August 23, 2010

Teerapon Hosanga (1)

Axel Feuss:
PHENOMENA AND STRUCTURES IN SPACE
ปรากฏการณ์และโครงสร้างบนพื้นที่ว่าง

Translation from German: Nicholas Randall
Thai Translation: Somrak Sila and Jakapan Vilasineekul
Photos 2-7: Christopher Wise

It is already the second time that Teerapon Hosanga, still in his period of study, is showcasing works deserving of a lot of attention. In 2005, the young artist presented at the Bangkok University Gallery, under the title Listen in Silence, an installation that conveyed a striking sense for spatial structures. In the white cubic space, braced in every direction on tensioned strings, were amorphous, apparently exploding paper objects. It gave the impression that the observer had found him or herself present in the midst of a momentarily frozen explosion. Essentially the work had been developed as a reaction to the bombing attacks by separatists in Thailand’s southern provinces. The escalating clumps of paper, not only star- but also mushroom-shaped, contained fragments of newspapers, from which reports of current bomb explosions in the south of the country could be read. Similar space installations can otherwise only be found at international biennials, where individual artists are provided with entire spaces.

นิทรรศการศิลปะครั้งนี้ เป็นนิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งที่ 2 ของ ธีรพล หอสง่า ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ โดยครั้งแรกธีรพลได้แสดงผลงานของเขาที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปี 2548 ในนิทรรศการชื่อ Listen in Silence ซึ่งเป็นงานศิลปะจัดวางที่ใช้โครงสร้างโปร่งเป็นตัวสื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงความหมาย ผลงานถูกจัดในห้องสี่เหลี่ยมสีขาวมีวัตถุทำด้วยกระดาษแขวนอยู่ในอากาศกระจัดกระจายไปทั่วทุกทิศทุกทาง ผลงานชิ้นนี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในช่วงเวลาเสี้ยววินาทีท่ามกลางการระเบิดที่หยุดชะงักค้าง ผลงานดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาของศิลปินต่อเหตุการณ์ลอบวางระเบิดของผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก้อนกระดาษที่ไม่เพียงแตกออกเป็นดาวกระจาย แต่ยังม้วนรวมตัวกันเป็นก้อนรูปทรงดอกเห็ดนี้ อันที่จริงถูกทำขึ้นจากเศษเสี้ยวชิ้นส่วนของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั่นเอง การทำงานศิลปะจัดวางที่มีความโดดเด่นในลักษณะนี้มักจะหาดูได้เพียงในงานนิทรรศการศิลปะระดับนานาชาติ Biennale ที่ต่างๆ โดยศิลปินแต่ละท่านจะได้รับพื้นที่เต็มห้องเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตนเองเท่านั้น


Teerapon Hosanga: Listen in Silence, 2005
Bangkok University Gallery

The group of six sculptures, which Teerapon has completed for the conclusion of his MFA-Studies at the Silpakorn University of Bangkok Art faculty in the field of sculpture, bears witness to a similarly distinctive feeling for space. With the first sculpture in the group, Half, built up around a large central stone is a half-bowl-shaped stereometric structure, made up of aluminium pipes bound with wire.

Teerapon Hosanga: Half, 2009
rock, wood, string, aluminium, 60 x 30 x 50 cm

This aluminium structure is held in place through intermediary scaffolding made out of wooden skewers, string and resin. It appears as if, through organic or physical procedures, a growth process is developing from an inner seed. The different materials, however, do not impart an actual existing process, but rather a symbolic one: A stone can not grow organically; the aluminium construction is not the accurate copy of actual existent structures of particle physics. Teerapon’s sculpture is a general conceptual model for the phenomenon of growth.

สำหรับในงานนิทรรศการครั้งนี้ ประกอบไปด้วยงานประติมากรรมทั้งหมด 6 ชิ้นเป็นผลงานชุดสุดท้ายเพื่อจบการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นอีกครั้งที่ผลงานของ ธีรพล แสดงถึงความรู้สึกที่ชัดเจนของศิลปินต่อพื้นที่ว่างและวัตถุ ผลงานที่ชื่อว่า Half (ครึ่งหนึ่ง) ถูกสร้างขึ้นจากก้อนหินขนาดใหญ่ที่อยู่ในศูนย์กลาง รูปทรงนี้พัฒนาตัวเองออกมาเป็นโครงสร้างกลมตัดครึ่ง ซึ่งทำขึ้นด้วยท่ออะลูมิเนียมเล็กๆจำนวนมากร้อยรวมกันเข้าด้วยเส้นลวดจนกลายเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเกาะติดกับก้อนหินไว้ได้โดยมีแท่งไม้กลมๆเป็นตัวเชื่อมทำให้ดูเหมือนว่าประติมากรรมชิ้นนี้พัฒนาตัวมันเองขึ้นตามกระบวนการทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต โดยงอกงามเติบโตขึ้นจากเมล็ดภายในที่เป็นแก่นกลาง อย่างไรก็ดีประติมากรรมที่ใช้วัสดุหลายชนิดผสมผสานกันชิ้นนี้มิได้สื่อแสดงถึงสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริง หากสื่อถึงสาระของกระบวนการ หินไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ และเช่นเดียวกันรูปทรงอะลูมิเนียมนี้มิใช่ภาพเหมือนหรือภาพขยายโครงสร้างของสิ่งใด ประติมากรรมของธีรพลแสดงความคิดในเรื่องปรากฏการณ์ของการเจริญงอกงาม


Teerapon Hosanga: Enfold, 2009
rock, wood, string, aluminium, dimension variable

On the second sculpture, Enfold, the outer shell stretches out and unfurls into a spherical shape, whose structure is in turn built up of rhombuses, prisms and similar triangular shapes. Some crystals grow in this manner through agglomeration of new stereometric layers. To this end it is not actually important, whether organic growth or chemical-physical processes are intended by Teerapon’s conceptual models. What is meant are general growth processes found in nature. His sculptures are conceptual models for a phenomenon almost unobservable by humans due to its gradualness.

ประติมากรรมชิ้นที่ 2 ภายใต้ชื่อว่า Enfold มีรูปร่างเหมือนเปลือกที่ห่อหุ้มเนื้อใน ดูเหมือนว่าภายนอกของรูปทรงนี้กำลังแผ่ขยายออกห่อหุ้มตัวเองจนกลายเป็นวัตถุทรงกลม ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวทำให้เกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆเกิดขึ้นภายในโครงสร้างนี้ เช่น สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปริซึ่ม และรูปทรงอื่นๆที่มีพื้นฐานมาจากสามเหลี่ยม เราอาจพบว่า ผลึกแร่หรือแก้วที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็มีลักษณะของโครงข่ายที่ประกอบขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิตซ้อนกันเป็นชั้นๆเช่นเดียวกัน อันที่จริง ไม่ว่าการแสดงแบบทางความคิดของธีรพลจะว่าด้วยเรื่องการเจริญเติบโตในชีวภาพหรือปฏิกิริยาทางเคมี-ฟิสิกส์ที่ก่อให้เกิดผลึกนั้น ไม่ใช่สิ่งสำคัญ หัวใจของงานก็คือกระบวนการก่อตัวของวัตถุในธรรมชาติ ประติมากรรมของเขาเป็นการแสดงแบบแผนของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งหนึ่งก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนยากที่มนุษย์คนใดจะสัมผัสรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของมันด้วยประสาทสัมผัส

Teerapon Hosanga: Circle, 2009
rock, wood, string, aluminium, 270 x 270 x 220 cm

In the third sculpture, Circle, the process of expansion is completed. The inner seed now sits in the more-than two meter high sculpture like a spider in a web. At last it becomes clear, that for Teerapon the point is not simply to tell a story and develop a prototype for processual phenomena. He is showing his ability to describe abstract structures in space. In doing so he stands in the tradition of internationally known artists, who in the 1960’s began to abstractly describe phenomena such as flotation, movement and growth in classy as well as minimalist metal structures. The Germans Hans Uhlmann and Norbert Kricke and Americans George Rickey and Kenneth Snelson are worth mentioning here.

กระบวนการขยายตัวของวัตถุมีบทสรุปโดยสมบรูณ์ในผลงานชิ้นที่ 3 Circle เมล็ดผลภายในได้ถูกบรรจุลงในประติมากรรมทรงกลมขนาดกว่า 2 เมตร ดูคล้ายกับแมงมุมยักษ์ในใยตะข่ายขนาดใหญ่ ผลงานชิ้นนี้เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า ธีรพลไม่ได้เพียงบรรยายถึงพัฒนาการของวัตถุ หรือแสดงแบบจำลองของกระบวนการทางธรรมชาติให้เราเห็นได้อย่างดีเยี่ยม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการอธิบายโครงสร้างของวัตถุที่เป็นนามธรรมบนพื้นที่ว่างได้อย่างชัดเจน ด้วยกระบวนการความคิดเช่นนี้ศิลปินได้เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับแนวทางสร้างสรรค์ในเรื่องปรากฏการณ์ต่างๆอาทิ ความเบาลอย ความเคลื่อนไหว และการเจริญเติบโต รวมไปถึงแนวทางของประติมากรรมนามธรรมแบบมินิมอลลิสต์ ที่ศิลปินระดับนานาชาติผู้มีชื่อเสียงได้เดินทางล่วงหน้าไปแล้วในยุคทศวรรษที่ 60 เช่น ศิลปินชาวเยอรมัน Hans Uhlmann และ Norbert Kricke รวมทั้งศิลปินชาวอเมริกัน George Rickey และ Kenneth Snelson

Teerapon Hosanga: Lightning, 2009
rock, wood, string, aluminium, 90 x 220 x 180 cm

In the second group of sculptures, Teerapon is more interested in other phenomena in nature. The motivation for the sculpture Lightning was the problem of describing the phenomenon of lightning. The sculpture is an aluminium and wire structure, which unfolds out of a high-set inner core, and out of a tightly compressed bundle of short aluminium pipes sloping downwards in increasingly longer and more open sections of the metal framework. Dynamics and speed are conveyed here, through geometric-abstract structures. The stable balance of the stone, pushed out of its direction of fall, makes clear the phenomenon of gravity. The point for Teerapon, moreover, is to challenge the laws of physics in his art, and through the medium of sculpture to portray a downwards movement. Here too, he stands in the tradition of eminent sculptors such as David Smith and Barnett Newman who, in their sculptures, turn the laws of physics (carry and load, balance and equilibrium) on their heads.

สำหรับผลงานในกลุ่มที่ 2 ธีรพลให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆมากขึ้น จุดเริ่มต้นของงานประติมากรรมที่มีชื่อว่า Lightning เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะอธิบายปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ผลงานประกอบขึ้นจากอะลูมิเนียมและเส้นลวด โครงสร้างขนาดใหญ่นี้ขยายตัวเองออกจากก้อนหินศูนย์กลางที่ฝังตัวอยู่ด้านบนในจุดเกือบสูงสุดของประติมากรรมชิ้นนี้ รอบก้อนหินศูนย์กลางกระจุกตัวอย่างหนาแน่นไปด้วยท่ออะลูมิเนียมขนาดสั้นและเล็กที่ถูกมัดรวมกันเข้า โครงสร้างของมันแพร่กระจายลงมาในแนวดิ่งเฉียง และเมื่อห่างศูนย์กลางออกไปท่ออะลูมิเนียมก็ยิ่งเพิ่มความยาวมากขึ้นทำให้เกิดโครงสร้างที่มีช่องว่างถ่างออกไปในช่วงล่างของรูปทรง ผลลัพธ์ที่ได้คือพลังและความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วถูกแสดงออกมา การทรงตัวอย่างเสถียรของก้อนหินในตำแหน่งที่ต้านแรงผลักแนวดิ่งนี้แสดงถึงปรากฏการณ์ของแรงโน้มถ่วงอย่างชัดเจน นี้เป็นวัตถุประสงค์ของศิลปินที่ต้องการแสดงความท้าทายต่อกฎของฟิสิกส์และความเคลื่อนไหวด้วยสื่อทางประติมากรรม ผลงานชิ้นนี้เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ศิลปินได้แสดงจุดยืนทางความคิดที่คล้ายคลึงกับประติมากรสำคัญหลายๆคนอาทิ David Smith และ Barnett Newman ซึ่งศิลปินทั้งสองแสดงถึงกฎของฟิสิกส์ทั้งการรักษาศูนย์ถ่วง ความสมดุลย์ แรงดึง และแรงกด ที่กระทำลงบนส่วนยอดในผลงานของพวกเขา

Teerapon Hosanga: Earth and Moon, 2009
rock, wood, string, aluminium, 270 x 150 x 120 cm

With the sculpture Earth and Moon Teerapon makes use of a pedestal in order to portray the phenomenon of gravitation between the planet Earth and its moon. The talent of the artist is surprising in that, alongside the literal theme and that of the construction model known from the previous sculptures, in the center a wholly simple, strict and serial module out of parallel aluminium rods is used, reminiscent of minimalist structures.

ธีรพลเลือกใช้ส่วนฐานของรูปทรงเป็นสื่อแสดงถึงปรากฎการณ์ของเเรงดึงดูดระหว่างโลกกับพระจันทร์ในผลงานชิ้นต่อมาชื่อ Earth and Moon เเม้ว่าชื่อผลงานชิ้นนี้จะบอกความหมายตรงตัว และโครงสร้างก็คล้ายคลึงกับผลงานชิ้นก่อน เเต่ศิลปินก็ได้เเสดงให้เห็นถึงฝีมืออันยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนกลางของรูปทรงที่เขาเลือกใช้อะลูมิเนียมเส้นตรงเรียบง่ายธรรมดาซ้อนขนานกันจนเกิดเป็นโครงข่ายขึ้น เป็นการแสดงออกถึงโครงสร้างแบบมินิมอลลิสต์ Minimalist มากกว่าผลงานชิ้นอื่นๆ

Teerapon Hosanga: Beware it is Life, 2009
wooden trunk, wood, string, brass tube, aluminium, steel, stone, 200 x 80 x 90 cm

In the sculpture Beware it is Life, a naturally grown tree trunk stands in the centre of the abstract growth process, which has been developed in two directions. When we think of the history of sculpture in the 20th Century, Henry Moore’s late variations of increasingly more abstract lying figures (Reclining Figures) of the 1960’s come to mind. With these Moore was less concerned with a copy of the human body, as rather with general phenomena of ponderation, gravitation, the representation of natural dimensions, accomplishment of the space, and the “multi-sidedness” of a sculpture. Apparently for Teerapon, too, these basic problems of sculpture have a strong importance. Their unfolding and impact in the space stands in close relationship to spatial structures, which we had already noted at his 2005 installation Listen in Silence.

ผลงานชิ้นสุดท้ายใช้ชื่อว่า Beware it is life มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ท่อนไม้ที่ดูมีชีวิตตรงใจกลางของรูปทรง จากปลายสองด้านมีโครงสร้างนามธรรมงอกต่อออกมาและขยายตัวในเเนวนอนทั้งสองทิศทาง รูปทรงนี้ดูราวกับว่ามันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อทบทวนเทียบกับประวัติศาสตร์ทางประติมากรรมในศตรวรรษที่ 20 การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ทำให้ระลึกถึงงานในช่วงปี 1960s ของศิลปิน Henry Moore ซึ่งอาศัยรูปร่างมนุษย์ที่กำลังเอนนอน (Reclining Figures)มาใช้สร้างรูปทรงเชิงนามธรรม Henry Moore ก้าวข้ามการแสดงลักษณะที่เป็นจริงของรูปร่างมนุษย์ เขาใช้มันเป็นเพียงพาหะไปสู่ขั้นการแสดงถึงปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงทั่วไป เช่น เเรงโน้มถ่วงหรือการหาศูนย์ถ่วงเพื่อให้รูปทรงตั้งอยู่อย่างสมดุลย์ การแสดงถึงมิติและการมีอยู่จริงของพื้นที่ว่าง รวมไปถึงการเเสดงให้เห็นถึงมิติรอบตัวของงานประติมากรรมที่เปิดให้ชมได้จากทุกด้าน ผลงานของธีรพลชิ้นนี้เเสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะตอบโจทย์เดียวกัน ซึ่งเขาย้ำให้เห็นความสำคัญของโจทย์พื้นฐานในการสร้างสรรค์งานประติกรรม ด้วยการใช้โครงสร้างเปิดเพื่อสร้างผลกระทบและความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับพื้นที่ว่างในผลงานของเขา ดังที่ได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วตั้งแต่ผลงานศิลปะจัดวางชุด Listen in Silence ในปี 2549

Teerapon clearly refers to the theory of sculpture of the 20th Century. Nevertheless his works are highly current. In the past years in international architecture, buildings have been constructed that have a highly sculptural character. Teerapon’s light, rhomboidal, light-flooded structures are close to architectural blueprints by Frank O. Gehry, abb architects, Vito Acconci or NOX architects from the last decade. His steep sloping spaces and dimensions, the “multi-sidedness” of his sculptures, and the seemingly organic growth of architectural spaces in every direction and every dimension are today found more so in avant-garde architecture than in the field of sculpture. As sculptures, but also as possible architectural models, Teerapon’s works seem therefore in every way surprising and modern.

ถึงเเม้ผลงานของธีรพลอ้างอิงถึงทฤษฎีศิลปะของศตวรรษที่ 20 กระนั้นก็ตาม ตัวงานของเขามีความเป็นปัจจุบันอย่างมาก หากเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีการออกเเบบโครงสร้างให้ได้ความเป็นประติกรรมมากขึ้น ความโดดเด่นในผลงานของธีรพลชุดนี้ที่ดูเบาและโปร่งเเสง รวมทั้งการใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเพื่อหลีกหนีมวลที่ดูหนาหนักทึบตันแบบกล่องสี่เหลี่ยม มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับผลงานของสถาปนิกชื่อดังหลายๆคนในศตวรรษนี้ เช่น Frank O. Gehry และผลงานออกแบบของ ศิลปิน-สถาปนิกอย่าง Vito Acconci หรือกลุ่มสถาปนิก NOX ใช้ระนาบไต่ระดับให้เกิดความลาดเอียงเข้าไปในมิติที่มีความลึกและพืนที่ว่าง การเปิดให้เห็นถึงมิติรอบตัวของความเป็นงานประติมากรรมจากทุกด้าน ตลอดจนการขยายตัวของรูปทรงออกไปทุกทิศทุกทางอย่างการเติบโตของรูปทรงชีวภาพที่ปรากฏในผลงานประติมากรรมของธีรพลนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่พบได้มากขึ้นในสถาปัตยกรรมลำยุค (avant-garde) และมากกว่าในงานประติมากรรมร่วมสมัยด้วยซ้ำ จึงกล่าวได้ว่า หากพิจารณาผลงานของธีรพลชุดนี้ในทุกเเง่ทั้งด้านความเป็นประติมากรรมและด้วยเเบบแผนทางสถาปัตยกรรมแล้ว ผลงานของเขาน่าประหลาดใจเเละเป็นปัจจุบันอย่างยิ่ง