June 04, 2010

Ernst Ludwig Kirchner

Axel Feuss:
EXHIBITION REVIEW: ERNST LUDWIG KIRCHNER. RETROSPEKTIVE, APRIL 23 -  JULY 25, 2010,
STAEDEL MUSEUM, FRANKFURT AM MAIN, GERMANY


in: Fine Art Magazine, Vol. 7, No. 68, Chiang Mai/Bangkok, June 2010, p. 36-37 

(for German please scroll down)

เอิร์นสต์ ลุดวิก เคียร์คเนอร์
เขียน: Axel Feuss  แปล: ศิริวรรณ ผุงประเสริฐ

Ernst Ludwig Kirchner (ค.ศ. 1880–1938 หรือ พ.ศ. 2423 - 2481) คือผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มศิลปิน “บรุคเคอ” (Bruecke) และเป็นศิลปินที่สำคัญในลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) อีกทั้งยังเป็นศิลปินท่านหนึ่ง ที่ให้อิทธิพลแก่วงการศิลปะยุคโมเดอร์นอาร์ต

ในวันที่ 23 เมษายน จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน ศกนี้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ “Staedel Museum” ณ กรุงแฟรงค์เฟอร์ต ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี ได้จัดแสดงนิทรรศการรวบรวมผลงานของ Kirchner (เอิร์นสต์ ลุดวิก เคียร์คเนอร์) นับเป็นนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ครั้งแรกในรอบสามสิบปี โดยนำเสนอผลงานจิตกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ จำนวนกว่า 180 ชิ้นในครั้งนี้

Kirchner เกิดที่ เมือง Aschaffenburg ณ ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423) บิดาเป็นวิศวกรซึ่งต่อมาเป็นอาจารย์สอนสาขาการวิจัยกระดาษ หลังจากที่ครอบครัวของ Kirchner ได้ย้ายถิ่นฐานจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปยังเมืองเคมนิตส์ (Chemnitz) ในประเทศเยอรมนี นับตั้งแต่ ปี ค.ศ.1901 เขาจึงเริ่มศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม ณ “Technische Hochschule” ในเมืองเดรสเดน (Dresden) ตามความประสงค์ของบิดา แต่ทว่าในเวลาต่อมา Kirchner และเพื่อนนักศึกษาอีกสามคนคือ Fritz Bleyl, Erich Heckel และ Karl Schmidt-Rottluff กลับให้ความสนใจกับการสร้างสรรค์ทางด้านจิตรกรรมมากกว่าทางด้านสถาปัตยกรรม พร้อมทั้งได้ร่วมกันตั้งกลุ่มศิลปิน “บรุคเคอ”(Bruecke) ในปี ค.ศ. 1905 (พ.ศ. 2448) โดยจุดมุ่งหมายของศิลปินกลุ่มนี้คือ การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากผลงานแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ ( Naturalism1 ) และศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) อย่างสิ้นเชิง โดยเน้นการใช้รูปทรงและสีเป็นองค์ประกอบ รวมทั้งใช้ความฉับพลันที่ไร้การเสแสร้งเป็นหลักในการสร้างสรรค์ เพื่อเป็นสื่อในการแสดงออกถึงความรู้สึกที่มีต่อสังคมสมัยใหม่ในเวลานั้น

สาระในผลงานชิ้นแรกๆของศิลปินกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักสะท้อนชีวิตของสังคมในเมืองใหญ่ เช่น เรื่องราวของละครสัตว์ การแสดงให้ความบันเทิงต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการเต้นหรือฟ้อนรำต่างๆ ตลอดจนภาพเปลือยและภาพทิวทัศน์ ศิลปินกลุ่มนี้ใช้ชีวิตในชนบทที่ใกล้ทะเลสาบ ทำให้ผลงานส่วนใหญ่แสดงถึงความอิสระ เช่น การเปลือยกายในท่ามกลางธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงที่เป็นเหลี่ยมเป็นมุมในเชิงเรขาคณิต ลดทอนรายละเอียดรูปทรงของทั้งสิ่งของและคนให้เหลือแต่ความเรียบง่าย และใช้สีที่สดเป็นหลักในการแสดงออก ซึ่งเป็นการท้าทายผู้ชมชนชั้นกระฏุมพีโดยตรง จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจห้ามติดป้ายโฆษณาและจัดแสดงนิทรรศการผลงานของศิลปินกลุ่มนี้ และเท่ากับเป็นต้นกำเนิดของศิลปะรูปแบบใหม่ อันเป็นที่นิยมยาวนานมาเกือบสามทศวรรษ และเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ ลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ในปัจจุบันนี้

เมื่อเวลาผ่านไป Kirchner ผู้เป็นสมาชิกที่สำคัญคนหนึ่งในกลุ่มนี้ กลับเห็นว่าทัศนียภาพของเมืองเดรสเดน และปริมณฑลดูค่อนข้างล้าสมัยไปสำหรับเขา มีแต่เมืองหลวงเบอร์ลิน (Berlin) เท่านั้นที่เปิดโอกาสให้ผลงานของเขาให้เป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วกว่า เนื่องจากเขาเคยอาศัยอยู่ ณ กรุงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1909 (2452) เขาจึงตัดสินใจย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ ที่นั่นอย่างถาวรในปี ค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2454) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Kirchner ใช้ความสังเกตอันลึกซึ้ง และสามารถเข้าใจสถานการณ์ของนครใหญ่ได้ชัดเจนกว่าเพื่อนร่วมกลุ่มของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาระในผลงานชุดเมืองหลวงของเขา มักปรากฏหญิงกลุ่มหนึ่ง แต่งตัวแบบสมัยใหม่และแต่งหน้าตาอย่างฉูดฉาด ใส่หมวกประดับขนนกและใช้หนังขนสัตว์พันคอ (ดูรูป) พวกเธอคือโสเภณี ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในแวดวงของสังคมชั้นสูงของกรุงเบอร์ลิน ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจที่ชอบใช้ชีวิตหาความบันเทิงเริงรมย์ในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยแหล่งสังสรรค์บันเทิง เช่น สโมสรศิลปิน คอฟฟี่ชอพอันหรูหรา และที่นั่นย่อมรวมถึงสังคมผู้ด้อยโอกาสและสังคมปลายแถวที่มีอยู่อย่างหลากหลายอีกด้วย

จากการที่ใช้ชีวิตสมถะแบบศิลปินอันไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม และจากการที่ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ทำให้จิตใจของศิลปินไม่มั่นคงและตึงเครียด ผลงานของเขาจึงสะท้อนชีวิตของคนกลุ่มหนึ่งคือ “โสเภณี” ซึ่งเป็นอาชีพที่ถูกสังคมทั่วไปดูแคลนเช่นเดียวกันกับตัวเขาเอง

ในระหว่างปี ค.ศ. 1913 (พ.ศ. 2456) ถึงปี ค.ศ. 1915 ( พ.ศ. 2458) Kirchner ได้สร้างสรรค์ผลงาน จิตรกรรมประมาณสิบชิ้น ภาพพิมพ์ไม้ (woodcut) และภาพลายเส้นด้วยสีเทียน สีชอล์ก และสีถ่าน อีกประมาณร้อยชิ้น ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ผลงานชุด “ชีวิตบนท้องถนนในกรุงเบอร์ลิน” ซึ่งส่วนใหญ่แสดงถึงชีวิตของโสเภณีเป็นหลัก ผลงานเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นงานที่ดีที่สุดในชีวิตสร้างสรรค์ของศิลปินเท่านั้น แต่ยังเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดในรูปแบบแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ของวงการศิลปะของเยอรมัน ซึ่งเคยจัดแสดงในปี ค.ศ. 2008 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Museum of Modern Art แห่งกรุงนิวยอร์ค

การย้ายที่อยู่จาก เดรสเดน (Dresden)ไปยังกรุงเบอร์ลิน ทำให้ Kirchner กลายเป็นชายหนุ่มที่ห้อมล้อมไปด้วยหญิงสาว ทั้งๆที่ ในขณะที่เขาอยู่ในเมืองเดรสเดน เขาเคยใช้ชีวิตคู่กับ โดโด (Dodo) หญิงสาวที่มีรูปร่างค่อนข้างท้วม ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นนางแบบ แต่ในกรุงเบอร์ลิน Kirchner ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับสาวแบบใหม่ และมีคู่ครองคนใหม่ซึ่งมีชื่อว่า แอร์นา เชลลิงก์ และน้องสาวของเธอ พี่น้องทั้งสองมีรูปร่างสูงโปร่ง ดังที่ศิลปินเคยเขียนบันทึกไว้ว่า “รูปร่างเชิงสถาปัตยกรรม” และได้กลายเป็นผู้หญิงในอุดมคติของเขา ที่สะท้อนออกมาในลักษณะของหญิงโสเภณีในผลงานชุด “ชีวิตบนท้องถนนในกรุงเบอร์ลิน” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถึงแม้ใบหน้าของหญิงที่ปรากฏในผลงานชุดนี้ (ดูรูป) จะไม่ค่อยแสดงอัตลักษณ์ของตนเอง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ชายในภาพซึ่งเป็นลูกค้าของกลุ่มโสเภณีนี้ เอกลักษณ์ของผู้ชายเหล่านั้นกลับมีน้อยกว่าเสียอีก หรือแทบไม่เห็นความแตกต่างอย่างใด แต่ละคนกลับมีลักษณะที่เหมือนกัน ผลงานชุด “ชีวิตบนถนน” ของ Kirchner จึงเท่ากับเป็นสื่อสะท้อนสภาพของสังคมทั้งสองฝ่ายคือ โสเภณีและลูกค้า ที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่เป็นสังคมที่เป็นไปตามกลไกของกามกิจมากกว่า

Ernst Ludwig Kirchner: Strasse, 1913 (บนถนน, 1913)
สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด 120 X 91 ซ.ม. ณ
The Museum of Modern Art, New York

ทัศนียภาพ ในผลงานที่แสดงถาวรในนิวยอร์ค (ดูรูป) สะท้อนความเคลื่อนไหวอันเต็มไปด้วยพลัง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความเร่งด่วนภายในตัวเมืองใหญ่ ในท่ามกลางความเคลื่อนไหวบนใจกลางถนนและบนทางเดินข้างตึก จะเห็นหญิงสองคนเดินฉุยฉายไปมาอย่างใจเย็นและเชื่อมั่นในตัวเองอย่างผิดปกติ ส่วนกลุ่มผู้ชายในภาพนั้นแต่งกายเหมือนกันทุกคน จึงทำให้ไม่มีใครมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ หมู่ชายที่อยู่ด้านหลังของภาพกำลังกระซิบกระซาบกัน บ้างก็ดูเหมือนเดินตามหญิงโสเภณีทั้งสองอย่างไม่รู้ตัว สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ กลุ่มคนในภาพได้รวมตัวกันเป็นรูปหัวใจ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก และมีชายที่อยู่ในระยะหน้าทางด้านขวาของภาพเพียงผู้เดียวที่ยืนหันหน้าออกไปด้านข้าง เหมือนกับเป็นผู้ไร้โชคที่หมดอาลัยและถูกทอดทิ้ง โดยที่ไม่มีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่มคนอย่างอบอุ่น แต่ทว่าหญิงสาวที่อยู่ด้านหน้าสุดของภาพกลับทอดสายตาให้แก่ชายผู้นี้

ส่วนสีที่ใช้ในผลงานมีเพียงสามสีคือ สีแดง สีฟ้า และสีดำ ที่ถูกนำมาตัดเป็นเงา ซึ่งเข้ากับสาระของภาพคือ สีแดง สีชมพูเข้ม และสีม่วงนั้น ตามประเพณีสีเหล่านี้คือ สีแห่งเพศหญิงและสีแห่งความรัก ส่วนสีฟ้า ตามความหมายของจิตรกรรมในประเทศเยอรมันคือ สีแห่งความไฝ่ฝัน รอยฝีแปรงที่เขียนขึ้นอย่างหยาบๆ และรวดเร็ว คือลักษณะพิเศษของ Kirchner ที่ใช้สร้างสรรค์ในเบอร์ลินนั้น สามารถสร้างความเคลื่อนไหวเหมือนดั่งสภาพสังคมของตัวเมืองใหญ่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้รอยฝีแปรงเช่นนี้ยังแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในที่ไม่สงบและเต็มไปด้วยความเครียดของศิลปินอีกด้วย อันเป็นความไม่สงบที่เกิดจากวิถีชีวิตของศิลปินที่ถูกครอบงำด้วยการโหยหาและต้องการความสัมพันธ์

1. Naturalism จุดมุ่งหมายของการสร้างสรรค์ผลงานลักษณะนี้คือ การเขียนภาพเหมือนของจริง โดยไม่จำกัดสาระหรือชนชั้นของสังคม


ERNST LUDWIG KIRCHNER. RETROSPEKTIVE
23. APRIL - 25. JULI 2010
STÄDEL MUSEUM, FRANKFURT AM MAIN

Ernst Ludwig Kirchner (1880–1938), Gründungsmitglied der Künstlervereinigung Brücke und einer der bedeutendsten Künstler des Expressionismus, hatte prägenden Einfluss auf die Kunst der klassischen Moderne. Das Städel Museum in Frankfurt am Main, eines der ältesten und bedeutendsten deutschen Museen, zeigt vom 23. April bis 25. Juli 2010 die erste große Retrospektive Kirchners seit dreißig Jahren und präsentiert über 180 Werke des Malers, Graphikers und Bildhauers.

Kirchner wurde 1880 in Aschaffenburg als Sohn eines Ingenieurs und späteren Professors für Papierforschung geboren. Nachdem die Familie zunächst in die Schweiz und dann nach Chemnitz umgezogen war, begann Kirchner 1901 auf Wunsch des Vaters ein Architekturstudium an der Technischen Hochschule in Dresden. Gemeinsam mit seinen Studienkollegen Fritz Bleyl, Erich Heckel und Karl Schmidt-Rottluff, die sich alle mehr für die Malerei als für ihr Architekturstudium interessierten, gründete er 1905 die Künstlergruppe Brücke. Ihr Ziel war es, einen neuen Stil in der Malerei zu schaffen, der sich vom Naturalismus und vom Impressionismus der älteren Maler-Generationen lossagte und den Ausdruck in Farbe und Form, unmittelbares und unverfälschtes Schaffen und die Gefühlswelt des modernen Menschen in den Vordergrund stellte.

Die ersten Bildthemen dieser Malergruppe, zu der bald Max Pechstein, Emil Nolde und Otto Mueller hinzu kamen, waren das Leben in der Stadt, Szenen aus Zirkus und Varieté, der Mensch in der Bewegung, Tanz, Aktdarstellungen und Landschaften. Gemeinsam fuhren die Maler aufs Land und an die See um zu malen. Vor allem die freizügigen Darstellungen nackter Menschen in der Natur, die eckigen, geometrisch reduzierten Formen ihrer Figuren und die grellen reinen Farben reizten bürgerliche Galerie- und Ausstellungsbesucher zu offenem Protest und führten zum polizeilichen Verbot von Plakaten und Ausstellungen. Sie begründeten aber auch einen neuen, fast drei Jahrzehnte anhaltenden Stil in der Malerei, der unter dem Namen Expressionismus bekannt wurde.

Für Kirchner, der sich immer als wichtigstes Mitglied der Künstlergruppe Brücke verstand, wurden Dresden und die umliegende Landschaft bald zu provinziell. Nur in der Reichshauptstadt Berlin war mit schnellerer künstlerischer Anerkennung und finanziellen Erfolgen zu rechnen. Nach kürzeren Aufenthalten seit 1909 ließ er sich 1911 endgültig in Berlin nieder. Kirchner reagierte sensibler und schärfer auf die Eindrücke der Großstadt als seine Malerkollegen. Zum beherrschenden Thema seiner Berliner Stadtlandschaften wurde eine besondere Gruppe auffällig und modisch gekleideter, stark geschminkter Damen mit modernen Federhüten und Pelzkragen. Es waren die Berliner Prostituierten, die sich wie selbstverständlich in der Gesellschaft feiner Herren und Geschäftsleute bewegten und die das mondäne Leben der deutschen Hauptstadt mit ihren zahlreichen Varietés, Künstlerclubs und Cafés und der großen Zahl sozialer und ethnischer Randgruppen mit prägten.

Kirchner selbst steigerte sich in Berlin privat und psychisch immer stärker in einen labilen, übererregten Zustand. Seine eigene isolierte Situation als Künstler, der von der Gesellschaft nicht akzeptiert wurde, fand in der Darstellung der von der Gesellschaft verachteten Prostitutierten eine Entsprechung. Zwischen 1913 und 1915 schuf er rund zehn Gemälde und etwa einhundert Holzschnitte, Pastell-, Kreide- und Kohlezeichnungen: die berühmt gewordenen Berliner Straßen-Szenen, bei denen die Prostituierten im Vordergrund stehen. Diese Werke bilden nicht nur den Höhepunkt von Kirchners künstlerischem Schaffen, sondern sie gehören auch zu den bedeutendsten Kunstwerken des Deutschen Expressionismus. 2008 war der gesamte Komplex der Straßen-Bilder erstmals geschlossen im Museum of Modern Art in New York ausgestellt.

Mit seinem Wechsel von Dresden nach Berlin war auch ein neuer Frauentyp in Kirchners Leben getreten. Während seiner Dresdner Jahre hatte seine Freundin Dodo Modell für seine dort geschaffenen rundlichen, weichen Frauenakte gestanden. In Berlin lernte er seine neue Lebensgefährtin Erna Schilling und deren Schwester kennen. Ihre hochgewachsenen, strengen und - wie er selbst schrieb - architektonisch gebauten Körperformen beeinflussten von nun an sein Frauenbild und gaben das Vorbild für die Prostituierten auf den Berliner Straßen-Bildern ab. Die Gesichter auf den in dieser Serie entstandenen Arbeiten sind jedoch wenig individuell, sondern stark typisiert. Ihnen gegenüber treten die individuellen Merkmale ihrer Freier noch stärker zurück oder sind gar nicht mehr vorhanden. Kirchners Straßen-Bilder sind also allgemein gültiger Ausdruck einer gesellschaftlichen Situation, in der beide Gruppen, Prostituierte und Freier, nicht als Individuen reagieren, sondern so wie es die Gesellschaft und die Sexualität von ihnen erwarten.

Ernst Ludwig Kirchner: Die Straße, 1913
Öl auf Leinwand, 120 x 91 cm
The Museum of Modern Art, New York

Das New Yorker Bild zeigt durch die starke perspektivische Ausrichtung eine hohe Dynamik und symbolisiert damit die Hektik der Großstadt. Inmitten des starken Sogs der Straße und der seitlichen Gebäude flanieren die beiden Damen jedoch mit auffälliger Ruhe und Selbstsicherheit. Die Herren, einheitlich gekleidet und damit noch weniger individuell, flüstern weit im Hintergrund oder folgen fast automatisch dem Schritt der beiden Prostituierten. Auffällig ist der Umriss dieser drei Personengruppen als Herz gestaltet, dem geläufigen Symbol der Liebe. Nur die rechte große Männerfigur steht abgewandt und am Rande, glücklos und ausgestoßen ohne Aussicht auf ein liebevolles Beisammensein. Doch der Blick der vorderen Dame gilt ausgerechnet ihm.

Auch die Farbigkeit des Bildes, die nur aus Rot- und Blautönen und aus starken schwarzen Schattenpartien besteht, ist ganz auf das Bildthema abgestimmt. Rot, Rosa und Violett sind traditionell die Farben des weiblichen Geschlechts und der Liebe. Blau ist in der deutschen Malerei die Farbe der Romantik. Die hektischen Pinselschraffuren, die charakteristisch für Kirchners Malstil der Berliner Jahre sind, erhöhen die Dynamik der Szene. Sie sind aber auch Ausdruck für die eigene psychologische Empfindlichkeit, die Unruhe und Nervosität des Künstlers, die Zeit seines Lebens in einem bis zur Besessenheit gesteigerten sexuellen Verlangen ihren Ausdruck fand.