicks-Ausstellungen mit begleitenden Publikationen, die Gründung öffentlicher Galerien und die Spezialisierung einzelner Museen, die Vergabe von Preisen und die Einrichtung von Studiengängen gezielt öffentlich gefördert. 1996 kuratierte die Musikpsychologin und Musikwissenschaftlerin Helga de la Motte-Haber im Rahmen der 300-Jahr-Feier der Akademie der Künste in Berlin die erste umfassende Ausstellung zur Klangkunst unter dem Titel "sonambiente - Festival für Hören und Sehen", zu der ein Handbuch mit rund siebzig Biographien und Werken internationaler Klangkünstler und Projektgruppen erschien. (8) Im selben Jahr wurde in Berlin die öffentlich geförderte "singuhr hoergalerie" gegründet, die seitdem mehr als achtzig Ausstellungen von Klangobjekten, kinetischen Skulpturen, reinen klingenden Räumen und audiovisuellen Inszenierungen zeigte. (9) Von 2000 bis 2010 bestand in München unter dem Namen "t-u-b-e" eine öffentliche Galerie für radiophone Kunst, Installationen und Audio-Performances. (10)

Seit 2002 wird in dem auf Skulpturen der klassischen Moderne und Medienkunst spezialisierten "Skulpturenmuseum Glaskasten" in Marl alle zwei Jahre der "Deutsche Klangkunstpreis" verliehen. (11) Die dort gezeigte Ausstellung der Nominierten und der Preisträger ist auch während der international bekannten Kunstmesse "Art Cologne" in Köln zu sehen. 2004 veranstaltete die Kunsthochschule für Medien (KHM) in Köln über drei Wochen das Festival "Klangraum - Raumklang, Aspekte internationaler Klangkunst", zu dem ein Symposium, eine Ausstellung und zahlreiche Konzerte gehörten und über das 2010 ein umfangreiches Begleitbuch erschien. (12) 2006 zeigte die Akademie der Künste in Berlin die zweite und vorerst letzte Ausstellung mit dem Titel "sonambiente", diesmal mit dem Untertitel "klang kunst - sound art", in der an zahlreichen Orten der deutschen Hauptstadt Werke von rund 60 internationalen Künstlern und Projektgruppen und erstmals Arbeiten von Studenten der Klangkunst-Studiengänge an deutschen Kunst- und Musikhochschulen gezeigt wurden. Der 400 Seiten starke Katalog gilt heute ebenfalls als Handbuch der Klangkunst-Szene. (13)

Christina Kubisch mit ihrem Werk Magnetic Nets, )toon) Festival, Galerie de Schone Kunsten, Haarlem/Niederlande, 2006

An vier deutschen Hochschulen kann man heute einen Master-Studiengang "Klangkunst" studieren. Seit 1994 ist dies an der Hochschule der Bildenden Künste Saar (14) in Saarbrücken bei der Klangkünstlerin Christina Kubisch (*1948 Bremen) möglich, die dort eine Professur für „Plastik/Audiovisuelle Kunst“ vertritt. Kubisch selbst studierte 1967-68 Malerei an der Akademie in Stuttgart, 1969-72 Musik in Hamburg und Graz und Zürich (Zurich). 1974 übersiedelte sie nach Mailand und studierte dort bis 1976 Komposition und Elektronische Musik am Konservatorium sowie 1980-81 Elektronik am Technischen Institut. (15)

Ulrich Eller mit seiner Klangskulptur Gelenkte Resonanzen, Universität Flensburg, 2010

Seit 2004 unterrichtet Ulrich Eller (*1953 Leverkusen) an der Hochschule für Bildende Künste Braunschweig als Professor das Fach „Klangskulptur/Klanginstallation“ im Rahmen des Studiums Freie Kunst. (16) Eller studierte 1977-83 an der Hochschule der Künste Berlin. Seit 1994 war er Professor für Plastik, Raum und grenzüberschreitende künstlerische Inszenierung, seit 2001 Professor für Klangskulptur/Klanginstallation an der Fachhochschule Hannover.

Ulrich Eller: Himmelsleiter, 2007 (Detail, Höhe ca. 600 cm), Stahl, 64 Lautsprecher, Abspieltechnik, Kabel, Geräuschkomposition, Ausstellung Klangraum Flensburg, 2007

Seit 2004 kann man an der Universität der Künste Berlin den Aufbau-Studiengang „Sound Studies (Master of Arts)“ studieren. (17) Wählbare Schwerpunkte sind: Theorie und Geschichte auditiver Kultur, Kompetenz des Hörens, experimentelle Klanggestaltung, auditive Mediengestaltung, auditive Markenkommunikation und auditive Architektur. Leiter des Fachbereichs Experimentelle Klanggestaltung ist Professor Sam Auinger (*1956 Linz), der 2011 zum "Featured Artist" der "Ars Electronica" in Linz gewählt wurde. Der Komponist und Klangkünstler beschäftigt sich seit den frühen achtziger Jahren mit Fragen der Komposition, der Computermusik, des Sounddesigns und der Psychoakustik und arbeitet auch mit Stadtplanern und Architekten zusammen. (18)

Seit dem Wintersemester 2009/10 ist es an der Hochschule für Musik der Johannes-Gutenberg-Universität in Mainz möglich, einen Master-Abschluss im Fach "Klangkunst-Komposition" zu erwerben. (19) Der Studiengang bei dem Komponisten und Klangkünstler Peter Kiefer (*1961 Aachen) vereinigt Strömungen der Neuen Musik, der elektronischen Komposition, der Klangkunst, der audiovisuellen und der radiophonen Kunst. Kompositorische Ansätze werden mit dem Schwerpunkt auf räumlichen und intermediären Strategien erforscht, Raum- und Klanginstallationen ebenso wie performative Konzepte und mediale Verwirklichungen entwickelt. Kiefer selbst studierte Komposition und klassisches Schlagwerk an der Hochschule für Musik und Tanz Köln sowie Musik-, Theaterwissenschaft und Philosophie an der Universität Köln. (20)

Ferdinand Försch, Hamburg, mit selbst gebauten Schlaginstrumenten, 2000

Nicht erst seit den großen Ausstellungen gilt die Klangkunst auch bei Kuratoren kleinerer Museen als sicherer Garant für einen Publikumserfolg. Häufig werden in kleinen Städten, die abseits der großen Kunstzentren liegen, Festivals veranstaltet, die aus einer Ausstellung in einem Museum, Klanginstallationen in Parks und auf Plätzen sowie Konzerten und Performances bestehen. Das Interesse beim Publikum ist offenbar deshalb so hoch, weil die Klangkunst gleich mehrere Interessengebiete des gebildeten Bürgertums anspricht: die klassische Musik, die bildende Kunst, die Funktion von Musikinstrumenten ebenso wie von moderner Technik und Elektronik. Werke der Klangkunst sind häufig interaktiv, das heißt sie können durch Knopfdruck in Bewegung gesetzt, vom Besucher beeinflusst oder manuell bespielt werden. Sie sind daher auch bei Kindern beliebt. Kinder ebenso wie Erwachsene sind fasziniert von sich bewegenden, ratternden und tutenden Maschinen, die merkwürdige Klänge hervorbringen oder von Künstlern wie dem Komponisten und Schlagzeuger Ferdinand Försch (*1951 Bad Brückenau), der auf selbst gebauten und elektronisch verstärkten Schlaginstrumenten Konzerte gibt und sich neben seiner künstlerischen und musikalischen Arbeit auch auf Workshops mit Kindern spezialisiert hat.

Edmund Kieselbach: Klangsäulen mit Kindern aus dem Publikum, Neckarwerke Esslingen, 1990, Foto: Renata Grasshoff-Kieselbach

Edmund Kieselbach mit seiner Arbeit Klangsäulen, 1985

Edmund Kieselbach: Rauminstallation I, 1987, Welt-Musik-Tage, Leopold-Hösch-Museum, Düren (zusammen mit Klaus Geldmacher), Foto: Renata Grasshoff-Kieselbach

Zahlreiche Künstler produzieren sowohl kleinere Klangobjekte als auch große raumfüllende Installationen, komponieren und machen Performances. Edmund Kieselbach (1937-2007) beispielsweise, der sich erst nach seinem Kunststudium in Hannover autodidaktisch mit Klangkunst beschäftigte, wirkte in den siebziger Jahren an großen Multimedia-Opern mit, entwickelte seit 1987 raumfüllende Installationen aus Licht- und Klangobjekten und beschäftigte sich in seinen letzten Lebensjahren mit der Erforschung des Hörens und mit Kompositionen neuer Musik. Der jüngere Christof Schläger (*1958 Bytom/Polen) wurde durch elektronisch und pneumatisch gesteuerte Klangmaschinen bekannt, die er zu selbst spielenden Rauminstallationen kombiniert und auf denen er computergesteuerte Konzerte veranstaltet. Schläger siedelte 1968 von Polen nach Deutschland über und studierte in Herne 1978-82 Verfahrenstechnik und Bauingenieurwesen. 1984 baute er seine erste Klangskulptur. Als einer der bedeutendsten europäischen Klangkünstler, der heute in Herne und Amsterdam lebt, ist er im Bereich der Kunst und der Musik eigentlich Autodidakt. 2007 entwickelte er für die kleine norddeutsche Hafenstadt Flensburg anlässlich einer Klangkunst-Ausstellung ein Hornkonzert, das mit seinen selbst gebauten Klangmaschinen und mit druckluftgesteuerten Schiffshörnern von mehreren Seiten des Ostseehafens aus gleichzeitig zu hören war.

Christof Schläger: Sound Forest II, 2007, Foto: Georg Schläger

Christof Schläger: Horn Concert for Flensburg, 2007, Fotomontage: Christof Schläger, Georg Schläger

Die Klangkunst-Szene in Deutschland wie auch in zahlreichen anderen Staaten Europas wie Spanien, Frankreich, Holland und Belgien ist heute außerordentlich vielfältig. Jährlich finden zahlreiche Ausstellungen, Festivals und Symposien statt. Im Rückblick scheint es, als hätte sich diese Kunstgattung in den achtziger und neunziger Jahren aus dem Bereich der Ausstellungen, Festivals, Museen und Publikationen heraus neu gebildet und nicht etwa aus dem Bereich der Kunst selbst. Erinnern wir uns, dass Gordon Monahan am Anfang nicht von zwanzig sondern von fünfzig Jahren sprach, seit es Klangkunstwerke gibt? Will man die Geschichte der Klangkunst richtig und von Anfang an erzählen, so beginnt man mit dem Komponisten John Cage, der in den 1940er Jahren Kompositionen für präpariertes Klavier (Prepared Piano) schuf, sowie den Klang-Events und Fluxus-Konzerten der fünfziger und sechziger Jahre. Bei John Cage haben einige der heutigen Klangkünstler studiert. Viele andere berufen sich auf ihn. Diese Geschichte erzählen wir im zweiten Teil des Artikels.

(1) Mitschrift aus der Performance von Gordon Monahan: "Theremin in the Rain", Berlin, Hamburger Bahnhof, 1./2.12.2005, zitiert nach: Ausstellungs-Katalog "sonambiente berlin 2006, klang kunst, sound art", hrsg. von Helga de la Motte-Haber und anderen, Akademie der Künste, Berlin 2006, S. 286

(2) http://www.electric-eclectics.com/

(3) MIDI = Musical Instrument Digital Interface, vgl. http://en.wikipedia.org/wiki/MIDI ; verwendet wird in der Installation ein Disklavier von Yamaha, vgl. http://en.wikipedia.org/wiki/Disklavier

(4) Im September 2007 wurde die Installation "Airlift Piano" (1988/2006) erneut auf der vom Autor dieses Artikels kuratierten Ausstellung "Klangraum Flensburg" in Flensburg gezeigt (http://artpositions.blogspot.com/2011/08/klangraum-flensburg-2007.html) . Biograpie, Werkbeschreibungen und Klangbeispiele von Gordon Monahan findet man auf seiner Webseite http://www.gordonmonahan.com/.

(5) entfällt

(6) The Kitchen, Center for video, music, dance, performance, film, and literature, http://thekitchen.org/

(7) 2005 gab The Kitchen Archives bei dem Musiklabel Orange Mountain Music eine CD mit Archivmaterial des Festivals "New Music, New York 1979" heraus. Zahlreiche Hörbeispiele können auf folgender Webseite abgerufen werden http://www.jpc.de/jpcng/jazz/detail/-/art/From-The-Kitchen-Archives-New-Music-New-York-1979/hnum/4779968 . 2004 feierte "The Kitchen" den 25. Jahrestag des Ereignisses mit einem weiteren Festival unter dem Motto "New Sound, New York", das mit Performances, Installationen und Gesprächsveranstaltungen neue Arbeiten von Klangkünstlern präsentierte, denen es um die Verbindung von Musik, Architektur und Bildender Kunst ging.

(8) Klangkunst, hrsg. von der Akademie der Künste, Berlin, Prestel-Verlag, München, New York 1996

(9) http://www.singuhr.de/

(10) http://www.t-u-b-e.de/

(11) http://www.klangkunstpreis.de/

(12) Klangräume der Kunst, hrsg. von Peter Kiefer, Kehrer Verlag, Heidelberg 2010

(13) sonambiente berlin 2006, klang kunst - sound art, hrsg. von Helga de la Motte-Haber und anderen im Auftrag der Akademie der Künste, Berlin, Kehrer Verlag, Heidelberg 2006. Zu allen Handbüchern und Katalogen sind auch CDs oder DVDs erschienen.

(14) http://www.hbksaar.de/1064.html

(15) http://www.christinakubisch.de/

(16) http://fk1.hbk-bs.de/index.php?id=11

(17) http://www.udk-berlin.de/sites/soundstudies/content/index_eng.html

(18) http://www.samauinger.de/

(19) http://www.musik.uni-mainz.de/1622_DEU_HTML.php

(20) http://www.peter-kiefer.de/

September 11, 2011

Olafur Eliasson

Axel Feuss:
EXPERIMENT AND CERTAINTY IN THE WORK OF
OLAFUR ELIASSON















   

















in: Fine Art Magazine, Vol. 8, No. 81, Chiang Mai/Bangkok, July 2011, p. 22-27

(for German please scroll down)

การค้นคว้ากับความแน่ใจ คือศิลปะของ Olafur Eliasson (โอลาฟัวร์ เอเลียซอน)

Text: Dr. Axel Feuss แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ


ภาพเหมือนของ Olafur Eliasson, 2010 © Olafur Eliasson

ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 15 ปี Olafur Eliasson (โอลาฟัวร์ เอเลียซอน) ศิลปินชาวเดนมาร์กก็สามารถก้าวขึ้นเป็นศิลปินระดับแนวหน้าของวงการศิลปะร่วมสมัยได้ Eliasson เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน (Copenhagen)ในปี ค.ศ. 1967 พ่อแม่เป็นชาวไอซ์แลนด์ (Iceland) จึงไปเติบโตในประเทศไอซ์แลนด์ และที่เมืองท่าโฮล์เบค (Holbaek)ในประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 ถึง 1995 เขาได้เข้าศึกษาณ สถาบันศิลปะ Royal Danish Academy of Fine Arts แห่งกรุงโคเปนเฮเกน ในปี ค.ศ. 1995 เขาได้ขยับขยายมีห้องทำงานศิลปะ (studio) ส่วนตัวที่กรุงเบอร์ลิน ซึ่งมีผู้ร่วมงานถึง 35 คน จึงเรียกได้ว่าเป็นสถาน ที่ผลิตผลงานศิลปะทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการศิลปะตะวันตก ส่วนปัจจุบันนี้ศิลปินและครอบครัวพำนักอยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน

Olafur Eliasson: The New York City Waterfalls ค.ศ. 2008, ภาพ: http://www.nyfalls.com/

ผลงาน "The Weather Project" ที่ Olafur Eliasson จัดวาง ณ Tate Modern แห่งกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2003 สามารถดึงดูดผู้คนให้เข้ามาร่วมชมผลงานได้ถึง 2 ล้านคน แต่ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือโครงการสำหรับสาธารณะชน "The New York City Waterfalls" ซึ่งจัดแสดงกันตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมในป��స�.ศ. 2008 และใช้เงินทุนในการสร้างผลงานมากมายมหาศาลถึง 15.5 ล้านดอลลาร์ ที่ได้มาจากกองทุนศิลปะเอกชน และมีการประเมินอย่างเป็นทางการว่า มีผู้มาเยี่ยมชมผลงานนี้ถึง 1.4 ล้านคน อีกทั้งยังเชื่อว่าผลงานชิ้นนี้สามารถทำรายได้ให้แก่นครนิวยอร์คถึง 69 ล้านดอลลาร์ (1) สำหรับตัวผลงาน ศิลปินได้เลือกจัดวางน้ำตกในโครงการนี้ถึงสี่แห่งด้วยกันคือ หน้าเกาะโกเวอร์เนอรส์ไอส์แลนด์ (Governors Island) สะพานบรูคลิน (Brooklyn Bridge) สะพานแมนแฮตตัน (Manhattan Bridge) และหน้าทางเดินเล่นของบรูคลิน (Brooklyn Promenade) โดยใช้โครงเหล็กและเครื่องปั้มน้ำสำหรับสูบน้ำให้มีความสูงระหว่าง 90 ถึง 120 ฟุต ซึ่งได้ตั้งเวลาเปิดเครื่องสูบน้ำสำหรับน้ำตกในช่วงบ่ายแก่ๆของทุกวัน และเชื่อกันว่าได้ใช้แต่เทคนิคก่อสร้างที่ไม่เป็นพิษภัยต่อสภาพแวดล้อมเท่านั้น (2) แต่กระนั้นก็ยังสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมจนได้ เนื่องมาจากน้ำทะเลที่พุ่งขึ้นสูงนั้น ได้สาดกระเซ็นไปถูกต้นไม้ ดอกไม้ที่อยู่ข้างทางและในสวนสาธารณะ และทำความเสียหายแก่พืชพันธ์ที่อยู่ในละแวกไกล้เคียง จนทำให้ต้องลดเวลาเปิดเครื่องสูบน้ำ จาก 101 ชั่วโมงต่อหนึ่งอาทิตย์ ให้เหลือเพียงครึ่งเดียว และในขณะเดียวกันต้องรดน้ำต้นไม้และดอกไม้เพิ่มขึ้น เพื่อชำระน้ำทะเลออก (3)

นิทรรศการต่อมาของ Olafur Eliasson ที่มีชื่อว่า "Take Your Time" นั้น เริ่มจัดแสดงมาตั้งแต่ San Francisco Museum of Modern Art ในปี ค.ศ. 2007 และมาสิ้นสุดลงที่ Museum of Modern Art ณ กรุงนิวยอร์คในปี ค.ศ. 2008 ต่อมาปีค.ศ. 2010 Eliasson ก็ได่นำผลงานที่มีชื่อว่า "Innen Stadt Außen" ("Inner City Out") มาแสดงที่หอศิลป์ Martin-Gropus-Bau แห่งกรุงเบอร์ลิน และนับเป็นครั้งแรกที่เขาแสดงนิทรรศการเดี่ยวในประเทศเยอรมันนี Olafur Eliasson เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน (Berlin University of the Arts) ตั้งแต่ปีค.ศ. 2008 และที่นั่นเขาก็ได้ก่อตั้งสถาบันทดลองใช้พื้นที่เพื่อการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นรายวิชาเสริม ที่เพิ่มเติมขึ้นจากวิชาหลักที่มหาวิทยาลัยศิลปะจัดให้มีการเรียนการสอนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว (4) นอกจากสูจิบัตรจากนิทรรศการต่างๆที่เขาเคยแสดงนานาประเทศมาตั้งแต่ค.ศ. 1997 ก็ยังมีหนังสื่อเกี่ยวกับผลงานจากสตูดิโอของศิลปินใน "Studio Olafur Eliasson" ของTaschen-Verlag ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในปีค.ศ. 2008 ในหลายภาษา และมีขนาดใหญ่มโหฬารถึง 30 x 40 ซ.ม. มีความยาวรวมทั้งสิ้น 528 หน้า และมีน้ำหนักหลายกิโลกรัม จึงไม่เหมาะสำหรับวางบนหิ้งวางหนัง สือใดๆ (5) และทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ศิลปินมีโครงการนี้เพื่อจุดประสงค์ใด และเหตุใดนิทรรศการและผลงานจัดวางของเขาจึงต้องยิ่งใหญ่อลังการสำหรับสาธารณะชนเสมอ

แหล่งผลิตผลงานต่อมาของ Eliasson ที่เขาย้ายไปตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 นั้นมีลักษณะเหมือนเป็นโกดังขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงเบอร์ลิน ไกล้ๆกับหอศิลป์ศิลปะร่วมสมัย "Hamburger Bahnhof - Museum für Gegenwartskunst" ซึ่งมีทั้งศิลปิน วิศวกร ช่างเทคนิค นักประวัติศาสตร์ศิลป์ และกลุ่มสถาปนิก 10 คนทำงานร่วมกัน และนอกจากจะเป็นทั้งโรงผลิตและสำนักงานแล้ว ก็ยังมีห้องทำงานของศิลปิน (studio) ตั้งอยู่ด้านบนของโกดังอีกห้องหนึ่ง ซึ่งใช้ สำหรับตั้งเครื่องวัดระยะของพื้นที่และเวลา ที่ใช้เป็นเครื่องทดลองเบี่ยงเบนแสง โดยใช้กระจกหรือแก้วปริซึม ที่มีรูปทรงและสีต่างๆ สร้างเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งให้มีลักษณะเหมือนด้านนอกของอาคาร เพื่อเป็นการทดลองจัดวางผลงาน ภายในห้องทำงานแห่งนี้ล้วนเต็มไปด้วยบรรยากาศของการทดลองจัดวาง และแทบไม่ต่างกันกับผลงานที่นำมาแสดงอย่างใด เพราะวัสดุที่เขาจัดวางส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนต่างๆที่ได้มาจากการค้นคว้าในห้องทำงานของเขานั่นเอง (6)

จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ผลงานของ Olafur Eliasson มักมาจากแนวคิดที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน แต่ผลงานที่สาธารณะชนสนใจและประทับใจมากที่สุดคือ ผลงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ซึ่งมีการแปรสภาพปรากฏการณ์ของธรรมชาติต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมหยั่งสัมผัส ตัวอย่างเช่น ผลงานจัดวาง "The Weather Project" ในปึ ค.ศ. 2003 ที่จัดแสดงไว้ณ Tate Modern แห่งกรุงลอนดอน ภายในผลงานประกอบไปด้วย หมอก ดวงอาทิตย์ที่ดูเหมือนลอยเด่นอยู่กลางห้อง และจินตนาการของผู้ชม ที่ได้มาจากปรากฏ การณ์ต่างๆภายในพื้นที่จัดวางอันเวิ้งว้าง โดยผนังด้านหลังของปลายห้องโถง มีหลอดไฟฟ้าสองร้อยดวงจัดวางเป็นรูปครึ่งวงกลมติดกับผนังด้านบนที่มีกระจกติดอยู่ และทำให้ไฟครึ่งวงกลมนั้นกลายเป็นดวงไฟวงกลมขนาดใหญ๋เหมือนดวงอาทิตย์ เมื่อผู้ชมเดินเข้าห้องแสดงงานก็จะเกิดจินตนาการขึ้น และเห็นดวงอาทิตย์ขนาดใหญ่ถูกหมอกจางๆ ปกคลุมไปทั่ว เมื่อผู้ชมนอนบนพื้นก็จะเห็นเพดานสูงถึง 60 เมตร อันเป็นภาพลวงตาที่เกิดจากภาพสะท้อนของกระจก แต่เมื่อผู้ชมเดินเข้าไกล้หรืออยู่ที่ชั้นบนของห้องโถงจัดวาง จึงจะเห็นรายละเอียดของโครงสร้างจากฉากจัดวางนี้ ซึ่งเป็นเจตจำนงค์ของศิลปินที่ต้องการให้ผู้ชมเห็นภาพลวงตาเหล่านั้น อันมีแนวคิดไกล้เคียงกับผลงานชื่อ "Double Sunset" ที่ศิลปินเคยจัดแสดงที่เมืองยูเทรกท์ (Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) ในปี ค.ศ. 1999 โดยใช้วัสดุแผ่นลูกฟูกทำจากโลหะสีเหลือง ซึ่งมีรูปทรงเป็นวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 38 เมตรไปติดตั้งบนหลังคาโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาพลบค่ำแสงไฟจะสว่างกระจายทั่วไปทั่วเมือง เสมือนหนึ่งยังมีพระอาทิตย์อีกดวงหนึ่งในยามค่ำ เมื่อพระอาทิตย์จริงตกดินไปแล้ว

Olafur Eliasson: The Weather Project, Tate Modern, London ค.ศ. 2003, ภาพ: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery,
New York © Olafur Eliasson

"The New York City Waterfalls" (2008) ก็จัดได้ว่าเป็นผลงานที่มีสาระเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรม ชาติ เช่นเดียวกับผลงานที่ทำด้วยโครงวัสดุขนาดเล็กประกอบเป็นน้ำตก ซึ่งจัดแสดงที่หอศิลป์แห่งเมืองโคโลญ (Cologne) ในปีค.ศ. 1998 และมหกรรมงานแสดงศิลปะ Biennale ครั้งที่ 11 แห่งเมืองซิดนีย์ (Sydney) ประเทศออสเตรเลีย ในปีค.ศ. 2000 ณ เมืองกราซ (Graz) ประเทศออสเตรีย ในปีค.ศ. 2001 ที่ "Zentrum für Kunst und Medientechnologie" (ZKM) แห่ง Karlsruhe และ ปีค.ศ. 2004 หอศิลป์ที่ Aarhus ประเทศเดนมาร์ก (Denmark) ทั้งหมดนี้มีชื่อผลงานว่า "Waterfall" ซึ่ง Eliasson ได้จัดฉากน้ำท่วมที่มีทางน้ำยาวถึง 1.5 กิโลเมตร ในมหกรรมงานแสดงศิลปะ Biennale ครั้งที่ 2 แห่งเมือง Johannesburg และตั้งชื่อว่า "Erosion" อันเป็นทางน้ำท่วมที่ไหลผ่านภายในตัวเมือง และนำพาดินโคลน ใบไม้และขยะลอยตามน้ำมาด้วย ระหว่างค.ศ. 1998 ถึง 2001 Eliassonได้จัดฉากแม่น้ำ "Green River" แสดงที่เบรเมน (Bremen) ประเทศเยอรมันนี ตามด้วยเมืองโมสส์ (Moss) ในประเทศนอร์เวย์ (Norway) ที่ประเทศไอซ์แลนต์ (Iceland) ที่นครลอสแอนเจลิส (Los Angeles) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมืองสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน และที่โตเกียว (Tokyo) ในประเทศญี่ปุ่น ให้ดูเหมือนเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ โดยใส่สารเคมีอย่างหนึ่งที่ทำให้แม่น้ำจัดวางมีสีเขียว และทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดอาการตื่นตะหนก วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา และในปีค.ศ. 1999 เขาก็จัดฉากแสดงปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นอีกหนึ่ง คราวนี้เป็นพายุทราย ชื่อ "The Sandstorm Park" จัดแสดงที่ "MIT List Visual Arts Center" แห่งแคมบริดจ์ (Cambridge) แห่งสหรัฐอเมริกา และติดตามด้วยการใช้เครื่องทำพายุและหมอก สร้างลมพายุสลาตัน (tornado) ภายในหอศิลป์ “Galerie neugerriemschneider” ที่กรุงเบอร์ลิน โดยให้ชื่อผลงานว่า "The things that you don’t see that you don’t see" จากนั้นก็จัดแสดงผลงานที่ "Musée d’Art Moderne" แห่งกรุงปารีสในปี ค.ศ. 2002 และ "Museo Nacional Centro de Arte Reina Sofia" ที่กรุงมาดริด(Madrid) ประเทศเสปนในปีค.ศ. 2003 โดยนำหินภูเขาไฟจากประเทศไอซ์แลนด์ (Iceland) จำนวนหลายตันมาวางให้ผู้ชมสามารถเดินข้ามไปศึกษาดูได้ และแล้วปีค.ศ. 2005 Eliasson ก็ได้สร้างลำธารสายหนึ่งที่เมือง Zug ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ โดยจัดวางให้ลำธารสายนี้ไหลผ่านถนนและกำแพงเมืองมุ่งเข้าสู่ภายในหอศิลป์และออกมาบรรจบกับต้นลำธารอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งศิลปินตั้งชื่อผลงานว่า "The Body as Brain"

Olafur Eliasson: Green River, Moss, Norway ค.ศ. 1998, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson ได้ใช้วิธีการดังกล่าวปลุกจิตสำนึกของผู้ชม เพื่อให้พวกเขาสังเกตเห็นปรากฏ การณ์ประหลาดของธรรมชาติได้ดีขึ้น โดยจัดฉากให้ดูแปลกไปจากความเป็นจริงและนำมาแสดงในสถาน ที่ผิดแปลกจากความเคยชิน ซึ่งทำให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจกับการจัดวางแบบนี้ เพราะแรกเริ่มเดิมทีพวกเขาอาจมั่นใจว่าจะสามารถเข้าใจผลงานเหล่านี้ได้ แต่ก็เกิดอาการเอะใจขึ้นว่านี่คือพระอาทิตย์ตกดินหรือไม่ใช่กันแน่ ซึ่งแน่นอน ย่อมเกิดคำถามตามมาว่า แท้ที่จริงแล้ว พวกเขาตรึงใจกับความอลังการและความมโหฬารของผลงานจัดวางที่มีลักษณะเหมือนธรรมชาติตามนครหลวงต่างๆในโลกนี้มากกว่า หรือมีความประทับใจกับภาพพระอาทิตย์ตกดินบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศโมร็อกโก (Morocco) ภาพพระอาทิตย์ตกดินที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงที่เชียงคานในประเทศไทย หรือที่หลวงพระบางในประเทศลาว หรือมีความประทับใจจากการชมน้ำตกไนแอการา (Niagara Falls) ที่อยู่ระหว่างเขตแดนประเทศสหรัฐ อเมริกาและประเทศแคนาดามากกว่ากัน ทั้งๆที่การจัดวางจำลองธรรมชาติเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพงก็ตาม

ผลงานรูปทรงเรขาคณิตย์ต่างๆที่ Eliasson และทีมของเขาเคยทดลองสร้างสรรค์มา ต่างก็เป็นผลงานที่ทำให้พวกเราเกิดความมั่นใจได้ว่า ส่วนใหญ่พวกเราเคยรู้จักมันมาแล้ว แก่นแท้ของการทดลองนี้ก็คือ เพื่อรวบรวมหารูปทรงหน้าหลายเหลี่ยม ที่ Eliasson กับเพื่อนศิลปินและสถาปนิกชาวไอซ์แลนด์ Einar Thorstein เคยพัฒนาร่วมกันมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นการค้นหาโครงสร้างของรูปทรงในมิติต่างๆ เช่น รูปทรงกลม รูปทรงผลึก รูปทรงหกเหลี่ยม และรูปทรงหลายเหลี่ยมที่มีหน้าตัดแบบเจียระไน ซึ่งศิลปินได้นำมาจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อ "Model Room" ตั้งแต่ปีค.ศ. 2003 ซึ่งเมื่อดูเผินๆก็จะทำให้ระลึกถึงผลงานของศิลปินในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) คือผลงานค้นคว้าของชาวเวียนนา Wenzel Jamnitzer (ค.ศ.1508-1585) ผู้ทดลองหาค่าของพื้นที่สามมิติ (Stereometry) เช่นผลงาน "Perspectiva Corporum Regularium" ในปีค.ศ.1568 หรือผลงานทดลองหารูปทรงเหลี่ยมหลายหน้า (polyhedric) ของจิตรกรชั้นครูชาวอิตาเลี่ยนในยุคเดียวกัน และจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็ยังมีช่างฝีมือชั้นเยี่ยมทั้งหลายผลิตผลงานเชิงหัตถศิลป์ในรูปแบบนี้ด้วยไม้หรืองาช้าง เพื่อให้เจ้าครองเมืองต่างๆในยุโรปตั้งแสดงตามห้องสะสมสมบัติล้ำค่า (7) แต่วิธีศึกษาค้นคว้าของ Eliasson นั้นแท้ที่จริงก็เป็นการสะท้อนค่าคติแบบ "หลังสมัยใหม่" (postmodernism) ที่เข้าใจว่าผลงานลักษณะเหล่านี้ได้สูญหายไปแล้ว ซึ่งจะหาดูได้จากผลงานของEliasson ไม่ว่าจะใช้วิธีการชมด้วยตาอย่างเดียว หรือจะเดินชมพื้นที่ ภายในของผลงานจัดวางต่างๆ ที่มีหน้าตัดแบบแก้วเจียระไนและใช้กระจกติด เช่นผลงาน "Your Now is my Surroundings" ในปีค.ศ. 2000 หรือที่ใช้กระจกเจียระไนสร้างเป็นอุโมงค์ทั้งอุโมงค์ ชื่อ "Your Spiral View" ของปี ค.ศ. 2002

Olafur Eliasson สร้างสรรค์ร่วมกับ Einar Thorsteinn: Model Room ค.ศ. 2003, ภาพ: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Your Spiral View ค.ศ. 2002, Boros Collection, Berlin, ภาพ: Jens Ziehe © Olafur Eliasson

ผลงานบางชุดของ Olafur Eliasson นั้นบ้างก็มีลักษณะเหมือนภาพคาไลโดสโคป (kaleidoscope) ทีศิลปินสร้างให้มีขนาดยาวถึง 7 เมตรและมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2เมตร แขวนแสดงกลางห้องภายใต้ชื่อ ผลงานว่า "Kaleidoscope" ในปี ค.ศ. 2001 อันเป็นสิ่งที่ประดิษฐ์กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังหาซื้อได้ตามร้านค้าของระลึกทั่วไปในปัจจุบัน หรือผลงานที่มีโครงสร้างเหมือนลวดลายเจียระไน ชื่อ "Mikroskop" อันเป็นผลงานที่ Eliasson เคยจัดวางไปในปีค.ศ.2010 ที่หอศิลป์ "Martin-Gropius-Bau" ในกรุงเบอร์ลิน นั่นเป็นเพราะศิลปินต้องให้ผู้ชมตระหนักถึงการรับรู้ของมนุษย์เราว่า ที่จริงแล้วฐานของการรับรู้ของพวกเรานั้นมาจากการเห็นด้วยสายตาเท่านั้น ซึ่งพวกเราก็มีปฏิกิริยาตอบสนองผลงานเหล่านี้อย่างกระตือรือร้นทั่วไป และตื่นตาตื่นใจไปกับการมีส่วนร่วมกับผลงานเชิงสถาปัตยกรรมในยุค "หลังสมัยใหม่" (postmodernism) เหล่านี้ ซึ่งศิลปินได้สร้างให้มีลวดรายซ้ำเป็นจังหวะ (stereometrics) และมีโครงสร้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (rhombus) และสามเหลี่ยมแบบพีระมิด (Pyramid) ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในผลงาน "Flower Pavilion" ของปีค.ศ. 2003 ซึ่งเคยจัดแสดงที่สวนสาธารณะแห่งเมือง Shenzen ประเทศจีน และผลงานที่มีลักษณะเป็นโคมไฟที่มีรูปทรงเป็นเกลียวและรูปทรงกลม ซึ่งมีพื้นผิวเป็นรูป ทรงเหลี่ยมแบบเจียระไนที่แขวนในโรงละครอุปรากรที่สร้างใหม่ ณ กรุงโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ชื่อ "Opera House Chandeliers" ค.ศ. 2004 หรือรูปทรงเหลี่ยมแบบขนมเปียกปูนขนาดมหึมา สร้างขึ้นจากกระจกที่ด้านหน้าอาคารของศูนย์แสดงคอนเสิร์ตและศูนย์ประชุม"Harpa Reykjavik" แห่งเมือง Reykjavik ประเทศไอซ์แลนด์ (Iceland) ที่จะเปิดเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ศกนี้

Olafur Eliasson: Mikroskop, 2010, โครงเหล็ก, พลาสติกเป็นรูปเกลียว, อลูมิเนียม, ขนาด 17,7 x 18,5 x 27,1 เมตร, ภาพ: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Opera House Chandeliers ค.ศ. 2004, New National Opera, Copenhagen, Denmark, ภาพ: Silke Heneka © Olafur Eliasson

ผลงานจัดวางต่างๆของ Eliasson ดูค่อนข้างง่ายเหมือนเด็กนักเรียนทดลองสร้าง ดังเช่นในผลงานที่ชื่อว่า "Tell Me About a Miracoulous Invention" ในปี ค.ศ. 1996 ที่ใช้ไฟแรงสูงส่องเป็นสีต่างๆประกอบกับแผ่นพลาสติกและกระจก ซึ่งมีลักษณะเดียวกับทฤษฏีของ Otto von Guericke (ค.ศ. 1602-1686) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่ได้เขียนบันทึกไว้ในปี 1672 เกี่ยวกับการค้นพบปรากฏการณ์ของ "สีในร่มเงา" อันเป็นผลงานจัดวางด้วยวัสดุที่ทำจากแผ่นแก้วที่ด้านหลังนั้นส่องประกายแสงสีแดง เหลืองและน้ำเงิน ซึ่งแนวคิดส่วนหนึ่งได้หยิบยืมมาจาก Barnett Newman โดยตั้งชื่อผลงานว่า "Who is afraid" (9) ค.ศ. 2004 อันเป็นผลงานที่ไม่แสดงสิ่งใดเลย นอกจากฉายภาพที่ประกอบด้วยแม่สีทั้งสามสี ช่วงกลางว่างเป็นสีขาว ส่วนผลงานจัดวาง "Your Blue/Orange Afterimage Exposed" แสดงที่หอศิลป์ในนครโตเกียว (Tokyo) ในปีค.ศ. 2000 เป็นภาพฉายแสงรูปทรงสีเหลี่ยมจตุรัสทั้งสีส้มและสีน้ำเงินบนผนังเพียงแค่ 10 วินาที แต่หลังจากที่แสงสีเหลี่ยนจตุรัสนั้นดับลงแล้ว สีตรงข้ามก็ยังติดตาผู้ชมอยู่ อันเป็นปรากฏ การณ์ที่หาอ่านได้ทั่วไปในหนังสือวิชาการเด็ก ซึ่งไม่แตกต่างกันแต่อย่างใดกับผลงานชื่อ "Pedestrian Vibes Study" ในปีค.ศ.2004 ที่จับการเคลื่อนไหวของคนเดินข้างทางแต่ละตอนเป็นภาพถ่ายขาว-ดำต่อเนื่องรวมทั้งสิ้น 16 ภาพ และมีลักษณะทำนองเดียวกับภาพถ่ายของช่างภาพชาวอังกฤษ Eadweard Muybridge (10) (1830-1904) ได้เคยทดลองศึกษาไว้

Olafur Eliasson: Your Space Embracer, 2004, ภาพ: Carl Henrik Tillbergs, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eilasson สร้างสรรค์ร่วมกับ Boris Oicherman: Your Uncertainty of Colour Matching Experiment, 2006, ภาพ: Michael Franke © Olafur Eliasson

ผลงานชุดต่อมาที่น่าสนใจคือการจัดวางเป็นกระโจม (pavilion) ที่มีโครงสร้างรูปทรงเชิงเรขา คณิต และเป็นผลงานที่สาธิตให้เห็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติในรูปแบบแปลกๆ เช่น "The Glacier House" ในปีค.ศ. 2005 ซึ่งมีความสูงถึง 5 เมตร และมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกที่มีโครงสร้างเป็นวงเกลียว ซึ่งทำจากท่อเหล็กขนาดเล็ก เลียนแบบทัศนธาตุของน้ำแข็งตามธรรมชาติ เมื่ออากาศมีความเย็นถึง 0 องค์ศา น้ำก็จะพ่นออกมาจากระบบพ่นน้ำ กลายเป็นน้ำแข็งจับเกาะโครงเหล็กของกระโจมดูน่าอัศจรรย์ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งเช่น "Fragant Tunnel" ในปีค.ศ. 2000 และ "Scent Tunnel" ในปี ค.ศ. 2004 ซึ่งใช้ท่อเหล็กขนาดเล็กเป็นโครงสร้างเช่นกัน เพื่อให้ไม้เลื้อยหรือไม้ประดับจัดวางเป็นรูปทรงเกลียววนรอบผู้ชม ซึ่งทำให้นึกถึงผลงานรูปแบบกระโจมของอาจารย์มณเฑียร บุญมา (พ.ศ. 2496-2543) ศิลปินร่วมสมัยชาวไทยที่มีชื่อโด่งดังไปทั่ว ทั้งในทวีปยุโรปและนานาชาติ เป็นผลงานจัดวางที่สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1992 ทั้งในบริเวณสวนสาธารณะและในหอศิลป์ ให้มีผนังห้องเป็นครึ่งวงกลม ที่ดูเสมือนหนึ่งอุ โมงค์หรือห้องวิปัสสนา ภายในมีต้นมะลิและพันธ์ไม้หอมอื่นๆส่งกลิ่นหอมตลบอบอวน เพื่อเป็นการสงบจิตในระหว่างวิปัสสนา บนผนังมีสมุนไพรติดอยู่ทั้วไป ผู้ชมสามารถหลบไปด้านหลังของกำแพงเชือกที่ทำจากใบสมุนไพร เพื่อหามุมสัมผัสกับบรรยากาศภายใน ก่อนเปิดจิตวิญญาณให้คอยรับเสียงและกลิ่นที่ให้ความรู้สึกสงบ (11) เช่นเดียวกับผลงาน "Quasi Brick Wall" ในปีค.ศ. 2002 ของ Eliasson ซึ่งใช้ดินเหนียวทำเป็นผนังประดับรอบนอกด้วยกระจก และมีลักษณะเหมือนผนังครึ่งวงกลมของอาจารย์มณเฑียร ที่นำเครื่องปั้นดินเผามาจัดวางซ้อนกันให้มีรูปทรงเหมือนระฆัง (12) และที่น่าประหลาดใจที่สุด คือผลงานที่มีชื่อว่า "Dream House" ในปีค.ศ. 2008 ของ Eliasson ที่มีโดมตั้งอยู่บนเสา และภายใต้เสาผู้ชมสามารถดูปรากฏการณ์ต่างๆได้ เช่นเดียวกับภาพร่างของอาจารย์มณเฑียรที่เคยร่างไว้ในปีค.ศ. 1998 ขณะที่ท่านกำลังได้ทุนการศึกษาที่สถาบันศิลปะ "Akademie Schloss Solitude" ณ เมือง Stuttgart ประเทศเยอรมันนี โดยมีรูปประติมากรรม 6 ชิ้นตั้งบนเสา ที่อาจารย์มณเฑียรออกแบบขึ้น ยามที่ผู้ชมยืนชมใต้รูปประติมา กรรมก็จะเห็นภายในมีแสงไฟส่องสะท้อนสู่ฝาห้องด้านบนเป็นรูปดาว (13) ซึ่งเทียบได้กับบรรยากาศภายในโบสถ์ของคริสตจักรนิกายโรมันคาธอลิก

Olafur Eliasson: The Glacier House, 2005, เป็นสมบัติของเอกชน, ภาพ: Andrew Gellatly © Olafur Eliasson

แต่นั่นอาจเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไป เพราะผลงานของ Eliasson มีเอกลักษณ์พิเศษต่างกันคือ มีความมโหฬารเทียบเท่าธรรมชาติจริง และเต็มไปด้วยมโนทัศน์ที่อลังการด้วยเช่นกัน อีกประการหนึ่งผลงานของ Eliasson มีลักษณะเหมือนสารานุกรมที่ให้ความรู้เรื่องของธรรมชาติเป็นเวลาหลายร้อยปี และมีวิธีจัดวางเชิงสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบอย่างน่าทึ่ง อีกทั้งสะท้อนทัศนคติเชิงวิจารณ์และประสบ การณ์ของผู้ชม อันจะทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ และเดินกลับบ้านอย่างภาคภูมิใจพร้อมทั้งมั่นใจว่า อันที่จริงพวกเขาก็เคยรู้เรื่องนี้กันอยู่แล้ว

(1) จากสำนักข่าวของผู้ว่านครนิวยอร์ค Michael R. Bloomberg วันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2008, www.nyc.gov

(2) Neue Zürcher Zeitung วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2008, www.nzz.ch; The New York Times วันที่ 15มกราคม ค.ศ. 2008, www.nytimes.com

(3) http://www.nyfalls.com/nycwaterfalls2.html

(4) http://www.raumexperimente.net

(5) “Studio Olafur Eliasson”, An Encyclopedia, concept by Olafur Eliasson, edited by Anna Engberg-Pedersen ในภาษาอังกฤษ-เยอรมัน-ฝรั่งเศส หรือ อิตาเลียน-เสปญ-โปรตุเกส สำนักพิมพ์Taschen-Verlag, Hong Kong, Cologne 2008, ISBN 978 3 8228 4426 7. หนังสืออ้างอิงหาอ่านได้ที่หอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวังท่าพระ ชั้นล่าง, R N7053.O43 A4 2008. หรือที่ http://www.olafureliasson.net. ซึ่งเป็นแหล่งที่สามารถสั่งซื้อหนังสือที่เกี่ยวกับศิลปินได้ทุกเล่ม

(6) ข้อมูลต่างๆในสมัยของการทำงานร่วมกันระหว่าง Olafur Eliasson และ Philip Ursprung หาอ่านได้ที่ Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Cologne 2008, หน้า 20-31 แหล่งสั่งซื้อหนังสือหาดูได้ที่โฮมเพจของศิลปิน

(7) รูปทรงหลายเหลี่ยมซ้อนกันทำจากงาช้าง, ในภาษาเยอรมัน ประมาณทศวรรษที่ 1650, “Kunsthistorisches Museum” ที่กรุงเวียนนา; และสูจิบัตร “Zauber der Medusa, Europäische Manierismen”, Vienna 1987, หน้า 369, เรื่องเกี่ยวกับการค้นคว้ารูปทรงเรขาคณิตของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance) หน้า 107, 214 f.

(8) บทสัมภาษณ์ Eliasson ตอน “Kaleidoscope” ในหนังสือ Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Cologne ค.ศ. 2008, หน้า 240

(9) Barnett Newman: Who’s Afraid of Red, Yellow and Blue, 1969/70, สีน้ำมันบนผ้าใบ, ที่ “Nationalgalerie Berlin”

(10) Eadweard Muybridge: The Human Figure in Motion, Philadelphia 1901, และหาอ่านได้ที่http://de.wikipedia.org/wiki/Eadweard_Muybridge

(11) Montien Boonma: House of Hope, 1996/97, ผลงานจัดวาง, Dakis Joannu Collection, Centre for Contemporary Art, Athens ผลงานงานชิ้นนี้ได้จัดแสดงในปีค.ศ. 1997 ที่ Deitch Projects, New York, และที่ Global Vision, New Art from the 90s, Part III โดย Deste Foundation for Contemporary Art, Athens

(12) Montien Boonma: Lotus Sound, 1992, Terracotta, ทองคำเปลว, สมบัติของเอกชน กรุงเทพฯ และRock Bell Garden, 1993/95, Tachikawa Project, Tokyo

(13) Montien Boonma: Zodiac House (Das Haus der Sternzeichen), 1998, สมบัติของเอกชน กรุงเทพฯ เป็นภาพร่างก่อนสร้างผลงาน „Untitled Stars“ ในปีค.ศ.1998, เทคนิคผสมบนกระดาษ สมบัติของนิ่ม เครือแสง กรุงเทพฯ หาดูได้ในสูจิบัตรของนิทรรศการ Return Ticket: Thailand-Germany, Goethe-Institut, “Bangkok Art and Culture Centre” กรุงเทพฯ 2010, หน้า 63


EXPERIMENT UND GEWISSHEIT IM WERK VON
OLAFUR ELIASSON

Olafur Eliasson, 2010 © Olafur Eliasson

Der Däne Olafur Eliasson wurde innerhalb der vergangenen fünfzehn Jahre zu einem Künstler der Superlative. Eliasson, 1967 als Sohn isländischer Eltern in Kopenhagen geboren, wuchs in Island und in der kleinen dänischen Hafenstadt Holbaek auf. Von 1989 bis 1995 studierte er an der Königlich Dänischen Kunstakademie in Kopenhagen. 1995 gründete er in Berlin ein Atelier, das heute mit 35 Mitarbeitern eines der größten Künstlerateliers in der westlichen Kunstszene darstellt. Zusammen mit seiner Familie lebt der Künstler weiterhin in Kopenhagen. Seine Installation „The Weather Project“ 2003 in der Turbinenhalle der Tate Modern in London hatte über zwei Millionen Besucher. Sein bekanntestes Projekt im öffentlichen Raum, „The New York City Waterfalls“ von Juni bis Oktober 2008, kostete 15,5 Millionen Dollar, die von einem privaten Kunstfonds aufgebracht wurden. Es brachte nach offiziellen Schätzungen 1,4 Millionen Besucher und hatte angeblich wirtschaftliche Auswirkungen auf die Stadt New York in Höhe von 69 Millionen Dollar. (1) Der Künstler hatte an vier Orten der Küstenlinie von New York – vor Governors Island, an der Brooklyn Bridge, an der Manhattan Bridge und vor der Brooklyn Promenade – mit Hilfe von Gerüsten und Pumpensystemen künstliche Wasserfälle mit einer Höhe von 90 bis 120 Fuß errichtet, die jeweils am späten Nachmittag angeschaltet wurden und angeblich umweltgerecht konstruiert worden waren. (2) Es gab aber auch negative Auswirkungen: Nachdem sich herausgestellt hatte, dass der von den Wasserfällen erzeugte Sprühregen aus Salzwasser angrenzende Bäume, Anpflanzungen und Parks beschädigte, mussten die Laufzeiten von 101 Stunden pro Woche auf die Hälfte reduziert sowie Bäume und Pflanzen regelmäßig mit Frischwasser gesäubert werden. (3)

Olafur Eliasson: The New York City Waterfalls, 2008,
Bild: http://www.nyfalls.com

Die letzte Überblicksaustellung zum Werk von Olafur Eliasson wurde 2007 unter dem Titel „Take Your Time“ vom San Francisco Museum of Modern Art erarbeitet und 2008 in New York im Museum of Modern Art gezeigt. 2010 präsentierte Eliasson im Martin-Gropius-Bau in Berlin unter dem Titel „Innen Stadt Außen“ („Inner City Out“) seine erste Einzelausstellung in Deutschland. Seit 2008 unterrichtet er als Professor an der Universität der Künste in Berlin. Dort gründete er das Institut für Raumexperimente, das als zusätzliches Angebot zu den traditionellen Lehrinhalten einer Kunstakademie verstanden wird. (4) Neben zahlreichen seit 1997 erschienenen internationalen Ausstellungskatalogen informiert seit 2008 ein im Taschen-Verlag erschienenes Buch über die Arbeit des „Studio Olafur Eliasson“. Es ist ebenfalls ein Superlativ: Mehrere Kilo schwer, 528 Seiten dick und in mehreren Sprachen erhältlich, passt es mit einer Größe von 30 x 40 Zentimetern in kein Bücherregal. (5) Es bleibt die Frage, welches Konzept Eliasson mit seinen Projekten verfolgt und weshalb seine Ausstellungen und Installationen beim Publikum eine so überdimensionale Wirkung zeigen.

In Eliassons Atelier, das seit 2002 in der Mitte Berlins in unmittelbarer Nähe des „Hamburger Bahnhofs - Museum für Gegenwartskunst“ in einer Lagerhalle untergebracht ist, arbeiten Künstler, Ingenieure, Techniker, Kunsthistoriker und eine Gruppe von zehn Architekten. Neben Werkstätten und Büros verfügt das Atelier über eine große Halle, in der Messgeräte für räumliche und zeitliche Phänomene stehen und in der Apparaturen für Lichtbrechungen und die Wirkung von Spiegeln und Prismen in allen Formen und Farben ausprobiert werden. Es werden Teile von architektonischen Fassaden und Versuchsanordnungen errichtet und künstlerische Installationen getestet. Die Atmosphäre ist experimentell und unterscheidet sich kaum von den endgültigen Ausstellungen des Künstlers. In ihnen zeigt er häufig Teile aus einer ganzen Kette von Versuchen und Experimenten, die aus der Forschung und Produktion im Atelier entstanden sind. (6)

Das bisherige Werk von Eliasson gliedert sich in verschiedene Themenkomplexe. Die öffentlich wirksamste Gruppe von Arbeiten sind Rekonstruktionen, Nachempfindungen oder Metamorphosen von Naturphänomenen. Hierzu gehört die Installation „The Weather Project“ 2003 in der Londoner Tate Modern, in deren Zentrum eine Sonne, künstlicher Nebel und eine scheinbar grenzenlose Illusion des Himmelsraums standen. An einer Projektionswand am Ende der ehemaligen Maschinenhalle war ein von zweihundert Monofrequenz-Lampen hinterleuchteter Halbkreis installiert, der sich an der Decke in einer abgehängten Spiegelfläche zu einer Sonne vervollständigte. Betrat man den abgedunkelten Raum, so sah man eine durch den Nebeldunst scheinende riesige Sonne. Besucher legten sich auf den Fußboden, um ihr Spiegelbild durch die Verdoppelung des Raumes in etwa sechzig Meter Höhe zu betrachten. Näherte man sich der Installationswand oder befand sich auf einer Galerie im Obergeschoss der Halle, so wurden alle Teile der Kulissenkonstruktion sichtbar. Der Künstler hatte absichtlich auf die Wirkung von Illusion und Desillusion gesetzt. Mit dieser Arbeit verwandt ist die Installation „Double Sunset“, die Eliasson 1999 in Utrecht/Niederlande realisierte. Auf dem Dach eines Industriebaus wurde eine runde gelbe Wellblechwand mit einem Durchmesser von 38 Metern installiert, die bei Anbruch der Dämmerung von Flutlicht angestrahlt wurde und so über der Stadt neben dem wirklichen einen zweiten Sonnenuntergang suggerierte.

Olafur Eliasson: The Weather Project, Tate Modern, London 2003, Foto:Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery,
New York © Olafur Eliasson

Zu den Arbeiten, die Naturphänomene wiederholen, gehören auch „The New York City Waterfalls“ (2008) sowie vorangegangene kleineren Gerüstkonstruktionen mit künstlichen Wasserfällen 1998 in der Kunsthalle Köln und auf der 11. Biennale von Sydney/Australien, 2000 in der Neuen Galerie in Graz/Österreich, 2001 im Zentrum für Kunst und Medientechnologie (ZKM) in Karlsruhe und 2004 im Kunstmuseum von Aarhus/Dänemark, alle mit dem Titel „Waterfall“. 1997 inszenierte er unter dem Titel „Erosion“ auf der 2. Biennale von Johannesburg/Südafrika eine Überschwemmung, die sich als eineinhalb Kilometer langer Fluss durch die Stadt zog und Erde, Blätter und Abfälle mit sich führte. Mit der Intervention „Green River“ inszenierte er zwischen 1998 und 2001 vermeintliche Umweltkatastrophen, indem er Flüsse in Bremen, Moss/Norwegen, auf Island, in Los Angeles, Stockholm und Tokio mit dem grünen Farbstoff Uranin versetzte und damit bei der Bevölkerung unterschiedliche Reaktionen hervorrief. In Ausstellungsräumen inszenierte er 1999 im MIT List Visual Arts Center in Cambridge, MA/USA, einen mit Kompressoren erzeugten Sandsturm („The Sandstorm Park“), 2001 in der Galerie neugerriemschneider in Berlin einen aus Nebel- und Windmaschinen erzeugten Tornado („The things that you don’t see that you don’t see“), 2002 im Musée d’Art Moderne in Paris und 2003 im Museo Nacional Centro de Arte Reina Sofia in Madrid mehrere Tonnen Lavagestein aus Island, die Besucher durch Darüberlaufen erkunden konnten, 2005 in Zug/Schweiz einen Bach, der über mehrere Straßen, über die Stadtmauer hinweg, durch das Kunsthaus hindurch und schließlich wieder in das ursprüngliche Bachbett zurück geleitet wurde („The Body as Brain“).

Olafur Eliasson: Green River, Moss/Norwegen, 1998, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York, © Olafur Eliasson

Eliasson will das Empfinden für Naturphänomene schärfen, indem er sie ihren ursprünglichen Orten entfremdet und sie an ungewohnten Plätzen neu inszeniert. Die Öffentlichkeit reagiert mit Begeisterung auf diese Experimente und mit der Gewissheit, dass sie verstanden hat: ja, das ist ein Sonnenuntergang, bzw. nein, dass ist eben kein Sonnenuntergang! Die Frage ist, ob nicht der überwiegende Teil des Publikums die Sensation und die große Theaterinszenierung sucht – mit der für alle deutlichen Gewissheit, dass ein Sonnenuntergang an der Atlantikküste Marokkos, über dem Mekong River bei Chiang Khan in Thailand oder bei Luang Prabang in Laos oder das direkte Erlebnis der Niagara-Wasserfälle an der Grenze der USA zu Kanada jeder Kunst- oder Theaterinszenierung in einer der Großstädte unserer Welt vorzuziehen sind, auch wenn diese künstlichen Wiederholungen besonders teuer gewesen sind.

Auch bei den zahlreichen geometrischen und optischen Experimenten, die Eliasson und sein Team für Ausstellungen in aller Welt in Szene setzen, folgt die Gewissheit – dass wir die meisten von ihnen schon kennen. Kern der geometrischen Studien ist eine Modellsammlung, die Eliasson seit 1996 zusammen mit dem isländischen Künstler und Architekten Einar Thorstein entwickelte und die sich mit räumlichen Strukturen wie Kugeln, Prismen- und Facettensystemen auseinandersetzt. Sie wurde unter dem Titel „Model Room“ seit 2003 auch in Ausstellungen gezeigt. Schon auf den ersten Blick erinnert sie an die in unendlichen Variationen vorliegenden stereometrischen Studien von Künstlern der Renaissance wie des aus Wien stammenden Wenzel Jamnitzer (1508-1585) und dessen „Perspectiva Corporum Regularium“ (1568) oder die Polyeder-Studien italienischer Meister der gleichen Zeit, die bis zur Mitte des 17. Jahrhunderts auch dreidimensional in Holz oder Elfenbein von bedeutenden Kunsthandwerkern für die Kunst- und Wunderkammern europäischer Fürsten hergestellt wurden. (7) Bei Eliasson verkörpern diese Studien die postmoderne Sehnsucht nach vermeintlich verlorengegangenen architektonischen Werten. Denn Anwendung finden sie bei ihm in erlebbaren oder sogar begehbaren Räumen, die mit facettierten Spiegeln verkleidet („Your Now is my Surroundings“, 2000) oder als Tunnel sogar vollständig aus ihnen konstruiert sind („Your Spiral View“).


Olafur Eliasson zusammen mit Einar Thorsteinn: Model Room, 2003, Foto: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Your Spiral View, 2002, Boros Collection, Berlin, Foto: Jens Ziehe © Olafur Eliasson

Eine größere Gruppe von Arbeiten bilden Kaleidoskope, eine Erfindung vom Beginn des 19. Jahrhunderts und heute in jedem Geschenke-Laden erhältlich, die Eliasson in Maßen von über sieben Meter Länge und zwei Metern Durchmesser frei im Raum hängen lässt („Kaleidoscope“, 2001) oder mit deren facettiertem Konstruktionssystem er ganze Innenräume gestaltet wie den Lichthof des Martin-Gropius-Baus in Berlin während der Ausstellung 2010 („Mikroskop“, 2010). Der Künstler will zeigen, dass unsere gesamte Wahrnehmung kulturell determiniert und von Sehgewohnheiten bestimmt ist. (8) Das Publikum nimmt diese Arbeiten mit großer Begeisterung in der Art erlebbarer postmoderner Architekturen war. Tatsächlich realisiert Eliasson diese wiedergefundenen stereometrischen Strukturen auch für architektonische Auftragsarbeiten wie den aus verspiegelten Rhomben und Pyramidoiden konstruierten „Flower Pavilion“ 2003 in einem Park in Shenzen/China, die spiral- und kugelförmig facettierten Kronleuchter des neuen Opernhauses von Kopenhagen („Opera House Chandeliers“, 2004) oder die aus riesigen Rhomben bestehenden Glasbausysteme der Fassade der Harpa Reykjavik Concert Hall and Conference Centre in Reykjavik/Island, die im August 2011 eröffnet wird.

Olafur Eliasson: Mikroskop, 2010, Gerüst, Spiegelfolie, Aluminium, 17,7 x 18,5 x 27,1 Meter, Foto: Jens Ziehe, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eliasson: Opera House Chandeliers, 2004, New National Opera, Copenhagen/Denmark, Foto: Silke Heneka © Olafur Eliasson

Eliassons optische Installationen wirken gelegentlich wie einfache Experimente in einem Schullabor. Ein Versuch mit verschiedenfarbigen Scheinwerfern, Folien und Spiegeln („Tell me about a Miracoulous Invention“, 1996) beschreibt das schon 1672 von dem deutschen Astronomen Otto von Guericke (1602-1686) entdeckte Phänomen der Farbigen Schatten. Eine Installation aus hinterleuchteten farbigen Glasscheiben in Rot, Gelb und Blau mit dem partiell bei Barnett Newman entliehenen Titel (9) „Who is afraid“ (2004) zeigt in der Projektion nichts anderes als das Mischsystem der drei Grundfarben, das in ihrem Zentrum Weiß ergibt. In der Installation „Your Blue/Orange Afterimage Exposed“, die 2000 in Galerien in Tokio ausgestellt war, wurden orange bzw. blaue Lichtquadrate für zehn Sekunden auf einer Wand präsentiert, die nach dem Erlöschen der Projektion beim Betrachter Nachbilder in der jeweiligen Komplementärfarbe erzeugten – ein Versuch, der in jedem Sachbuch für Kinder enthalten ist. Kaum anders ist es mit Eliasson’s Lichtstudie der Schwingungen eines Fußgängers, festgehalten in 16 schwarzweißen Photogravuren („Pedestrian Vibes Study“, 2004), die den berühmten Bewegungsstudien des englischen Fotografen Eadweard Muybridge (10) (1830-1904) nachempfunden sind.

Olafur Eliasson: Your Space Embracer, 2004, Foto: Carl Henrik Tillbergs, Courtesy the artist; neugeriemschneider, Berlin; Tanya Bonakdar Gallery, New York © Olafur Eliasson

Olafur Eilasson zusammen mit Boris Oicherman: Your Uncertainty of Colour Matching Experiment, 2006, Foto: Michael Franke © Olafur Eliasson

Eine weitere Gruppe von Arbeiten sind Pavillons, die bei ausgeklügelter geometrischer Konstruktion speziellen Naturerlebnissen gewidmet sind. „The Glacier House“ (2005) beispielsweise ist bei einer Höhe von fünf Metern als zylindrische Spiralstruktur aus dünnem Stahlrohr konstruiert, die der natürlichen Struktur von Eis nachempfunden ist. Sinkt die Temperatur unter Null Grad, versprüht ein Sprinklersystem Wasser, das an dem Gerüst zu einem phantastischen Eismantel gefriert. Andere Arbeiten wie „Fragrant Tunnel“ (2000) und „Scent Tunnel“ (2004) arbeiten mit Stahlrohrkonstruktionen, um die herum sich Duftpflanzen ranken oder bei denen sich bepflanzte Blumentöpfe kreisförmig um den Besucher drehen. Sie erinnern an die auch in Europa und weltweit bekannt gewordenen Pavillons des thailändischen Künstlers Montien Boonma (1953-2000). Dieser gestaltete seit 1992 in Parks und in Ausstellungsräumen Installationen aus halbrunden Wänden sowie Tunnel und meditative Räume, in denen Jasmin und andere Aromen als Stimulanz zur Meditation dienten. Ihre Wände waren mit Heilkräutern bedeckt, und die Besucher konnten sich hinter Schnüren aus Kräuterperlen zurückziehen, um sich visuellen Eindrücken, Klang und Geruch meditativ zu öffnen. (11) Auch Eliassons geschwungene, aus Ton-Elementen gemauerte und mit verspiegelten Facetten verkleidete Wand („Quasi Brick Wall“, 2002) ähnelt den halbrunden Wänden, die Montien Boonma aus Terracotta-Gefäßen oder Glocken aufschichtete. (12) Geradezu verblüffend zitiert Eliassons „Dream House“ (2007) – eine auf Stelzen gestellte Facettenkuppel, unter die sich Besucher stellen und in der sie optische Phänomene betrachten können – einen Entwurf von Montien Boonma: Dieser hatte 1998 während eines Stipendiaten-Aufenthalts in der Akademie Schloss Solitude in Stuttgart sechs auf Stelzen stehende Skulpturen entworfen, die den katholischen Kirchen der Stadt nachempfunden waren. Auch dort konnten sich die Besucher unter die Skulpturen stellen, aus deren Inneren Lichtinstallationen Sternbilder an die Decke des Ausstellungsraums projizierten. (13)

Olafur Eliasson: The Glacier House, 2005, Privatsammlung, Foto: Andrew Gellatly © Olafur Eliasson

Es wäre jedoch zu kurz gedacht, Eliasson ausschließlich an der Größe der tatsächlich existierenden Natur und an den Ideen vorangegangener Künstler zu messen. Sein Werk ist eine Enzyklopädie der Naturerkenntnis vieler Jahrhunderte, die in beeindruckenden und sauber ausgeführten Installationen und Architekturen auch die Seh- und Erfahrungsgewohnheiten der Ausstellungsbesucher reflektiert und kritisch hinterfragt. Die Besucher staunen und gehen mit der stolzen Gewissheit nach Hause, alles eigentlich schon vorher gewusst zu haben.

(1) Pressemitteilung des Bürgermeisters von New York, Michael R. Bloomberg, vom 21.10.2008, www.nyc.gov

(2) Neue Zürcher Zeitung vom 14.10.2008, www.nzz.ch; The New York Times vom 15.1.2008, www.nytimes.com

(3) http://www.nyfalls.com/nycwaterfalls2.html

(4) http://www.raumexperimente.net

(5) Studio Olafur Eliasson, An Encyclopedia, concept by Olafur Eliasson, edited by Anna Engberg-Pedersen, englisch-deutsch-französisch oder italienisch-spanisch-portugiesisch, Taschen-Verlag, Hong Kong, Köln 2008, ISBN 978 3 8228 4426 7. Das Buch kann auch in Bangkok eingesehen werden: Silpakorn University Central Library, R N7053.O43 A4 2008. Die Webseite des Künstlers ist http://www.olafureliasson.net. Dort sind auch alle Publikationen über den Künstler zu finden.

(6) Eine Beschreibung und Analyse des Ateliers von Olafur Eliasson von Philip Ursprung findet sich in der oben genannten Publikation: Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Köln 2008, S. 20-31.

(7) Mehrfach in einander geschachtelter Polyeder aus Elfenbein, deutsch um 1650, Kunsthistorisches Museum Wien; vgl. Ausstellungs-Katalog Zauber der Medusa, Europäische Manierismen, Wien 1987, S. 369, zu den geometrischen Studien der Renaissance S. 107, 214 f.

(8) Interview mit Eliasson im Kapitel „Kaleidoscope“ der Publikation Studio Olafur Eliasson, Hong Kong, Köln 2008, S. 240

(9) Barnett Newman: Who’s Afraid of Red, Yellow and Blue, 1969/70, Öl auf Leinwand, Nationalgalerie Berlin

(10) Eadweard Muybridge: The Human Figure in Motion, Philadelphia 1901, vgl. http://de.wikipedia.org/wiki/Eadweard_Muybridge

(11) Montien Boonma: House of Hope, 1996/97, Installation, Dakis Joannu Collection, Centre for Contemporary Art, Athen (Athens). Die Installation wurde gezeigt 1997 in Deitch Projects, New York, sowie in Global Vision, New Art from the 90s, Part III, Deste Foundation for Contemporary Art, Athen

(12) Montien Boonma: Lotus Sound, 1992, Terracotta, Blattgold, Privatsammlung Bangkok; Rock Bell Garden, 1993/95, Tachikawa Project, Tokio

(13) Montien Boonma: Zodiac House (Das Haus der Sternzeichen), 1998, Privatbesitz Bangkok; Projektskizzen „Untitled Stars“, 1998, Mischtechnik auf Papier, Sammlung von Nim Kruasaeng, Bangkok abgebildet im Ausstellungs-Katalog Return Ticket: Thailand-Germany, Goethe-Institut, Bangkok Art and Culture Centre, Bangkok 2010, S. 63