BIOGRAPHICAL NOTE
Born 1980 in Phanga, Thailand. He lives and works in Bangkok, Thailand.
EDUCATION
2004
B.F.A (Sculpture), Silpakorn University, Bangkok
2007 - 2010
M.F.A. (Sculpture), Silpakorn University, Bangkok
GROUP EXHIBITIONS
2004
Art Thesis Exhibition, PSG Art Gallery, Bangkok
The 50th National Art Exhibition, Silpakorn University Art Gallery, Nakhon Pathom
2005
I’m just thinking, Hemlock Restaurant, Bangkok
2009
Artitude, HOF Art Gallery, Bangkok
2010
Group exhibition as part of the 3rd Silpakorn University Research Fair, Art and Culture Centre, Nakhon Pathom
SOLO EXHIBITIONS
2005
[RE]write the city, F[ake] gallery, a mobile gallery moving around Prasumane Fort, Mahakarn Fort, and Prang Phuthorn Community in Bangkok
2006
Listen in silent, Bangkok University Art Gallery. Solo exhibition as part of ‘Brand New’, a project initiated by the Faculty of Visual Arts, Bangkok University
2010
The Form of the Formless, WTF Gallery, Bangkok
August 23, 2010
Teerapon Hosanga (3)
WTF Gallery and Café
the form of the formless
A SCULPTURE EXHIBITION BY TEERAPON HOSANGA
Teerapon Hosanga: The Form of the Formless
19 Aug – 29 Sep 2010
(for Thai please scroll down)
Shadowing the laws of physics and mathematics in creating complex structures, Teerapon Hosanga uses sculpture as a medium to conceptualize growth and flux and the intangible essence of nature.
The complex forms created by repetitive connections among different rigid materials like aluminium, wood, rock and brass tubes do not literally represent the process of growth, even if they often seem to aspire to familiar organic forms, but rather symbolize them. Some works conceptualize the artist’s perception of the dynamic movement that occurs in the creation of nature, whereas others embody his curiosity about how the laws of physics affect the process of making things. While they often symbolize abstract phenomena – lightning, gravity, the growth process – they are at the same time powerful physical objects in their own right. In thrusting into space as though forever on the point of resolving themselves into regular patterns but forever folding in on themselves or remaining as it were incomplete, provisional, deferred, they draw on both the sculptural theories of the 20th Century and the architectural thinking of the 21st.
The Form of the Formless insists on a bold understanding of the power of sculpture to document the passage of time, the changes to our environment, the way events build on events to shape people’s lives — in other words, to tell afresh the story of how we came to be.
The exhibition is curated by Dr Axel Feuss
ธีรพล ห่อสง่าใช้งานประติมากรรมสื่อถึงคอนเซ็ปต์ของการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว และแก่นแท้ที่จับต้องไม่ได้ของธรรมชาติ ด้วยการเลียนแบบกฎฟิสิกส์และกฎเลขาคณิตในการผลิตโครงสร้างอันซับซ้อน
รูปร่างที่ซับซ้อนถูกสร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อซ้ำไปซ้ำมาจากวัสดุต่างๆ เช่น อลูมีเนียม ไม้ หิน และทองเหลือง แม้ชิ้นงานประติมากรรมเหล่านี้ดูเหมือนกำลังพยายามจะแปลงรูปเป็นสิ่งมีชีวิตอะไรบางอย่าง แต่ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการเจริญเติบโตอย่างตรงไปตรงมา แต่แสดงให้เห็นในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า งานบางชิ้นสะท้อนมุมมองของศิลปินที่มีต่อการเคลื่อนไหวที่มีพลังซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในขณะที่งานชิ้นอื่นๆสะท้อนให้เห็นความฉงนสงสัยของศิลปินว่ากฎฟิสิกส์มีผลต่อการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆอย่างไร
แม้งานประติมากรรมเหล่านี้พยายามสื่อถึงปรากฏการณ์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ฟ้าผ่า แรงดึงดูด ขั้นตอนการเติบโตของสิ่งมีชีวิต แต่ในขณะเดียวกันงานแต่ละชิ้นงานก็เป็นวัตถุที่จับต้องได้และมีพลังอย่างบอกไม่ถูก โครงสร้างเหล่านี้หากเจริญเติบโตต่อไปอาจกลายร่างเป็นรูปทรงธรรมดาก็ได้ แต่มันถูกหยุดไว้ในกาลเวลา และกลายเป็นงานประติมากรรมที่ดูเหมือนยังสร้างไม่เสร็จ และจะถูกเก็บไว้อย่างนั้นชั่วกัลปวสาร โดยงานชุดนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีทางประติมากรรมของศตวรรษที่ 20 และความคิดทางสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 21
การสำแดงของสิ่งที่ไม่มีรูป เชื่อในพลังของประติมากรรมในการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับกาลเวลา ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การที่เหตุการณ์หนึ่งนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่งและทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไป อาจพูดได้ว่าเป็นการเล่าเรื่องราวในมุมมองใหม่ว่าเราเกิดขึ้นและเดินทางมาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไร
ภัณฑารักษ์ของ การสำแดงของสิ่งที่ไม่มีรูป คือ ดร. อักเซล ฟอยซ์
the form of the formless
A SCULPTURE EXHIBITION BY TEERAPON HOSANGA
WTF Gallery and Café, 7 Sukhumvit 51, Bangkok 10110, Thailand, http://wtfbangkok.com/
Teerapon Hosanga: The Form of the Formless
19 Aug – 29 Sep 2010
(for Thai please scroll down)
Shadowing the laws of physics and mathematics in creating complex structures, Teerapon Hosanga uses sculpture as a medium to conceptualize growth and flux and the intangible essence of nature.
The complex forms created by repetitive connections among different rigid materials like aluminium, wood, rock and brass tubes do not literally represent the process of growth, even if they often seem to aspire to familiar organic forms, but rather symbolize them. Some works conceptualize the artist’s perception of the dynamic movement that occurs in the creation of nature, whereas others embody his curiosity about how the laws of physics affect the process of making things. While they often symbolize abstract phenomena – lightning, gravity, the growth process – they are at the same time powerful physical objects in their own right. In thrusting into space as though forever on the point of resolving themselves into regular patterns but forever folding in on themselves or remaining as it were incomplete, provisional, deferred, they draw on both the sculptural theories of the 20th Century and the architectural thinking of the 21st.
The Form of the Formless insists on a bold understanding of the power of sculpture to document the passage of time, the changes to our environment, the way events build on events to shape people’s lives — in other words, to tell afresh the story of how we came to be.
The exhibition is curated by Dr Axel Feuss
ธีรพล ห่อสง่าใช้งานประติมากรรมสื่อถึงคอนเซ็ปต์ของการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว และแก่นแท้ที่จับต้องไม่ได้ของธรรมชาติ ด้วยการเลียนแบบกฎฟิสิกส์และกฎเลขาคณิตในการผลิตโครงสร้างอันซับซ้อน
รูปร่างที่ซับซ้อนถูกสร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อซ้ำไปซ้ำมาจากวัสดุต่างๆ เช่น อลูมีเนียม ไม้ หิน และทองเหลือง แม้ชิ้นงานประติมากรรมเหล่านี้ดูเหมือนกำลังพยายามจะแปลงรูปเป็นสิ่งมีชีวิตอะไรบางอย่าง แต่ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการเจริญเติบโตอย่างตรงไปตรงมา แต่แสดงให้เห็นในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า งานบางชิ้นสะท้อนมุมมองของศิลปินที่มีต่อการเคลื่อนไหวที่มีพลังซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในขณะที่งานชิ้นอื่นๆสะท้อนให้เห็นความฉงนสงสัยของศิลปินว่ากฎฟิสิกส์มีผลต่อการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆอย่างไร
แม้งานประติมากรรมเหล่านี้พยายามสื่อถึงปรากฏการณ์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ฟ้าผ่า แรงดึงดูด ขั้นตอนการเติบโตของสิ่งมีชีวิต แต่ในขณะเดียวกันงานแต่ละชิ้นงานก็เป็นวัตถุที่จับต้องได้และมีพลังอย่างบอกไม่ถูก โครงสร้างเหล่านี้หากเจริญเติบโตต่อไปอาจกลายร่างเป็นรูปทรงธรรมดาก็ได้ แต่มันถูกหยุดไว้ในกาลเวลา และกลายเป็นงานประติมากรรมที่ดูเหมือนยังสร้างไม่เสร็จ และจะถูกเก็บไว้อย่างนั้นชั่วกัลปวสาร โดยงานชุดนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีทางประติมากรรมของศตวรรษที่ 20 และความคิดทางสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 21
การสำแดงของสิ่งที่ไม่มีรูป เชื่อในพลังของประติมากรรมในการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับกาลเวลา ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การที่เหตุการณ์หนึ่งนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่งและทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไป อาจพูดได้ว่าเป็นการเล่าเรื่องราวในมุมมองใหม่ว่าเราเกิดขึ้นและเดินทางมาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไร
ภัณฑารักษ์ของ การสำแดงของสิ่งที่ไม่มีรูป คือ ดร. อักเซล ฟอยซ์
Teerapon Hosanga (2)
(for Thai please scroll down)
Teerapon Hosanga:
Human beings live in a baffling world. They need to understand their surroundings, fellow beings, the world and the universe. To answer the question 'Where are we from?' and 'Why are we here?' we apply science, mathematics and logic, based on empirical evidence from observing our environment, or else we create mystifying rituals to make sense of the patterns and processes of nature.
For instance, an object is composed of many substances that can be divided into smaller elements down to the molecular level, which can in turn be classified into three different states - solid, liquid and gas. Another example of our discoveries it that the Earth and the Universe are not only in flux, but their energy and structure als always expanding within complex strutures and systems such as gravitational and magnetic fields. Based on these discoveries, humans continue to explore and search for answers to better predict the patterns of nature. Yet many mysteries remain.
The discoveries of ancient civilisations have had a great influence on human life - mathematical and geometric theorems are the foundation of architecture, giving birth to some of the most awe-inspiring structures in the world, including the Pyramids and the Parthenon. But geometry has also been used to represent the perfection of God in some religions, for instance the geometric patterns of Islamic mural painting and the linear perspective of the European Renaissance.
These examples show that human knowledge and imagination can be conceptualized in tangible objects and can convey messages about the attitudes, beliefs and aesthetics of each creator's area.
In this exhibition, I use mathematics and geometry to describe abstract structures which unfold in the spherical shapes found in objects and natural phenomena. They are often difficult to describe and intangible, and my objective is to conceptualise these intangible aspects. I experiment with the process of creating sculpture in the form of collecting multiple new stereometric layers, reflecting my perception and understanding of those objects and phenomena, as well as of the aesthetics of dynamic movement that occurs in the creation of nature.
มนุษย์พบว่าตนเองอยู่ในโลกอันน่าพิศวง จึงเกิดความต้องการหยั่งรู้ในสิ่งที่พบเห็นรอบๆตัวมากขึ้น มนุษย์มาจากใหนและมีสถานะอะไรอยู่ในโลก โลกและจักรวาลเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ในความพยายามหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ มนุษย์ใช้ทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หลักเหตุผลรวมทั้งหลักฐานจากการสังเกตการณ์วัตถุและปรากฏการณ์รอบตัว หรือกระทั้งการพยายามเข้าในธรรมชาติด้วยพิธีกรรมอันลี้ลับต่างๆ จนสามารถเข้าใจหรืออธิบายแบบแผนของสิ่งที่จะเกิดขึ้นตรงหน้าได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
เช่น วัตถุประกอบขึ้นจากสสารที่สามารถแบ่งให้เล็กลงไปได้เรื่อยๆจนถึงระดับโมเลกุล และจะสามารถบ่งชี้รูปแบบของสสารนั้นๆได้ด้วยการสังเกตสถานะของสสาร ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือความรู้ที่ว่าโลกและจักวาลนั้นไม่หยุดนิ่งอีกทั้งกำลังขยายตัวเป็นโครงข่ายที่ซับซ้อนด้วยพลังงานที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้ เช่น แรงดึงดูด แรงโน้มถ่วง และพลังงานแม่เหล็ก ผลที่ตามมาคือ มนุษย์มีเป้าหมายสูงสุดเป็นการค้นหากฏที่สามารถทำนายและอธิบายเหตุการณ์ไห้กระจ่างแม่นยำยิ่งๆขึ้นไป แต่ปริศนาต่างๆก็ยังคงหลงเหลืออยู่
อย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ได้รับประโยชน์จากขั้นตอนการสั่งสมความรู้มาตั้งแต่ครั้งอดีต เช่นการได้ประโยชน์จากการหาความรู้คณิตศาสตร์และเรขาคณิตช่วยในการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่าง พีรมิต วิหารพาเธนอน หรือการใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการอธิบายรวมทั้งแสดงภาวะความสมบรูณ์อันไร้ขอบเขตของพระเจ้าและตำแหน่งมุมมองของมนุษย์ที่เข้าถึงได้ด้วยเรขาคณิตเท่านั้น เช่น ลวดลายเรขาคณิตในศิลปะอิสลาม ศิลปะที่ใช้หลักการทัศนียวิทยาและความรู้เรขาคณิตจากอารยธรรมโบราณของศิลปะยุคฟื้นฟูวิทยาการยุโรป ตัวอย่างที่ข้าพเจ้ายกมาข้างต้นอาจสามารถสรุปได้ว่าความรู้ ความคิดและจินตนาการของมนุษย์สามารถทำให้ปรากฏสู่โลกของวัตถุจับต้องได้ ทั้งยังสามารถสื่อทัศนคติและอุดมคติความงามของยุคสมัยของผู้สร้างสรรค์อีกด้วย
ศิลปินจึงพยายามนำหลักการคณิตศาสตร์และเรขาคณิตมาใช้อธิบายความเข้าใจของเขาต่อโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นโครงข่ายย่อยซึ่งพบได้ในรูปแบบพื้นฐานของวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งมองเห็นและจับต้องได้ยาก ให้ออกมาในรูปวัตถุที่จับต้องได้เข้าใจได้ ด้วยกระบวนการทางประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นโครงข่ายย่อย อันเกิดจากการซ้ำกันของรูปทางเรขาคณิต เพื่อแสดงผลสะท้อนการรับรู้และความเข้าใจในเชิงลึกของศิลปินต่อวัตถุและปรากฏการณ์เหล่านั้น ทั้งยังแสดงภาวะความงามของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติผ่านความเข้าใจของมนุษย์ด้วยงานประติมากรรม
Teerapon Hosanga:
Human beings live in a baffling world. They need to understand their surroundings, fellow beings, the world and the universe. To answer the question 'Where are we from?' and 'Why are we here?' we apply science, mathematics and logic, based on empirical evidence from observing our environment, or else we create mystifying rituals to make sense of the patterns and processes of nature.
For instance, an object is composed of many substances that can be divided into smaller elements down to the molecular level, which can in turn be classified into three different states - solid, liquid and gas. Another example of our discoveries it that the Earth and the Universe are not only in flux, but their energy and structure als always expanding within complex strutures and systems such as gravitational and magnetic fields. Based on these discoveries, humans continue to explore and search for answers to better predict the patterns of nature. Yet many mysteries remain.
The discoveries of ancient civilisations have had a great influence on human life - mathematical and geometric theorems are the foundation of architecture, giving birth to some of the most awe-inspiring structures in the world, including the Pyramids and the Parthenon. But geometry has also been used to represent the perfection of God in some religions, for instance the geometric patterns of Islamic mural painting and the linear perspective of the European Renaissance.
These examples show that human knowledge and imagination can be conceptualized in tangible objects and can convey messages about the attitudes, beliefs and aesthetics of each creator's area.
In this exhibition, I use mathematics and geometry to describe abstract structures which unfold in the spherical shapes found in objects and natural phenomena. They are often difficult to describe and intangible, and my objective is to conceptualise these intangible aspects. I experiment with the process of creating sculpture in the form of collecting multiple new stereometric layers, reflecting my perception and understanding of those objects and phenomena, as well as of the aesthetics of dynamic movement that occurs in the creation of nature.
มนุษย์พบว่าตนเองอยู่ในโลกอันน่าพิศวง จึงเกิดความต้องการหยั่งรู้ในสิ่งที่พบเห็นรอบๆตัวมากขึ้น มนุษย์มาจากใหนและมีสถานะอะไรอยู่ในโลก โลกและจักรวาลเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ในความพยายามหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ มนุษย์ใช้ทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หลักเหตุผลรวมทั้งหลักฐานจากการสังเกตการณ์วัตถุและปรากฏการณ์รอบตัว หรือกระทั้งการพยายามเข้าในธรรมชาติด้วยพิธีกรรมอันลี้ลับต่างๆ จนสามารถเข้าใจหรืออธิบายแบบแผนของสิ่งที่จะเกิดขึ้นตรงหน้าได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
เช่น วัตถุประกอบขึ้นจากสสารที่สามารถแบ่งให้เล็กลงไปได้เรื่อยๆจนถึงระดับโมเลกุล และจะสามารถบ่งชี้รูปแบบของสสารนั้นๆได้ด้วยการสังเกตสถานะของสสาร ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือความรู้ที่ว่าโลกและจักวาลนั้นไม่หยุดนิ่งอีกทั้งกำลังขยายตัวเป็นโครงข่ายที่ซับซ้อนด้วยพลังงานที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้ เช่น แรงดึงดูด แรงโน้มถ่วง และพลังงานแม่เหล็ก ผลที่ตามมาคือ มนุษย์มีเป้าหมายสูงสุดเป็นการค้นหากฏที่สามารถทำนายและอธิบายเหตุการณ์ไห้กระจ่างแม่นยำยิ่งๆขึ้นไป แต่ปริศนาต่างๆก็ยังคงหลงเหลืออยู่
อย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ได้รับประโยชน์จากขั้นตอนการสั่งสมความรู้มาตั้งแต่ครั้งอดีต เช่นการได้ประโยชน์จากการหาความรู้คณิตศาสตร์และเรขาคณิตช่วยในการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่าง พีรมิต วิหารพาเธนอน หรือการใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการอธิบายรวมทั้งแสดงภาวะความสมบรูณ์อันไร้ขอบเขตของพระเจ้าและตำแหน่งมุมมองของมนุษย์ที่เข้าถึงได้ด้วยเรขาคณิตเท่านั้น เช่น ลวดลายเรขาคณิตในศิลปะอิสลาม ศิลปะที่ใช้หลักการทัศนียวิทยาและความรู้เรขาคณิตจากอารยธรรมโบราณของศิลปะยุคฟื้นฟูวิทยาการยุโรป ตัวอย่างที่ข้าพเจ้ายกมาข้างต้นอาจสามารถสรุปได้ว่าความรู้ ความคิดและจินตนาการของมนุษย์สามารถทำให้ปรากฏสู่โลกของวัตถุจับต้องได้ ทั้งยังสามารถสื่อทัศนคติและอุดมคติความงามของยุคสมัยของผู้สร้างสรรค์อีกด้วย
ศิลปินจึงพยายามนำหลักการคณิตศาสตร์และเรขาคณิตมาใช้อธิบายความเข้าใจของเขาต่อโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นโครงข่ายย่อยซึ่งพบได้ในรูปแบบพื้นฐานของวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งมองเห็นและจับต้องได้ยาก ให้ออกมาในรูปวัตถุที่จับต้องได้เข้าใจได้ ด้วยกระบวนการทางประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นโครงข่ายย่อย อันเกิดจากการซ้ำกันของรูปทางเรขาคณิต เพื่อแสดงผลสะท้อนการรับรู้และความเข้าใจในเชิงลึกของศิลปินต่อวัตถุและปรากฏการณ์เหล่านั้น ทั้งยังแสดงภาวะความงามของรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติผ่านความเข้าใจของมนุษย์ด้วยงานประติมากรรม
Teerapon Hosanga (1)
Axel Feuss:
PHENOMENA AND STRUCTURES IN SPACE
ปรากฏการณ์และโครงสร้างบนพื้นที่ว่าง
Translation from German: Nicholas Randall
Thai Translation: Somrak Sila and Jakapan Vilasineekul
Photos 2-7: Christopher Wise
It is already the second time that Teerapon Hosanga, still in his period of study, is showcasing works deserving of a lot of attention. In 2005, the young artist presented at the Bangkok University Gallery, under the title Listen in Silence, an installation that conveyed a striking sense for spatial structures. In the white cubic space, braced in every direction on tensioned strings, were amorphous, apparently exploding paper objects. It gave the impression that the observer had found him or herself present in the midst of a momentarily frozen explosion. Essentially the work had been developed as a reaction to the bombing attacks by separatists in Thailand’s southern provinces. The escalating clumps of paper, not only star- but also mushroom-shaped, contained fragments of newspapers, from which reports of current bomb explosions in the south of the country could be read. Similar space installations can otherwise only be found at international biennials, where individual artists are provided with entire spaces.
นิทรรศการศิลปะครั้งนี้ เป็นนิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งที่ 2 ของ ธีรพล หอสง่า ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ โดยครั้งแรกธีรพลได้แสดงผลงานของเขาที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปี 2548 ในนิทรรศการชื่อ Listen in Silence ซึ่งเป็นงานศิลปะจัดวางที่ใช้โครงสร้างโปร่งเป็นตัวสื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงความหมาย ผลงานถูกจัดในห้องสี่เหลี่ยมสีขาวมีวัตถุทำด้วยกระดาษแขวนอยู่ในอากาศกระจัดกระจายไปทั่วทุกทิศทุกทาง ผลงานชิ้นนี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในช่วงเวลาเสี้ยววินาทีท่ามกลางการระเบิดที่หยุดชะงักค้าง ผลงานดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาของศิลปินต่อเหตุการณ์ลอบวางระเบิดของผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก้อนกระดาษที่ไม่เพียงแตกออกเป็นดาวกระจาย แต่ยังม้วนรวมตัวกันเป็นก้อนรูปทรงดอกเห็ดนี้ อันที่จริงถูกทำขึ้นจากเศษเสี้ยวชิ้นส่วนของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั่นเอง การทำงานศิลปะจัดวางที่มีความโดดเด่นในลักษณะนี้มักจะหาดูได้เพียงในงานนิทรรศการศิลปะระดับนานาชาติ Biennale ที่ต่างๆ โดยศิลปินแต่ละท่านจะได้รับพื้นที่เต็มห้องเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตนเองเท่านั้น
The group of six sculptures, which Teerapon has completed for the conclusion of his MFA-Studies at the Silpakorn University of Bangkok Art faculty in the field of sculpture, bears witness to a similarly distinctive feeling for space. With the first sculpture in the group, Half, built up around a large central stone is a half-bowl-shaped stereometric structure, made up of aluminium pipes bound with wire.
On the second sculpture, Enfold, the outer shell stretches out and unfurls into a spherical shape, whose structure is in turn built up of rhombuses, prisms and similar triangular shapes. Some crystals grow in this manner through agglomeration of new stereometric layers. To this end it is not actually important, whether organic growth or chemical-physical processes are intended by Teerapon’s conceptual models. What is meant are general growth processes found in nature. His sculptures are conceptual models for a phenomenon almost unobservable by humans due to its gradualness.
ประติมากรรมชิ้นที่ 2 ภายใต้ชื่อว่า Enfold มีรูปร่างเหมือนเปลือกที่ห่อหุ้มเนื้อใน ดูเหมือนว่าภายนอกของรูปทรงนี้กำลังแผ่ขยายออกห่อหุ้มตัวเองจนกลายเป็นวัตถุทรงกลม ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวทำให้เกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆเกิดขึ้นภายในโครงสร้างนี้ เช่น สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปริซึ่ม และรูปทรงอื่นๆที่มีพื้นฐานมาจากสามเหลี่ยม เราอาจพบว่า ผลึกแร่หรือแก้วที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็มีลักษณะของโครงข่ายที่ประกอบขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิตซ้อนกันเป็นชั้นๆเช่นเดียวกัน อันที่จริง ไม่ว่าการแสดงแบบทางความคิดของธีรพลจะว่าด้วยเรื่องการเจริญเติบโตในชีวภาพหรือปฏิกิริยาทางเคมี-ฟิสิกส์ที่ก่อให้เกิดผลึกนั้น ไม่ใช่สิ่งสำคัญ หัวใจของงานก็คือกระบวนการก่อตัวของวัตถุในธรรมชาติ ประติมากรรมของเขาเป็นการแสดงแบบแผนของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งหนึ่งก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนยากที่มนุษย์คนใดจะสัมผัสรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของมันด้วยประสาทสัมผัส
In the third sculpture, Circle, the process of expansion is completed. The inner seed now sits in the more-than two meter high sculpture like a spider in a web. At last it becomes clear, that for Teerapon the point is not simply to tell a story and develop a prototype for processual phenomena. He is showing his ability to describe abstract structures in space. In doing so he stands in the tradition of internationally known artists, who in the 1960’s began to abstractly describe phenomena such as flotation, movement and growth in classy as well as minimalist metal structures. The Germans Hans Uhlmann and Norbert Kricke and Americans George Rickey and Kenneth Snelson are worth mentioning here.
กระบวนการขยายตัวของวัตถุมีบทสรุปโดยสมบรูณ์ในผลงานชิ้นที่ 3 Circle เมล็ดผลภายในได้ถูกบรรจุลงในประติมากรรมทรงกลมขนาดกว่า 2 เมตร ดูคล้ายกับแมงมุมยักษ์ในใยตะข่ายขนาดใหญ่ ผลงานชิ้นนี้เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า ธีรพลไม่ได้เพียงบรรยายถึงพัฒนาการของวัตถุ หรือแสดงแบบจำลองของกระบวนการทางธรรมชาติให้เราเห็นได้อย่างดีเยี่ยม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการอธิบายโครงสร้างของวัตถุที่เป็นนามธรรมบนพื้นที่ว่างได้อย่างชัดเจน ด้วยกระบวนการความคิดเช่นนี้ศิลปินได้เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับแนวทางสร้างสรรค์ในเรื่องปรากฏการณ์ต่างๆอาทิ ความเบาลอย ความเคลื่อนไหว และการเจริญเติบโต รวมไปถึงแนวทางของประติมากรรมนามธรรมแบบมินิมอลลิสต์ ที่ศิลปินระดับนานาชาติผู้มีชื่อเสียงได้เดินทางล่วงหน้าไปแล้วในยุคทศวรรษที่ 60 เช่น ศิลปินชาวเยอรมัน Hans Uhlmann และ Norbert Kricke รวมทั้งศิลปินชาวอเมริกัน George Rickey และ Kenneth Snelson
In the second group of sculptures, Teerapon is more interested in other phenomena in nature. The motivation for the sculpture Lightning was the problem of describing the phenomenon of lightning. The sculpture is an aluminium and wire structure, which unfolds out of a high-set inner core, and out of a tightly compressed bundle of short aluminium pipes sloping downwards in increasingly longer and more open sections of the metal framework. Dynamics and speed are conveyed here, through geometric-abstract structures. The stable balance of the stone, pushed out of its direction of fall, makes clear the phenomenon of gravity. The point for Teerapon, moreover, is to challenge the laws of physics in his art, and through the medium of sculpture to portray a downwards movement. Here too, he stands in the tradition of eminent sculptors such as David Smith and Barnett Newman who, in their sculptures, turn the laws of physics (carry and load, balance and equilibrium) on their heads.
สำหรับผลงานในกลุ่มที่ 2 ธีรพลให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆมากขึ้น จุดเริ่มต้นของงานประติมากรรมที่มีชื่อว่า Lightning เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะอธิบายปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ผลงานประกอบขึ้นจากอะลูมิเนียมและเส้นลวด โครงสร้างขนาดใหญ่นี้ขยายตัวเองออกจากก้อนหินศูนย์กลางที่ฝังตัวอยู่ด้านบนในจุดเกือบสูงสุดของประติมากรรมชิ้นนี้ รอบก้อนหินศูนย์กลางกระจุกตัวอย่างหนาแน่นไปด้วยท่ออะลูมิเนียมขนาดสั้นและเล็กที่ถูกมัดรวมกันเข้า โครงสร้างของมันแพร่กระจายลงมาในแนวดิ่งเฉียง และเมื่อห่างศูนย์กลางออกไปท่ออะลูมิเนียมก็ยิ่งเพิ่มความยาวมากขึ้นทำให้เกิดโครงสร้างที่มีช่องว่างถ่างออกไปในช่วงล่างของรูปทรง ผลลัพธ์ที่ได้คือพลังและความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วถูกแสดงออกมา การทรงตัวอย่างเสถียรของก้อนหินในตำแหน่งที่ต้านแรงผลักแนวดิ่งนี้แสดงถึงปรากฏการณ์ของแรงโน้มถ่วงอย่างชัดเจน นี้เป็นวัตถุประสงค์ของศิลปินที่ต้องการแสดงความท้าทายต่อกฎของฟิสิกส์และความเคลื่อนไหวด้วยสื่อทางประติมากรรม ผลงานชิ้นนี้เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ศิลปินได้แสดงจุดยืนทางความคิดที่คล้ายคลึงกับประติมากรสำคัญหลายๆคนอาทิ David Smith และ Barnett Newman ซึ่งศิลปินทั้งสองแสดงถึงกฎของฟิสิกส์ทั้งการรักษาศูนย์ถ่วง ความสมดุลย์ แรงดึง และแรงกด ที่กระทำลงบนส่วนยอดในผลงานของพวกเขา
With the sculpture Earth and Moon Teerapon makes use of a pedestal in order to portray the phenomenon of gravitation between the planet Earth and its moon. The talent of the artist is surprising in that, alongside the literal theme and that of the construction model known from the previous sculptures, in the center a wholly simple, strict and serial module out of parallel aluminium rods is used, reminiscent of minimalist structures.
ธีรพลเลือกใช้ส่วนฐานของรูปทรงเป็นสื่อแสดงถึงปรากฎการณ์ของเเรงดึงดูดระหว่างโลกกับพระจันทร์ในผลงานชิ้นต่อมาชื่อ Earth and Moon เเม้ว่าชื่อผลงานชิ้นนี้จะบอกความหมายตรงตัว และโครงสร้างก็คล้ายคลึงกับผลงานชิ้นก่อน เเต่ศิลปินก็ได้เเสดงให้เห็นถึงฝีมืออันยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนกลางของรูปทรงที่เขาเลือกใช้อะลูมิเนียมเส้นตรงเรียบง่ายธรรมดาซ้อนขนานกันจนเกิดเป็นโครงข่ายขึ้น เป็นการแสดงออกถึงโครงสร้างแบบมินิมอลลิสต์ Minimalist มากกว่าผลงานชิ้นอื่นๆ
In the sculpture Beware it is Life, a naturally grown tree trunk stands in the centre of the abstract growth process, which has been developed in two directions. When we think of the history of sculpture in the 20th Century, Henry Moore’s late variations of increasingly more abstract lying figures (Reclining Figures) of the 1960’s come to mind. With these Moore was less concerned with a copy of the human body, as rather with general phenomena of ponderation, gravitation, the representation of natural dimensions, accomplishment of the space, and the “multi-sidedness” of a sculpture. Apparently for Teerapon, too, these basic problems of sculpture have a strong importance. Their unfolding and impact in the space stands in close relationship to spatial structures, which we had already noted at his 2005 installation Listen in Silence.
ผลงานชิ้นสุดท้ายใช้ชื่อว่า Beware it is life มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ท่อนไม้ที่ดูมีชีวิตตรงใจกลางของรูปทรง จากปลายสองด้านมีโครงสร้างนามธรรมงอกต่อออกมาและขยายตัวในเเนวนอนทั้งสองทิศทาง รูปทรงนี้ดูราวกับว่ามันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อทบทวนเทียบกับประวัติศาสตร์ทางประติมากรรมในศตรวรรษที่ 20 การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ทำให้ระลึกถึงงานในช่วงปี 1960s ของศิลปิน Henry Moore ซึ่งอาศัยรูปร่างมนุษย์ที่กำลังเอนนอน (Reclining Figures)มาใช้สร้างรูปทรงเชิงนามธรรม Henry Moore ก้าวข้ามการแสดงลักษณะที่เป็นจริงของรูปร่างมนุษย์ เขาใช้มันเป็นเพียงพาหะไปสู่ขั้นการแสดงถึงปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงทั่วไป เช่น เเรงโน้มถ่วงหรือการหาศูนย์ถ่วงเพื่อให้รูปทรงตั้งอยู่อย่างสมดุลย์ การแสดงถึงมิติและการมีอยู่จริงของพื้นที่ว่าง รวมไปถึงการเเสดงให้เห็นถึงมิติรอบตัวของงานประติมากรรมที่เปิดให้ชมได้จากทุกด้าน ผลงานของธีรพลชิ้นนี้เเสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะตอบโจทย์เดียวกัน ซึ่งเขาย้ำให้เห็นความสำคัญของโจทย์พื้นฐานในการสร้างสรรค์งานประติกรรม ด้วยการใช้โครงสร้างเปิดเพื่อสร้างผลกระทบและความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับพื้นที่ว่างในผลงานของเขา ดังที่ได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วตั้งแต่ผลงานศิลปะจัดวางชุด Listen in Silence ในปี 2549
Teerapon clearly refers to the theory of sculpture of the 20th Century. Nevertheless his works are highly current. In the past years in international architecture, buildings have been constructed that have a highly sculptural character. Teerapon’s light, rhomboidal, light-flooded structures are close to architectural blueprints by Frank O. Gehry, abb architects, Vito Acconci or NOX architects from the last decade. His steep sloping spaces and dimensions, the “multi-sidedness” of his sculptures, and the seemingly organic growth of architectural spaces in every direction and every dimension are today found more so in avant-garde architecture than in the field of sculpture. As sculptures, but also as possible architectural models, Teerapon’s works seem therefore in every way surprising and modern.
ถึงเเม้ผลงานของธีรพลอ้างอิงถึงทฤษฎีศิลปะของศตวรรษที่ 20 กระนั้นก็ตาม ตัวงานของเขามีความเป็นปัจจุบันอย่างมาก หากเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีการออกเเบบโครงสร้างให้ได้ความเป็นประติกรรมมากขึ้น ความโดดเด่นในผลงานของธีรพลชุดนี้ที่ดูเบาและโปร่งเเสง รวมทั้งการใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเพื่อหลีกหนีมวลที่ดูหนาหนักทึบตันแบบกล่องสี่เหลี่ยม มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับผลงานของสถาปนิกชื่อดังหลายๆคนในศตวรรษนี้ เช่น Frank O. Gehry และผลงานออกแบบของ ศิลปิน-สถาปนิกอย่าง Vito Acconci หรือกลุ่มสถาปนิก NOX ใช้ระนาบไต่ระดับให้เกิดความลาดเอียงเข้าไปในมิติที่มีความลึกและพืนที่ว่าง การเปิดให้เห็นถึงมิติรอบตัวของความเป็นงานประติมากรรมจากทุกด้าน ตลอดจนการขยายตัวของรูปทรงออกไปทุกทิศทุกทางอย่างการเติบโตของรูปทรงชีวภาพที่ปรากฏในผลงานประติมากรรมของธีรพลนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่พบได้มากขึ้นในสถาปัตยกรรมลำยุค (avant-garde) และมากกว่าในงานประติมากรรมร่วมสมัยด้วยซ้ำ จึงกล่าวได้ว่า หากพิจารณาผลงานของธีรพลชุดนี้ในทุกเเง่ทั้งด้านความเป็นประติมากรรมและด้วยเเบบแผนทางสถาปัตยกรรมแล้ว ผลงานของเขาน่าประหลาดใจเเละเป็นปัจจุบันอย่างยิ่ง
PHENOMENA AND STRUCTURES IN SPACE
ปรากฏการณ์และโครงสร้างบนพื้นที่ว่าง
Translation from German: Nicholas Randall
Thai Translation: Somrak Sila and Jakapan Vilasineekul
Photos 2-7: Christopher Wise
It is already the second time that Teerapon Hosanga, still in his period of study, is showcasing works deserving of a lot of attention. In 2005, the young artist presented at the Bangkok University Gallery, under the title Listen in Silence, an installation that conveyed a striking sense for spatial structures. In the white cubic space, braced in every direction on tensioned strings, were amorphous, apparently exploding paper objects. It gave the impression that the observer had found him or herself present in the midst of a momentarily frozen explosion. Essentially the work had been developed as a reaction to the bombing attacks by separatists in Thailand’s southern provinces. The escalating clumps of paper, not only star- but also mushroom-shaped, contained fragments of newspapers, from which reports of current bomb explosions in the south of the country could be read. Similar space installations can otherwise only be found at international biennials, where individual artists are provided with entire spaces.
นิทรรศการศิลปะครั้งนี้ เป็นนิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งที่ 2 ของ ธีรพล หอสง่า ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ โดยครั้งแรกธีรพลได้แสดงผลงานของเขาที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปี 2548 ในนิทรรศการชื่อ Listen in Silence ซึ่งเป็นงานศิลปะจัดวางที่ใช้โครงสร้างโปร่งเป็นตัวสื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงความหมาย ผลงานถูกจัดในห้องสี่เหลี่ยมสีขาวมีวัตถุทำด้วยกระดาษแขวนอยู่ในอากาศกระจัดกระจายไปทั่วทุกทิศทุกทาง ผลงานชิ้นนี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในช่วงเวลาเสี้ยววินาทีท่ามกลางการระเบิดที่หยุดชะงักค้าง ผลงานดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาของศิลปินต่อเหตุการณ์ลอบวางระเบิดของผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก้อนกระดาษที่ไม่เพียงแตกออกเป็นดาวกระจาย แต่ยังม้วนรวมตัวกันเป็นก้อนรูปทรงดอกเห็ดนี้ อันที่จริงถูกทำขึ้นจากเศษเสี้ยวชิ้นส่วนของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั่นเอง การทำงานศิลปะจัดวางที่มีความโดดเด่นในลักษณะนี้มักจะหาดูได้เพียงในงานนิทรรศการศิลปะระดับนานาชาติ Biennale ที่ต่างๆ โดยศิลปินแต่ละท่านจะได้รับพื้นที่เต็มห้องเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตนเองเท่านั้น
Teerapon Hosanga: Listen in Silence, 2005
Bangkok University Gallery
The group of six sculptures, which Teerapon has completed for the conclusion of his MFA-Studies at the Silpakorn University of Bangkok Art faculty in the field of sculpture, bears witness to a similarly distinctive feeling for space. With the first sculpture in the group, Half, built up around a large central stone is a half-bowl-shaped stereometric structure, made up of aluminium pipes bound with wire.
Teerapon Hosanga: Half, 2009
rock, wood, string, aluminium, 60 x 30 x 50 cm
This aluminium structure is held in place through intermediary scaffolding made out of wooden skewers, string and resin. It appears as if, through organic or physical procedures, a growth process is developing from an inner seed. The different materials, however, do not impart an actual existing process, but rather a symbolic one: A stone can not grow organically; the aluminium construction is not the accurate copy of actual existent structures of particle physics. Teerapon’s sculpture is a general conceptual model for the phenomenon of growth.
สำหรับในงานนิทรรศการครั้งนี้ ประกอบไปด้วยงานประติมากรรมทั้งหมด 6 ชิ้นเป็นผลงานชุดสุดท้ายเพื่อจบการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นอีกครั้งที่ผลงานของ ธีรพล แสดงถึงความรู้สึกที่ชัดเจนของศิลปินต่อพื้นที่ว่างและวัตถุ ผลงานที่ชื่อว่า Half (ครึ่งหนึ่ง) ถูกสร้างขึ้นจากก้อนหินขนาดใหญ่ที่อยู่ในศูนย์กลาง รูปทรงนี้พัฒนาตัวเองออกมาเป็นโครงสร้างกลมตัดครึ่ง ซึ่งทำขึ้นด้วยท่ออะลูมิเนียมเล็กๆจำนวนมากร้อยรวมกันเข้าด้วยเส้นลวดจนกลายเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเกาะติดกับก้อนหินไว้ได้โดยมีแท่งไม้กลมๆเป็นตัวเชื่อมทำให้ดูเหมือนว่าประติมากรรมชิ้นนี้พัฒนาตัวมันเองขึ้นตามกระบวนการทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต โดยงอกงามเติบโตขึ้นจากเมล็ดภายในที่เป็นแก่นกลาง อย่างไรก็ดีประติมากรรมที่ใช้วัสดุหลายชนิดผสมผสานกันชิ้นนี้มิได้สื่อแสดงถึงสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริง หากสื่อถึงสาระของกระบวนการ หินไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ และเช่นเดียวกันรูปทรงอะลูมิเนียมนี้มิใช่ภาพเหมือนหรือภาพขยายโครงสร้างของสิ่งใด ประติมากรรมของธีรพลแสดงความคิดในเรื่องปรากฏการณ์ของการเจริญงอกงาม
สำหรับในงานนิทรรศการครั้งนี้ ประกอบไปด้วยงานประติมากรรมทั้งหมด 6 ชิ้นเป็นผลงานชุดสุดท้ายเพื่อจบการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นอีกครั้งที่ผลงานของ ธีรพล แสดงถึงความรู้สึกที่ชัดเจนของศิลปินต่อพื้นที่ว่างและวัตถุ ผลงานที่ชื่อว่า Half (ครึ่งหนึ่ง) ถูกสร้างขึ้นจากก้อนหินขนาดใหญ่ที่อยู่ในศูนย์กลาง รูปทรงนี้พัฒนาตัวเองออกมาเป็นโครงสร้างกลมตัดครึ่ง ซึ่งทำขึ้นด้วยท่ออะลูมิเนียมเล็กๆจำนวนมากร้อยรวมกันเข้าด้วยเส้นลวดจนกลายเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเกาะติดกับก้อนหินไว้ได้โดยมีแท่งไม้กลมๆเป็นตัวเชื่อมทำให้ดูเหมือนว่าประติมากรรมชิ้นนี้พัฒนาตัวมันเองขึ้นตามกระบวนการทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต โดยงอกงามเติบโตขึ้นจากเมล็ดภายในที่เป็นแก่นกลาง อย่างไรก็ดีประติมากรรมที่ใช้วัสดุหลายชนิดผสมผสานกันชิ้นนี้มิได้สื่อแสดงถึงสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริง หากสื่อถึงสาระของกระบวนการ หินไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ และเช่นเดียวกันรูปทรงอะลูมิเนียมนี้มิใช่ภาพเหมือนหรือภาพขยายโครงสร้างของสิ่งใด ประติมากรรมของธีรพลแสดงความคิดในเรื่องปรากฏการณ์ของการเจริญงอกงาม
Teerapon Hosanga: Enfold, 2009
rock, wood, string, aluminium, dimension variable
On the second sculpture, Enfold, the outer shell stretches out and unfurls into a spherical shape, whose structure is in turn built up of rhombuses, prisms and similar triangular shapes. Some crystals grow in this manner through agglomeration of new stereometric layers. To this end it is not actually important, whether organic growth or chemical-physical processes are intended by Teerapon’s conceptual models. What is meant are general growth processes found in nature. His sculptures are conceptual models for a phenomenon almost unobservable by humans due to its gradualness.
ประติมากรรมชิ้นที่ 2 ภายใต้ชื่อว่า Enfold มีรูปร่างเหมือนเปลือกที่ห่อหุ้มเนื้อใน ดูเหมือนว่าภายนอกของรูปทรงนี้กำลังแผ่ขยายออกห่อหุ้มตัวเองจนกลายเป็นวัตถุทรงกลม ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวทำให้เกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆเกิดขึ้นภายในโครงสร้างนี้ เช่น สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปริซึ่ม และรูปทรงอื่นๆที่มีพื้นฐานมาจากสามเหลี่ยม เราอาจพบว่า ผลึกแร่หรือแก้วที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็มีลักษณะของโครงข่ายที่ประกอบขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิตซ้อนกันเป็นชั้นๆเช่นเดียวกัน อันที่จริง ไม่ว่าการแสดงแบบทางความคิดของธีรพลจะว่าด้วยเรื่องการเจริญเติบโตในชีวภาพหรือปฏิกิริยาทางเคมี-ฟิสิกส์ที่ก่อให้เกิดผลึกนั้น ไม่ใช่สิ่งสำคัญ หัวใจของงานก็คือกระบวนการก่อตัวของวัตถุในธรรมชาติ ประติมากรรมของเขาเป็นการแสดงแบบแผนของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งหนึ่งก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนยากที่มนุษย์คนใดจะสัมผัสรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของมันด้วยประสาทสัมผัส
Teerapon Hosanga: Circle, 2009
rock, wood, string, aluminium, 270 x 270 x 220 cm
In the third sculpture, Circle, the process of expansion is completed. The inner seed now sits in the more-than two meter high sculpture like a spider in a web. At last it becomes clear, that for Teerapon the point is not simply to tell a story and develop a prototype for processual phenomena. He is showing his ability to describe abstract structures in space. In doing so he stands in the tradition of internationally known artists, who in the 1960’s began to abstractly describe phenomena such as flotation, movement and growth in classy as well as minimalist metal structures. The Germans Hans Uhlmann and Norbert Kricke and Americans George Rickey and Kenneth Snelson are worth mentioning here.
กระบวนการขยายตัวของวัตถุมีบทสรุปโดยสมบรูณ์ในผลงานชิ้นที่ 3 Circle เมล็ดผลภายในได้ถูกบรรจุลงในประติมากรรมทรงกลมขนาดกว่า 2 เมตร ดูคล้ายกับแมงมุมยักษ์ในใยตะข่ายขนาดใหญ่ ผลงานชิ้นนี้เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่า ธีรพลไม่ได้เพียงบรรยายถึงพัฒนาการของวัตถุ หรือแสดงแบบจำลองของกระบวนการทางธรรมชาติให้เราเห็นได้อย่างดีเยี่ยม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการอธิบายโครงสร้างของวัตถุที่เป็นนามธรรมบนพื้นที่ว่างได้อย่างชัดเจน ด้วยกระบวนการความคิดเช่นนี้ศิลปินได้เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับแนวทางสร้างสรรค์ในเรื่องปรากฏการณ์ต่างๆอาทิ ความเบาลอย ความเคลื่อนไหว และการเจริญเติบโต รวมไปถึงแนวทางของประติมากรรมนามธรรมแบบมินิมอลลิสต์ ที่ศิลปินระดับนานาชาติผู้มีชื่อเสียงได้เดินทางล่วงหน้าไปแล้วในยุคทศวรรษที่ 60 เช่น ศิลปินชาวเยอรมัน Hans Uhlmann และ Norbert Kricke รวมทั้งศิลปินชาวอเมริกัน George Rickey และ Kenneth Snelson
Teerapon Hosanga: Lightning, 2009
rock, wood, string, aluminium, 90 x 220 x 180 cm
In the second group of sculptures, Teerapon is more interested in other phenomena in nature. The motivation for the sculpture Lightning was the problem of describing the phenomenon of lightning. The sculpture is an aluminium and wire structure, which unfolds out of a high-set inner core, and out of a tightly compressed bundle of short aluminium pipes sloping downwards in increasingly longer and more open sections of the metal framework. Dynamics and speed are conveyed here, through geometric-abstract structures. The stable balance of the stone, pushed out of its direction of fall, makes clear the phenomenon of gravity. The point for Teerapon, moreover, is to challenge the laws of physics in his art, and through the medium of sculpture to portray a downwards movement. Here too, he stands in the tradition of eminent sculptors such as David Smith and Barnett Newman who, in their sculptures, turn the laws of physics (carry and load, balance and equilibrium) on their heads.
สำหรับผลงานในกลุ่มที่ 2 ธีรพลให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆมากขึ้น จุดเริ่มต้นของงานประติมากรรมที่มีชื่อว่า Lightning เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะอธิบายปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ผลงานประกอบขึ้นจากอะลูมิเนียมและเส้นลวด โครงสร้างขนาดใหญ่นี้ขยายตัวเองออกจากก้อนหินศูนย์กลางที่ฝังตัวอยู่ด้านบนในจุดเกือบสูงสุดของประติมากรรมชิ้นนี้ รอบก้อนหินศูนย์กลางกระจุกตัวอย่างหนาแน่นไปด้วยท่ออะลูมิเนียมขนาดสั้นและเล็กที่ถูกมัดรวมกันเข้า โครงสร้างของมันแพร่กระจายลงมาในแนวดิ่งเฉียง และเมื่อห่างศูนย์กลางออกไปท่ออะลูมิเนียมก็ยิ่งเพิ่มความยาวมากขึ้นทำให้เกิดโครงสร้างที่มีช่องว่างถ่างออกไปในช่วงล่างของรูปทรง ผลลัพธ์ที่ได้คือพลังและความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วถูกแสดงออกมา การทรงตัวอย่างเสถียรของก้อนหินในตำแหน่งที่ต้านแรงผลักแนวดิ่งนี้แสดงถึงปรากฏการณ์ของแรงโน้มถ่วงอย่างชัดเจน นี้เป็นวัตถุประสงค์ของศิลปินที่ต้องการแสดงความท้าทายต่อกฎของฟิสิกส์และความเคลื่อนไหวด้วยสื่อทางประติมากรรม ผลงานชิ้นนี้เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ศิลปินได้แสดงจุดยืนทางความคิดที่คล้ายคลึงกับประติมากรสำคัญหลายๆคนอาทิ David Smith และ Barnett Newman ซึ่งศิลปินทั้งสองแสดงถึงกฎของฟิสิกส์ทั้งการรักษาศูนย์ถ่วง ความสมดุลย์ แรงดึง และแรงกด ที่กระทำลงบนส่วนยอดในผลงานของพวกเขา
Teerapon Hosanga: Earth and Moon, 2009
rock, wood, string, aluminium, 270 x 150 x 120 cm
With the sculpture Earth and Moon Teerapon makes use of a pedestal in order to portray the phenomenon of gravitation between the planet Earth and its moon. The talent of the artist is surprising in that, alongside the literal theme and that of the construction model known from the previous sculptures, in the center a wholly simple, strict and serial module out of parallel aluminium rods is used, reminiscent of minimalist structures.
ธีรพลเลือกใช้ส่วนฐานของรูปทรงเป็นสื่อแสดงถึงปรากฎการณ์ของเเรงดึงดูดระหว่างโลกกับพระจันทร์ในผลงานชิ้นต่อมาชื่อ Earth and Moon เเม้ว่าชื่อผลงานชิ้นนี้จะบอกความหมายตรงตัว และโครงสร้างก็คล้ายคลึงกับผลงานชิ้นก่อน เเต่ศิลปินก็ได้เเสดงให้เห็นถึงฝีมืออันยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนกลางของรูปทรงที่เขาเลือกใช้อะลูมิเนียมเส้นตรงเรียบง่ายธรรมดาซ้อนขนานกันจนเกิดเป็นโครงข่ายขึ้น เป็นการแสดงออกถึงโครงสร้างแบบมินิมอลลิสต์ Minimalist มากกว่าผลงานชิ้นอื่นๆ
Teerapon Hosanga: Beware it is Life, 2009
wooden trunk, wood, string, brass tube, aluminium, steel, stone, 200 x 80 x 90 cm
In the sculpture Beware it is Life, a naturally grown tree trunk stands in the centre of the abstract growth process, which has been developed in two directions. When we think of the history of sculpture in the 20th Century, Henry Moore’s late variations of increasingly more abstract lying figures (Reclining Figures) of the 1960’s come to mind. With these Moore was less concerned with a copy of the human body, as rather with general phenomena of ponderation, gravitation, the representation of natural dimensions, accomplishment of the space, and the “multi-sidedness” of a sculpture. Apparently for Teerapon, too, these basic problems of sculpture have a strong importance. Their unfolding and impact in the space stands in close relationship to spatial structures, which we had already noted at his 2005 installation Listen in Silence.
ผลงานชิ้นสุดท้ายใช้ชื่อว่า Beware it is life มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ท่อนไม้ที่ดูมีชีวิตตรงใจกลางของรูปทรง จากปลายสองด้านมีโครงสร้างนามธรรมงอกต่อออกมาและขยายตัวในเเนวนอนทั้งสองทิศทาง รูปทรงนี้ดูราวกับว่ามันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อทบทวนเทียบกับประวัติศาสตร์ทางประติมากรรมในศตรวรรษที่ 20 การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ทำให้ระลึกถึงงานในช่วงปี 1960s ของศิลปิน Henry Moore ซึ่งอาศัยรูปร่างมนุษย์ที่กำลังเอนนอน (Reclining Figures)มาใช้สร้างรูปทรงเชิงนามธรรม Henry Moore ก้าวข้ามการแสดงลักษณะที่เป็นจริงของรูปร่างมนุษย์ เขาใช้มันเป็นเพียงพาหะไปสู่ขั้นการแสดงถึงปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงทั่วไป เช่น เเรงโน้มถ่วงหรือการหาศูนย์ถ่วงเพื่อให้รูปทรงตั้งอยู่อย่างสมดุลย์ การแสดงถึงมิติและการมีอยู่จริงของพื้นที่ว่าง รวมไปถึงการเเสดงให้เห็นถึงมิติรอบตัวของงานประติมากรรมที่เปิดให้ชมได้จากทุกด้าน ผลงานของธีรพลชิ้นนี้เเสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะตอบโจทย์เดียวกัน ซึ่งเขาย้ำให้เห็นความสำคัญของโจทย์พื้นฐานในการสร้างสรรค์งานประติกรรม ด้วยการใช้โครงสร้างเปิดเพื่อสร้างผลกระทบและความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับพื้นที่ว่างในผลงานของเขา ดังที่ได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วตั้งแต่ผลงานศิลปะจัดวางชุด Listen in Silence ในปี 2549
Teerapon clearly refers to the theory of sculpture of the 20th Century. Nevertheless his works are highly current. In the past years in international architecture, buildings have been constructed that have a highly sculptural character. Teerapon’s light, rhomboidal, light-flooded structures are close to architectural blueprints by Frank O. Gehry, abb architects, Vito Acconci or NOX architects from the last decade. His steep sloping spaces and dimensions, the “multi-sidedness” of his sculptures, and the seemingly organic growth of architectural spaces in every direction and every dimension are today found more so in avant-garde architecture than in the field of sculpture. As sculptures, but also as possible architectural models, Teerapon’s works seem therefore in every way surprising and modern.
ถึงเเม้ผลงานของธีรพลอ้างอิงถึงทฤษฎีศิลปะของศตวรรษที่ 20 กระนั้นก็ตาม ตัวงานของเขามีความเป็นปัจจุบันอย่างมาก หากเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มีการออกเเบบโครงสร้างให้ได้ความเป็นประติกรรมมากขึ้น ความโดดเด่นในผลงานของธีรพลชุดนี้ที่ดูเบาและโปร่งเเสง รวมทั้งการใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเพื่อหลีกหนีมวลที่ดูหนาหนักทึบตันแบบกล่องสี่เหลี่ยม มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับผลงานของสถาปนิกชื่อดังหลายๆคนในศตวรรษนี้ เช่น Frank O. Gehry และผลงานออกแบบของ ศิลปิน-สถาปนิกอย่าง Vito Acconci หรือกลุ่มสถาปนิก NOX ใช้ระนาบไต่ระดับให้เกิดความลาดเอียงเข้าไปในมิติที่มีความลึกและพืนที่ว่าง การเปิดให้เห็นถึงมิติรอบตัวของความเป็นงานประติมากรรมจากทุกด้าน ตลอดจนการขยายตัวของรูปทรงออกไปทุกทิศทุกทางอย่างการเติบโตของรูปทรงชีวภาพที่ปรากฏในผลงานประติมากรรมของธีรพลนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่พบได้มากขึ้นในสถาปัตยกรรมลำยุค (avant-garde) และมากกว่าในงานประติมากรรมร่วมสมัยด้วยซ้ำ จึงกล่าวได้ว่า หากพิจารณาผลงานของธีรพลชุดนี้ในทุกเเง่ทั้งด้านความเป็นประติมากรรมและด้วยเเบบแผนทางสถาปัตยกรรมแล้ว ผลงานของเขาน่าประหลาดใจเเละเป็นปัจจุบันอย่างยิ่ง
August 22, 2010
Frida Kahlo
Axel Feuss:
EXHIBITION REVIEW: FRIDA KAHLO.
RETROSPECTIVE, APRIL 30 - AUGUST 9, 2010
MARTIN-GROPIUS-BAU, BERLIN, GERMANY
in: Fine Art Magazine, Vol. 7, No. 70, Chiang Mai/Bangkok, August 2010, p.83-85
(for German please scroll down)
นิทรรศการของ Frida Kahlo (ฟรีดา คาห์โล)
เขียน: Dr. Axel Feuss แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ
นับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายนถึงวันที่ 9 สิงหาคม ศกนี้ หอศิลป์ Martin-Gropius-Bau (มาร์ติน- โกรพิโอส-เบา) ณ กรุงเบอร์ลิน ได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานของ Frida Kahlo (ฟรีด้า คาห์โล) ศิลปินหญิงชาวเม็กซิกัน (1907-1954) ซึ่งเป็นนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดแสดงมา และนี่เป็นครั้งแรกที่สามารถรวบรวมผลงานสำคัญๆ ของ Frida Kahlo จากพิพิธภัณฑ์ องค์กร และหน่วยงานหลายๆ แห่ง อาทิ Museo Dolores Olmedo (มิวสิโอ โดลอส โอเมโอ) สถาบันดูแลรักษามรดกที่เป็นงานศิลปะ Natasha Gelman Collection (นาตาชา เกลแมน คอล์เลคชั่น) แห่งกรุง Mexico City (เม็กซิโกซิตี) รวมทั้งผลงานที่ยืมมาจากนักสะสม และจากพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศเม็กซิโกจำนวน 30 แห่ง และสหรัฐ อเมริกาอีก 15 แห่ง ผลงานที่จัดแสดงประกอบด้วยภาพจิตรกรรมจำนวน 70 ชิ้น และภาพลายเส้นอีกหลายชิ้น นิทรรศการนี้จัดขึ้นโดย Dr. Helga Prignitz-Poda (ดร. เฮลกา พริกนิตส์-โพดา) นักประวัติ ศาสตร์ศิลป์และผู้เชี่ยวชาญศิลปะแห่งประเทศเม็กซิโก นิทรรศการนี้จะจัดแสดงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ณ Bank Austria Kunstforum ในกรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 5 ธันวาคมศกนี้
Frida Kahlo ได้สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นจำนวนทั้งสิ้น 143 ชิ้น หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นภาพ เหมือนตนเอง (self-portrait) ซึ่งมีอยู่รวมทั้งสิ้น 55 ชิ้น อันเป็นผลงานที่รู้จักกันทั่วโลก ภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสาระสะท้อนชะตากรรมของเธอเอง ซึ่งเริ่มตั้งแต่อุบัติเหตุในรถประจำทางในขณะที่เธอมีอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ ทำให้ร่างกายของเธอมีสภาพพิการไปตลอดชีวิต อีกทั้งเธอยังมีปัญหาชีวิตสมรสกับ Diego Revera ผู้เป็นสามีที่เธอรัก นอกจากนี้เธอยังได้แสดงความคิดเห็นที่เอนเอียงไปทางด้านสังคมนิยมแบบลัทธิมาร์กซ (Marxism) รวมทั้งบทบาทของความเสมอภาคของเพศหญิง ตลอดจนความรักชาติและความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนที่มีบรรพบุรุษเป็นคนพื้นถิ่น ถึงแม้ความสามารถทางด้านการสร้าง สรรค์ของเธอจะมาจากการศึกษาด้วยตนเอง (autodidact) ก็ตาม แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แม้แต่แกลเลอรี่ “Julien Levy” ก็ให้ความสนใจและจัดนิทรรศการแสดงผลงานให้ถึง 25 ชิ้น ณ กรุงนิวยอร์คเมื่อปี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) ต่อมาในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) Frida ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับคนรอบข้าง André Breton ที่อยู่ในแวดวงศิลปะลัทธิเหนือจริง (Surrealism) อีกทั้งได้มีโอกาสพบปะกับ Picasso (ปีกัสโซ), Kandinsky (คานดินสกี), Max Ernst (แมกซ์ เอิร์นสต) และ Joan Miró (ฮวน มิโร) และภายในปีเดียวกันนั้น พิพิธภัณฑ์ Louvre แห่งกรุงปารีส ได้ติดต่อขอซื้อภาพเหมือนตนเอง (self-portrait) ของ Frida อีกด้วย ปัจจุบัน Frida คือ ศิลปินที่สำคัญที่สุดในแถบ Latin America (ลาตินอะเมริกา) ผลงานของเธอจัดว่าเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมแห่งชาติของประเทศเมกซิโก Frida จึงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับชีวิตสร้างสรรค์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่แม้จะประสบชะตากรรมที่เลวร้ายเพียงใด แต่ความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ และจิตสำนึกของเธอกลับไม่ได้ถูกลดทอนลงไปเลยแม้แต่น้อย ผลงานจิตรกรรมของ Frida จัดได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญของศิลปะแนวเหมือนจริงในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1920 ถึง 1950 และเป็นผลงานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะประเภท Neue Sachlichkeit (นอยเออ ซัคลิกไคท) ของเยอรมัน ประสานเข้ากับศิลปะลัทธิเหนือจริง (Surrealism) ของฝรั่งเศส อีกทั้งยังแสดงออกถึงความเป็นศิลปะพื้นเมืองของเม็กซิโกในเวลาเดียวกัน
Frida Kahlo เกิดที่ Cayoacán ในปีค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ซึ่งเป็นปริมณฑลแห่งนครหลวงMexiko City เธอเป็นบุตรสาวของ Wilhelm Kahlo (วิลเฮล์ม คาห์โล) ช่างถ่ายภาพชาวเยอรมัน และภรรยาชาวเม็กซิกัน Matilde Calderón เนื่องจาก Frida เคยป่วยเป็นโรคโปลิโอ เมื่อมีอายุได้เพียงหกขวบ ทำให้ขาข้างหนึ่งของเธอลีบและสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง ประกอบกับอุบัติเหตุในรถประจำทางในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) เธอจึงได้รับความเจ็บปวดทรมาณเพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม อันเนื่องมาจากแท่งโลหะได้แทงทะลุเข้าไปในร่างกายส่วนล่างของเธอ ทำให้เธอได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องนอนเจ็บเป็นเวลานาน และจำต้องทนอยู่กับการผ่าตัดนับครั้งไม่ถ้วน จากอุบัติเหตุนี้ทำให้เธอไม่สามารถมีบุตรได้ และต้องสวมเสื้อรัดลำตัว (corset) ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ และท้ายที่สุดเธอต้องนั่งเก้าอี้รถเข็นไปตลอดบั้นปลายของชีวิต หลังจากอุบัติเหตุครั้งนั้นเธอก็เริ่มเขียนภาพเพื่อเป็นการฆ่าเวลา ภาพเหมือนตนเอง (self portrait) ชิ้นแรกของ Frida เป็นภาพเหมือนครึ่งตัวที่เธอใส่เสื้อผ้ากำมะหยี่สีแดง เขียนขึ้นในขณะที่เธอมีอายุ 19 ปี เธอวาดตามอย่างงานจิตรกรรมในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ของอิตาลี (Renaissance) ซึ่งเธอเลื่อมใสผลงานของยุคนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะผลงานของ Paolo Uccello (เพาโล อูเชลโล), Sandro Botticelli (ซานโดร บอตติเชลลี) และ Agnolo Bronzino (แอกโนโล บรอนซิโน) จากนั้นไม่นานเธอได้ทำความรู้จักกับ Diego Rivera (ดิเอโก ริเวรา) จิตรกรหนุ่มชาวเม็กซิกัน ซึ่งขณะนั้น Rivera มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในฐานะจิตรกรเขียนภาพฝาผนังที่มีสาระทางการ เมือง Frida ได้สมรสกับเขาในปี ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472)
ในปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ทั้งคู่ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาสามปี แต่ตลอดเวลาของชีวิตสมรส Diego Riveraไม่เคยซื่อสัตย์ต่อ Frida เลย ทั้งสองจึงแยกทางกันในปี ค.ศ. 1934 แม้ในระยะแรกทั้งสองยังอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน แต่ที่สุดในปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) ก็หย่าขาดจากกันอย่างเด็ดขาด และสมรสใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) ในระหว่างนั้น Frida Kahlo ได้แสดงผลงานร่วมกับกลุ่มศิลปินลัทธิเหนือจริง (Surrealist) ทั้งในประเทศเม็กซิโก นิวยอร์ค และ ปารีส จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) Peggy Guggenheim ได้จัดแสดงผลงานของเธอภายใต้ชื่อ "Art of this Century" (ศิลปะจากศตวรรษนี้) ณ กรุงนิวยอร์ค ต่อมาเธอก็ได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนจิตรกรรมในกรุง Mexico City เมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก ในระยะสิบปีให้หลังเธอต้องได้รับการผ่าตัดอย่างนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งรวมทั้งการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเช่นกัน จนในที่สุด Frida ก็เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) เพราะร่างกายทนทุกข์ทรมานอีกต่อไปไม่ไหว
ประวัติชีวิตอันน่าเศร้าสลดของ Frida ได้ถูกนำมาเทียบกับชีวิตของ Leo Trotzki (ลิโอ ทรอต์สกี) ชาวรัสเซียผู้มีอุดมการณ์ในลัทธิมาร์กซ และเคยขอลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในประเทศเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) แต่ก็ถูกสังหารในที่สุด สาระเหล่านี้ไม่เคยถูกแยกออกจากการแสดงออกในผลงานของเธอเลย และบ่อยครั้งที่สาระเหล่านี้กลับมีความสำคัญมากกว่าการแสดงออกทางด้านศิลปะด้วยซ้ำไป ถึงกระนั้น ภาพเหมือนตนเอง (self-portrait) ของ Frida กลับสามารถสะท้อนพลังทางศิลปะได้อย่างน่าสนใจ แม้กระทั่ง Picasso ก็เคยเขียนจดหมายถึง Rivera ว่า “ไม่ว่าจะเป็น Derain (4) คุณ หรือแม้แต่ผมเอง ก็ไม่สามารถวาดส่วนหัวได้ดีเทียบเท่ากับ Frida Kahlo วาด” ส่วน André Breton นักวิชาการทางด้านลัทธิเหนือจริง ผู้ตรึงใจกับเสน่ห์ของ Frida และจากพลังของสัญลักษณ์ที่เธอใช้ ได้เขียนไว้ว่า ผลงานของเธอเหมือน “...โบว์ผูกติดระเบิดไว้ (5)”
ความงามของ Frida นั้น ซึ่งเราสังเกตเห็นในผลงานได้อย่างชัดแจ้ง แม้ว่าเธอจะได้รับบาดเจ็บเป็นเวลาอันยาวนานเพียงใดก็ตาม ความงามก็ไม่เคยจางหายไป ขนอ่อนที่ขึ้นบนริมฝีปาก ประกอบกับคิ้วที่ขึ้นงามเรียวยาวประชิดติดกัน รวมทั้งทรงผมที่เกล้าเหนือศีรษะแบบสาวพื้นเมือง ที่สวมเสื้อชุดแบบประเพณีที่ชาวพื้นเมืองเม็กซิกันนิยมใส่กัน สิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นการตั้งใจเน้นย้ำรากเหง้าอันเป็นชาติกำเนิดของตนเอง เมื่อพิจารณาจากภาพเหมือนตนเอง (self-portrait) ของFrida หลากหลายชิ้น ซึ่งรวมทั้งภาพประกอบบทความนี้ ผู้ชมไม่เพียงแต่จะเห็นร่องรอยของบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังเห็นสภาพของบาดแผลที่เกิดจากลูกศรและตะปูที่คอยทิ่มแทง ภาพเหล่านี้สะท้อนถึงการยอมรับสภาพอันเจ็บปวดของเธอเหมือนดั่งชาวคริสต์ที่ยอมทนทุกข์ทรมานเพื่อคริสต์ศาสนา (martyr) ความเจ็บปวดของบาดแผลที่เกิดจากหนามที่แหลมคมของสร้อยคอนั้นคล้ายคลึงกับที่พระเยซูเคยได้รับ เพียงแต่ปรากฏให้เห็นในร่างของหญิงสาวเท่านั้น
Frida Kahlo (ฟรีด้า คาฮ์โล): Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird (ภาพเหมือนตนเองกับสร้อยคอหนามและนกฮัมมิ่งเบิร์ด) ปี ค.ศ. 1940 สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 63.5 X 49.5 ซ.ม. (1)
Nicolas Muray, Harry Ransom Humanities Research Center, The University of Texas at Austin (2), © Banco de México, Diego Rivera & Frida Kahlo Museums Trust, México, VG Bild-Kunst, Bonn 2010 (3)
เมื่อพิจารณาดูผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird” (ภาพเหมือนตนเองกับสร้อยคอหนามและนกผึ้ง) ในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) จะเกิดความรู้สึกเหมือนดั่งกำลังเผชิญหน้ากับภาพของนักบุญหรือภาพของพระเยชูโดยตรง มงกุฎหนามสัญลักษณ์ของการทนทุกข์ทรมานของพระเยซูอยู่ในรูปแบบของสร้อยคอหนาม ซึ่งหนามได้ฝังทิ่มอยู่ในคอผู้ใส่ ส่วนลิงที่อยู่ตรงบ่าขวาด้านหลังคือสัตว์เลี้ยงที่ Rivera เคยให้ Frida เป็นของขวัญ มันกำลังเล่นกับสร้อยรัดคอที่เต็มไปด้วยหนามนั้น เมื่อลิงนั้นขยับตัวย่อมทำให้แผลที่เกิดจากหนามฝังอยู่เปิดกว้างขึ้นได้ ส่วนนกน้อย (hummingbird) นั้นแขวนเหมือนเป็นเครื่อง ราง ซึ่งตามคติของชาวพื้นเมืองเชื่อว่า เป็นเครื่องหมายแห่งความโชคดีในความรัก ส่วนแมวดำเป็นสัญลักษณ์แห่งความเลวร้าย ที่กำลังคอยกระโจนใส่ได้ทุกเมื่อ ภาพนี้จึงเปรียบเสมือนการแสดงความทรมานและความเจ็บปวดภายในใจที่ Frida ได้รับจากความไม่ซื่อสัตย์ของ Rivera รวมถึงจากการหย่าร้างกัน แต่ความไม่ยอมสิ้นหวังของเธอเองและความหวังที่เธอคิดว่าจะได้รับความรักตอบกลับมาบ้างนั้น ยิ่งนานวันก็จะเป็นพิษกับบาดแผลที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ การที่ Frida ใส่เสื้อสีขาว เป็นการเน้นถึงความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสาของเธอ แต่ทุกคนต่างก็รู้ว่า เธอเองก็เคยมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นมาจนนับไม่ถ้วนเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเป็นการแก้แค้น Rivera สามีของเธอ ความรักที่เธอมีต่อธรรมชาติในบ้านเกิดเมืองนอนของเธออย่างเหลือล้นเท่านั้นที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดนี้ได้ ซึ่งเราจะเห็นได้จากรายละเอียดของการวาดใบไม้ในเขตเมืองร้อนที่วางซ้อนกันเป็นฉากหลัง ส่วนปิ่นปักผมรูปผีเสื้อซึ่งเธอบรรจงวาดนั้นเป็นเข็มกลัดที่เธอมีอยู่จริง ในขณะที่สัตว์ประหลาดสองตัวที่มีลักษณะคล้ายกับแมลงปอกำลังบินอยู่เหนือศีรษะทั้งด้านขวาและซ้าย เราจะเห็นว่า ตัวของพวกมันเป็นดอกไม้ ซึ่งอาจจะเป็นการแสดงถึงความหวังที่มีต่อความรักอันบริสุทธิ์ ที่มีอยู่แต่เพียงในโลกเหนือจริง (transcendent) ได้เท่านั้น
(1) ข้อมูลของผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird”
(2) ข้อมูลผู้สะสมและสถาบันดูแลรักษาผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird”
(3) ข้อมูลผู้มีลิขสิทธิ์และสถาบันที่มีลิขสิทธิ์ต่อภาพประกอบผลงาน “Self-Portrait with Thorn Necklace and Hummingbird”
(4) André Derain เป็นศิลปินผู้หนึ่ง อยู่ในกลุ่มศิลปินลัทธิ Fauvism (ลัทธิโฟวิสม์)
(5) โบว์นั้นเปรียบเหมือนเสนห์ของเพศหญิง(ใช้ติดผมให้สวย)
FRIDA KAHLO. RETROSPEKTIVE
30. APRIL - 9. AUGUST 2010
MARTIN-GROPIUS-BAU, BERLIN
Im Martin-Gropius-Bau in Berlin ist vom 30. April bis 9. August 2010 die größte jemals gezeigte Werkschau der mexikanischen Malerin Frida Kahlo (1907-1954) mit 70 Gemälden und ebenso vielen Zeichnungen zu sehen. Die Ausstellung, die von der Kunsthistorikerin und Spezialistin für Mexikanische Kunst Dr. Helga Prignitz-Poda kuratiert wurde, vereinigt erstmals die beiden bedeutendsten Sammlungen von Werken Frida Kahlos: die des Museo Dolores Olmedo und die Natasha Gelman Collection in Mexiko-City, sowie Leihgaben aus 30 mexikanischen und 15 nordamerikanischen Privatsammlungen und Museen. Die Ausstellung wird anschließend vom 1. September bis 5. Dezember 2010 im Bank Austria Kunstforum in Wien gezeigt.
Frida Kahlo schuf lediglich 143 Gemälde. Fünfundfünzig davon sind Selbstbildnisse, die weltberühmt wurden. In Ihnen verarbeitete die Künstlerin schwere Schicksalsschläge wie die Folgen eines Busunfalls, durch den sie als 18jährige schwere körperliche Schäden und lebenslange Behinderungen erlitt. Sie thematisierte ihre Beziehungskrisen und die Liebe zu ihrem Mann, dem Maler Diego Rivera, ihre revolutionäre marxistische Gesinnung, ihre Rolle als Frau, die Liebe zu ihrer Heimat Mexiko und zu ihren eingeborenen Vorfahren. Obwohl sie Autodidaktin war, wurden schon 1937 fünfundzwanzig ihrer Werke in der New Yorker Galerie Julien Levy ausgestellt. 1940 begegnete sie den Surrealisten im Kreis um André Breton in Paris, traf Picasso, Kandinsky, Max Ernst und Joan Miró. Im selben Jahr erwarb der Pariser Louvre eines ihrer Selbstporträts. Heute ist sie die bekannteste Malerin Lateinamerikas. Ihr Werk wurde in Mexiko zum nationalen Kulturgut erklärt. Ihre künstlerische Arbeit wurde zum herausragenden Beispiel für die Malerei von Frauen, da die Malerin trotz aller persönlichen Rückschläge ihr Selbstbewusstsein, ihre Überzeugungen und ihren Stolz nie verlor. Ihre Gemälde gehören zu den bedeutendsten Leistungen der realistischen Kunst der Jahrzehnte zwischen 1920 und 1950. Sie sind von dem in Deutschland entstandenen Malstil der Neuen Sachlichkeit und dem französischen Surrealismus beeinflusst, enthalten aber auch Elemente der mexikanischen Volkskunst.
Frida Kahlo wurde 1907 in Cayoacán, einer Vorstadt von Mexiko-City, als Tochter des aus Deutschland stammenden Fotografen Wilhelm (Guillermo) Kahlo und seiner Frau, der Mexikanerin Matilde Calderón, geboren. Als Folge einer Kinderlähmung behielt sie schon im Alter von sechs Jahren ein verkürztes Bein zurück. Das Busunglück 1926 brachte ihr neue Leiden: Eine Metallstange bohrte sich durch ihren Unterleib und versursachte so schwere Verletzungen, dass sie lange Zeit bettlägerig war. Sie musste ihr Leben lang Korsetts tragen, zahlreiche Operationen erdulden, blieb kinderlos und verbrachte die letzten Jahre im Rollstuhl. Bald nach dem Unfall begann sie im Bett zu malen - lediglich um sich zu beschäftigen. Ihr erstes Selbstbildnis, das sie als Dreiviertelfigur in einem roten Samtkleid zeigt, malte sie mit 19 Jahren nach Vorbildern italienischer Maler der Renaissance. Sie bewunderte die Meister des 15. und 16. Jahrhunderts, Paolo Uccello, Sandro Botticelli und Agnolo Bronzino. Bald darauf lernte sie den mexikanischen Maler Diego Rivera kennen, der schon zu dieser Zeit für seine politisch-revolutionären Wandbilder weltberühmt war, und heiratete ihn 1929. 1930 ging das Paar für drei Jahre in die USA. Riveras fortwährende Untreue führte 1934 zur Trennung. Dennoch lebten sie im selben Haus, ließen sich 1939 scheiden und heirateten 1940 erneut. Inzwischen hatte Frida Kahlo in Mexiko und New York an zahlreichen Gruppenausstellungen teilgenommen und in Paris zusammen mit den Surrealisten ausgestellt. 1943 zeigte Peggy Guggenheim ihre Bilder in der Ausstellung "Art of this Century" in New York. In Mexiko-City erhielt sie einen Lehrstuhl für Malerei. Ihre Lehrtätigkeit musste sie jedoch häufig unterbrechen, da sie sich in den folgenden zehn Jahren zahlreichen Operationen auch an der Wirbelsäule unterziehen musste. 1954 starb sie an den Folgen ihrer körperlichen Leiden.
Ihre bewegte Biographie, die sie unter anderem mit dem 1940 im mexikanischen Exil ermordeten russischen Revolutionär Leo Trotzki zusammenbrachte, ist nie von ihrer Malerei getrennt worden. Dabei tritt die Bedeutung ihrer Kunst häufig in den Hintergrund. Doch gerade von ihren Selbstporträts geht eine große Faszination und künstlerische Kraft aus. Picasso schrieb in einem Brief an Rivera: "Weder (André) Derain, noch Du, noch ich sind in der Lage, einen Kopf so zu malen wie Frida Kahlo." Und André Breton, der wichtigste Theoretiker der Surrealisten, schrieb, fasziniert von ihrer weiblichen Ausstrahlung und der Brisanz ihrer Symbolik, ihre Kunst sei wie "eine Schleife um eine Bombe".
Frida Kahlo hat, das zeigen auch ihre Fotos, trotz der langen und schweren Krankheit ihre Schönheit nie verloren. Der Damenbart und die prägnanten zusammengewachsenen Augenbrauen gehörten dabei ebenso zu ihrer Erscheinung wie ihre ungewöhnlichen Frisuren, die sie nach Art der einheimischen Frauen hochgesteckt trug, und ihre traditionellen mexikanischen Kleider, die ihre eingeborene Herkunft betonen sollten. In zahlreichen Selbstbildnissen, auch in dem hier gezeigten, stellte sie sich nicht nur mit Verletzungen ihrer zahlreichen Operationen, sondern auch von Pfeilen und Nägeln durchbohrt wie eine christliche Märtyrerin oder mit den Wundmalen von Dornenhalsbändern in der Gestalt eines weiblichen Christus dar.
Frida Kahlo: Selbstbildnis mit Dornenhalsband und Kolibri,
1940, Öl auf Leinwand, 63,5 x 49,5 cm
Nickolas Muray Collection, Harry Ransom Humanities Research Center, The University of Texas at Austin,
© Banco de México, Diego Rivera & Frida Kahlo Museums Trust, México, VG Bild-Kunst, Bonn 2010
In dem "Selbstbildnis mit Dornenhalsband und Kolibri" von 1940 entspricht auch die strenge Frontalität des Porträts dem Typus eines Heiligen- oder Christus-Bildnisses. Die Dornenkrone, das Leidenssymbol Christi, trägt sie als Halsband. Einige der Dornen stecken in ihrem Hals. Der Affe hinter ihrer rechten Schulter - eines ihrer Haustiere und ein Geschenk von Rivera - spielt mit dem Dornenzweig und vertieft mit seinen Bewegungen ihre blutenden Wunden. Der am Halsband befestigte tote Kolibri, der in der mexikanischen Volkskunst Glück in der Liebe symbolisiert, wird von ihr wie ein Amulett getragen. Er wird von der schwarzen Katze, Symbol des Bösen, sprungbereit fixiert. Das Bild ist ein Gleichnis für die seelischen Verletzungen, die Frida durch die Untreue Riveras und die Scheidung von ihm ertragen musste. Es verkörpert aber auch die nie endende Hoffnung auf ihre gemeinsame Liebe, die immer gefährdet war. Kahlo erscheint durch ihr weißes Gewand rein und unschuldig. Dennoch wissen wir, dass sie sich durch zahlreiche eigene Liebesaffären an Rivera rächte. Schutz bot ihr die üppige und über alles geliebte Natur ihrer Heimat, symbolisiert durch die detailliert gemalten aufrecht stehenden Blätter tropischer Pflanzen im Hintergrund des Bildes. Die filigranen Schmetterlings-Broschen in ihrem Haar, die sie tatsächlich besaß, und die beiden merkwürdigen rechts und links davon fliegenden Mischwesen aus abgebrochenen Blüten mit Libellen-Flügeln können als künftige reine Liebe in einer besseren, jenseitigen Welt gedeutet werden.
Subscribe to:
Posts (Atom)